7 ข้อผิดพลาดเกี่ยวกับหุ้น ที่ถึงกับต้องตบหน้าผาก
|
|
Seven Forehead-Slapping Stock Blunders
การเฉยเมยไม่สนใจอาจจะทำให้เราสบายใจ แต่การไม่รู้สาเหตุที่หุ้นตกและเงินที่กำลังหายไป ยิ่งทำให้หนทางสู่เป้าหมายลางเลือน บทความนี้กล่าวถึงความผิดพลาดเกี่ยวกับหุ้นที่พบบ่อยๆ
1. ละเลยปัจจัยผลักดันราคาหุ้น ผู้เชี่ยวชาญการเงิน นักเขียนวารสารหุ้น และสถาบันธุรกิจ ต่างก็ประเมินราคาที่เหมาะสมเพื่อให้เราสามารถคัดเลือกหุ้น แต่นี่เป็นแค่ครึ่งหนึ่งของเรื่องราว เพราะการคำนวณค่า P/E และงบกระแสเงินสด จะบอกเพียงสถานะของบริษัท ณ ช่วงเวลานั้นๆ ไม่ได้บ่งถึงสิ่งที่จะเป็นไปในอนาคต ดังนั้น นอกเหนือจากการประเมินเชิงปริมาณของบริษัทแล้ว เราจึงต้องศึกษาด้านคุณภาพด้วย เพื่อที่ดูว่ามีตัวเร่งตัวไหนจะผลักดันธุรกิจให้เติบโต คำถามดีๆ สำหรับถามตัวคุณเอง - บริษัทกำลังมีโครงการใหญ่ที่จะสร้างผลกำไรหรือเปล่า - มีท่าทางว่าจะออกผลิตภัณฑ์ใหม่หรือไม่ - โรงงานใหม่ของบริษัทถูกรับรู้เป็นส่วนแบ่งทางการตลาดหรือยัง และเพิ่มขึ้นมากน้อยเท่าไร - สิ่งใดที่เป็นตัวขับให้ผลกำไรและราคาหุ้นเพิ่มสูงขึ้น
2. รับมีดที่หล่นจากฟ้า นักลงทุนชอบที่จะซื้อหุ้นราคาถูก แต่บ่อยครั้งเป็นการซื้อก่อนจะหมดข่าวร้าย หรือก่อนที่ราคาจะหยุดตก ระลึกไว้เสมอว่านิวโลว์มักจะมีนิวโลว์กว่า เมื่อนักลงทุนเห็นหุ้นตกก็จะหวาดผวาเทขายหุ้นของตัวเองตามออกมา การรอจนกระทั่งแรงขายอ่อนแรงลงเป็นวิธีเสี่ยงที่ดีที่สุด ไม่ให้ถูกมีดที่ตกลงมาบาดมือ
3. ไม่ติดตามตัวแปรของเศรษฐกิจมหภาค คุณได้พบบริษัทที่ต้องการลงทุน มีคุณค่าที่ตลาดยังไม่ค้นพบ ผลิตภัณฑ์ใหม่หลายๆแบบกำลังจะวางตลาด ยอดขายอาจพุ่งเหมือนจรวด แม้แต่คนในก็กำลังซื้อหุ้นซึ่งยิ่งเพิ่มความมั่นใจของคุณ แต่ถ้าคุณไม่ได้พิจาณาสภาวะเศรษฐกิจภาพรวมในปัจจุบัน เช่น อัตราการว่างงาน และเงินเฟ้อ ซึ่งกระทบต่อธุรกิจของบริษัทหมายปอง นั่นหมายถึงหายนะกำลังมาเยือน ระลึกไว้เสมอว่า ธุรกิจขายปลีกหรืออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีหลายปัจจัยที่อยู่เหนือการควบคุมซึ่งจะส่งผลต่อราคาหุ้น อาทิ ราคาน้ำมัน ค่าจ้าง ความยากในการหาวัตถุดิบ การหยุดงานประท้วง อัตราดอกเบี้ยที่ขึ้นลง และการใช้จ่ายของผู้บริโภค
4. การลืมนึกถึงมูลค่าหุ้นที่ลดลง (Dilution) คุณควรจะเฝ้าติดตามบริษัทที่ขายหุ้นหลายล้านหุ้นออกมาอยู่เรื่อยๆ ทำให้มูลค่าหุ้นลดลง หรือบริษัทที่ทำการแปลงหนี้สินเป็นหุ้นสามัญ ซึ่งย่อมทำให้มูลค่าหุ้นที่ถืออยู่ด้อยค่าลง ทางที่ดีเราควรจะมองหาบริษัทที่ทำการซื้อหุ้นคืน ทำให้จำนวนหุ้นในตลาดลดน้อยลง และเป็นการเพิ่มยอดรายได้ต่อหุ้น (EPS) และเป็นการบอกนักลงทุนว่าบริษัทกำลังรู้สึกว่าไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการลงทุนในบริษัทนี้อีกแล้ว
5. การไม่รับรู้ถึงวงรอบธุรกิจ เมื่อหุ้นจำนวนมากของบริษัทมีการซื้อขายในตลาด คุณไม่สามารถคาดเดาได้ว่าหุ้นจะขึ้นหรือลง ข้อเท็จจริงก็คือ หลายบริษัท(เช่นธุรกิจค้าปลีก) มีทั้งช่วงรุ่งเรืองและซบเซาปีแล้วปีเล่า โชคดีที่วงรอบธุรกิจเหล่านี้สามารถจะคาดคะเนได้ ดังนั้นเพื่อตัวคุณเองก็กรุณาดูกราฟห้าปีก่อนจะซื้อหุ้นของบริษัท ดูว่าในรอบปีนั้นช่วงไหนที่ธุรกิจซบเซาและช่วงไหนที่รุ่งเรือง ซึ่งจะช่วยบ่งบอกจังหวะซื้อ-ขายหุ้นนั้นๆ
6. การพลาดแนวโน้มของอุตสาหกรรมใดๆ หุ้นหลายๆ ตัววิ่งตามไปกับแนวโน้มใหญ่ (ขึ้นหรือลง) อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมนี้เกิดขึ้นเนื่องจากมีแรงกระตุ้นมหาศาลที่ผลักดันให้หุ้นสูงขึ้นหรือต่ำลง ส่วนใหญ่แล้วราคาหุ้นที่มีการซื้อขายจะสัมพันธ์กับสภาวะของบริษัทที่ปรากฏ ทำให้การเคลื่อนไหวของราคาอยู่ในย่านของแนวรับแนวต้าน ซึ่งก็จะเป็นจุดที่คุณจะเข้าหรือออกของหุ้นนั้นๆ เช่นเดียวกับตัวอย่างนี้ ถ้าคุณมีหุ้นเซมิคอนดัคเตอร์ ต้องตระหนักว่า ถ้าหากบริษัทเซมิคอนดัคเตอร์อื่นกำลังประสบปัญหาบางประการอยู่ บริษัทของคุณก็อาจจะหลีกเลี่ยงไม่พ้น แต่ในทางกลับกัน ถ้าสถานการณ์เป็นตรงข้าม ข่าวดีๆ จะมีผลกับบริษัทในอุตสาหกรรมนั้นทั้งหมด
7. การหลีกเลี่ยงแนวโน้มทางเทคนิค หลายคนไม่รู้วิธีวิเคราะห์เทคนิค แต่คุณไม่จำเป็นต้องเป็นนักดูกราฟเพื่อให้สามารถแยกแยะได้ว่าแนวโน้มทางเทคนิคเป็นอย่างไร กราฟง่ายๆ ที่แสดงค่าเฉลี่ย ma 50 และ 200 วัน รวมทั้งราคาปิดในแต่ละวัน จะแสดงทิศทางของราคาหุ้น พึงระมัดระวังบริษัทที่มีการซื้อขายราคาต่ำกว่าค่าเฉลี่ยดังกล่าว ซึ่งหมายถึงหุ้นที่ราคากำลังตก สำหรับช่วงขาขึ้นก็จะทำนองเดียวกัน และพึงระลึกว่าปริมาณการซื้อขายจะสะท้อนถึงทิศทางของราคาหุ้น ประการสุดท้าย มองหาแนวโน้มทั่วไป หุ้นนั้นอยู่ในช่วงสะสมพลังหรือช่วงแจกจ่าย กล่าวง่ายๆ คือ หุ้นกำลังขึ้นหรือลง นี่เป็นข้อมูลง่ายๆ ที่เราได้จากกราฟ น่าแปลกใจที่นักลงทุนส่วนใหญ่ไม่ฉกฉวยประโยชน์จากข้อมูลพื้นฐานที่หาได้ง่ายๆ เช่นนี้
บรรทัดสุดท้าย ความผิดพลาดของนักลงทุนมีมากมายหลายประการ สิ่งที่เราพบเห็นบ่อยๆ ดังได้กล่าวแล้วข้างต้น ปัจจัยผลักดันราคาหุ้นหลายปัจจัยก็เกินที่เราจะควบคุม สภาวะของหุ้นในอดีตกับสภาวะปัจจุบันก่อให้เกิดการคาดหวังในอนาคต ซึ่งผลประกอบการของบริษัทยังจะขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจและปัจจัยอื่นๆ http://www.investopedia.com/articles/basics/08/blunders.asp
เพลินเพลงวันหยุด
จากคุณ |
:
WindReturn
|
เขียนเมื่อ |
:
6 พ.ย. 53 13:24:56
|
|
|
|