|
ว่าด้วยเรื่องของเซียน
คำว่า เซียน เนชื่อที่คนไทยรู้จักมานานแล้ว อาจจะรู้เรื่องจากคนจีนเล่าให้ฟังบ้าง เห็นจากรูปเขียนจากภาชนะต่างๆบ้าง เมื่อมีการแปลเรื่องจีนเป็นไทย คนไทยจึงรู้จักเซียนผู้วิเศษ เหาะเหินเดินอากาศ มีอำนาจอิทธิฤทธิ์หรือมีของวิเศษต่างๆ แต่ความหมายของเซียน ไม่ได้มีเพียงเท่านั้น
ในบางที่ บางแห่งเทียบเซียนกับฤาษี คือ จีนเรียกฤาษีว่า เซียนเหย่ง หรือ เซียนเต๋า มีความหมายว่าผู้ไม่ตาย และแบ่งเอาไว้เป็น 5 จำพวกได้แก่ 1.เถียนเซียน เป็นเทพฤาษีอาศัยรอบเขาพระสุเมรุ
2.เซียนเซียน เป็นบุรุษฤาษีที่เร่รอนอยู่ในอากาศ
3.เหย่งเซียน เป็นนรกฤาษีอาศัยอยู่ในหมู่คน
4.ตี้เซียน ภูมิฤาษีอาศัยอยู่ตามถ้ำต่างๆ
5.กุ้ยเซียน เป็นเปรตฤาษี ไม่มีที่อยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง แบบอสุรกาย(พระยาสัจจาภิรมย์ หนังสือ เทวดากำเนิด โรงพิมพ์ประเสริฐศิริ 2504)
แต่ในหนังสือ โป๊ยเซียน ของจุยเซียน อธิบายว่า เซียนมีทั้งหมด 5 ชนิด 1.เซียนปีศาจ ปิศาจที่สำเร็จฌาณ ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนปิศาจ หลุดพ้นจากอเวจี เป็นเจ้าผีมีนามไม่มีรูป มีหน้าที่รายงานความชั่วช้าทารุณที่มนุษย์ฝ่าฝืนคำสั่งสอนและลัทธิเต๋าไปยังนรก
2.เซียนมนุษย์ คือมนุษย์ที่สำเร็จฌาณโลกีย์ แต่ยังละกิเลสตัณหาไม่ได้
3.เซียนพิภพ เซียนที่มีอายุยืนนาน ไม่รู้แก่
4.เซียนเจ้า เซียนที่สำเร็จแล้ว มีวิญญาณไม่มีรูป สามารถไปถึงได้ทั้ง3ภพ ตั้งแต่อเวจีขึ้นมาจนถึงสวรรค์ มีหน้าที่รายงานความดีความชอบของมนุษย์ขึ้นไปบนสวรรค์
5.เซียนสวรรค์ ยอดแห่งเซียนทั้งหลาย อยู่บนสวรรค์ มีเดชานุภาพครอบงำทั้งไตรจักร
ในภาษาญี่ปุ่นเขียนคำว่าเซียน เหมือนกับภาษาจีน แต่จะอ่านว่าเซ็น(Sen) หนังสือบางเล่มอธิบายคำเซียน (Hsien) ว่าประกอบด้วยคำ 2 คำได้แก่ คนและภูเขา หมายถึง คนที่พ้นความเป็นอยู่แบบมนุษย์ ไปมีชีวิตอย่างฤาษีบนภูเขา บางทีอธิบายว่า ไม่กินอาหาร แต่สูดลมและดื่มน้ำค้างเท่านั้นก็มีชีวิตอยู่ได้
สถานที่พักอาศัยของเซียนนั้น ตำนานของจีนกล่าวไว้ว่ามีทั้ง บนภูเขา ภูเขากลางทะเล 'เนียน' ได้อธิบายไว้ท้ายเรื่อง "เผิงไหลต่าว" ตอนหนึ่งว่า ต่าวแปลว่าเกาะหรือภูเขากลางทะเล เผิงไหลเป็นชื่อเกาะ หรือภูเขากลางทะเล เป็นที่พำนักของพวกเซียน ในหนังสือประวัติศาสตร์สื่อจี้ (สมัยแผ่นดินชาวฮั่น ราว 90 ปีก่อนคริสตกาล) มีบอกไว้ว่า เกาะกลางทะเลหรือภูเขาที่อยู่ของพวกเซียน มีอยู่ 3แห่งด้วยกัน เขาเผิงไหล่ ฟางจ้าง ยงโจว เกาะกลางทะเลหรือภูเขาทั้ง 3 นี้ มีอยู่ในมหาสมุทรโป้ไห่ ด้วยกันพวกเซียนทั้งหลายกินต้นยาที่กินแล้วไม่รู้จักตาย ที่ภูเขาแห่งนี้มีฝูงสัตว์และนกที่มีขนสีขาว วิมานสร้างด้วยเงินและทอง
ตามความคิดคำนึงของจีน ที่พำนักพักอาศัยของเซียนมิได้มีแค่เพียงกลางทะเล 3 แห่งนี้เท่านั้น ตามภูเขาน้อยใหญ่ของจีน เช่นภูเขาคุนหลุน ก็เป็นที่พักของเซียนปิศาจเช่นกัน
เซียนที่คนจีนรู้จักและเคารพนับถือมากที่สุด มีอยู่ 8 ตนด้วยกัน รวมเรียกว่า "โป้ยเซียน" (โป้ย แปลว่า จำนวน 8) เหตุใดจึงหยุดแค่ 8 ตนเท่านั้น ยังเป็นเรื่องที่สงสัยแคลงใจกันอยู่ สันนิษฐานว่า จำนวน8ตนอาจะเป็นจำนวนที่เหมาะสม เหมือนอย่าง 8 ทิศ ยันต์ 8 เหลี่ยม หรือบางทีอาจจะเป็นเครื่องเปรียบเทียบมนุษย์เรา คือ มนุษยืเรามี ดรุณวัย,ชรา,ยากจน,มั่งคั่ง,ผู้ดี,ไพร่,เพศชาย,เพศหญิง อย่างไรก็ตาม บางท่านว่า การกำหนดกลุ่มของโป้ยเซียน ให้มีชื่อและรูปร่างอย่างที่รู้จักกันอย่างดีในปัจจุบันนี้ ได้ปรากฏขึ้นในรางวงศ์หยวน (พ.ศ.1803-1911) หรือในยุคของสุโขทัยของเรา แต่ในบางแห่ง (China Recorstructs ฉบับ มกราคม 1983) กล่าวไว้ในเรื่อง How the Immortals Crossed the sea ว่าเรื่องเซียนทั้ง 8 ได้เขียนขึ้นในสมัยราชวงส์หมิง ค.ศ.1368-1644 (พ.ศ.1911-2187)
ตามคติของจีนกล่าวว่า โป้ยเซียนเกิดขึ้นจากลัทธิเต๋า และเซียนส่วนมากมาจากประวัติศาสตร์จีน บางคนอาจเป็นนักปราชญ์ รัฐบุรุษ แพทย์ นักดนตรี และกวี
เรื่องของเซียนเมื่อเทียบกับพวกฤาษีแล้วก็เป็นพวกเดียวกัน อย่างธรรมเนียมพวกเล่นงิ้ว ก่อนที่จะลงมือเล่นเรื่องต่างๆ ก็จะต้องออกชุดโป๊ยเซียนก่อนเป็นการเบิกหน้าโรงละครก่อนทุกครั้ง หนังตะลุงของไทยภาคใต้ก็จะมีฤาษี พวกละคร ลิเก ดนตรีปี่พาทย์ มีครูที่เรียกว่า ?พ่อแก่? คือฤาษี จึงต้องมีหัวพ่อแก่ไว้บูชา
ตามประเพณีไหว้พระจันทร์ของจีน ก็จะต้องมีรูปโป๊ยเซียนมาบูชาด้วย ถือว่าเป็นผู้อำนวยโชคลาภให้แกผู้คนที่กราบไหว้ เมื่อโป๊ยเซียนกลายเป็นของมงคล มีผู้นับถือ จึงมีผู้ทำรูปโป๊ยเซียนเขียนลงกระดาษม้า ถ้วย กาน้ำชาและตุ๊กตากระเบื้องเคลือบ ออกมาจำหน่าย กลายเป็นรูปบูชาประจำศาลเจ้าและศาลเจ้าสืบมา
โป๊ยเซียน (Pa Hsien) มีชื่อตามลำดับดังนี้
1. ทิก๋วยลี้ หรือ ลีเทียะก๋วย (Li T?ieh kuai)
2. ฮั่นเจงหลี (Han Chung-Li)
3. ลื่อท่งปิน (Lu Tung Pin)
4. เจียงกั๋วเล้า (Chang Kuo Lao)
5. น่าไชหัว (Lan Ts?ai-ho)
6. ฮ่อเซียนโกว (Ho Hsien-ku)
7. ฮั่นเซียงจื๊อ (Han Hsiang-tzu)
8. เช่าก๊กกู๋ (Ta?ao Kuo Chiu)
เซียนทั้ง 8 ตนนี้ อาจารย์ทองฯ ผู้แปลคัมภีร์โป๊ยเซียน ซึ่งค้นพบที่วัด ฮกเล่งญี่ ได้กล่าวไว้ว่า เซียนทั้ง 8 ได้ประชุมจารึกแต่งคัมภีร์พยากรณ์ดังกล่าวขึ้นไว้ในสมัยพระเจ้าถังไทจงฮ่องเต้ แต่จะตกทอดเข้ามาในเมืองไทยอย่างไรไม่ทราบ อาจารย์ทองได้ขออนุญาตหลวงจีนตั้กฮี้สมภารวัดฮกเล่งญี่ลอกไว้แต่ พ.ศ.2450
คัมภีร์โป๊ยเซียนศาสตร์นั้น พิจารณาดูแล้วก็คล้ายๆ กับตำราพรหมชาติของไทย แต่แทนที่จะใช้ 12 นักษัตร ก็ใช้เซียนเป็นสัญลักษณ์ โดยกำหนดไว้ดังนี้
1. ทิก๋วยลี้ - ปีชวด
2. ฮั่นเจงหลี - ปีฉลู
3. ลื่อท่งปิน - ปีขาล
4. เจียงกั๋วเล้า - ปีเถาะ
5. น่าไชหัว - ปีมะโรง
6. ฮ่อเซียนโกว - ปีมะเส็ง
7. ฮั่นเซียงจื๊อ - ปีมะเมีย
8. เช่าก๊กกู๋ - ปีมะแม
เนื่องจากเซียนมีเพียง 8 ตน แต่มี 12 ปี จึงต้องเอาบุคคลในเรื่องไซอิ๋วมาเพิ่มอีกดังนี้
9. พระถังซัมจั๋ง - ปีวอก
10. เห้งเจีย - ปีระกา
11. โป้ยก่าย - ปีจอ
12. ซัวเจ๋ง - ปีกุน
http://www.musicza.com/webboard/data/0568-1.html
จากคุณ |
:
ahcmos
|
เขียนเมื่อ |
:
7 พ.ย. 53 13:33:10
|
|
|
|
|