ขอถามก่อนนะครับ
โดยปกติ ในกรมธรรม์ จะระบุคนไว้ 2 ประเภท
1. ผู้เอาประกัน คือคนที่บริษัทประกันถือว่า เป็นคนที่บริษัทต้องรับผิดชอบเป็นประกันชีวิตของคนนั้น
2. ผู้รับผลประโยชน์ คือคนที่ บริษัทสัญญาว่าจะจ่ายผลตอบแทนให้ เมื่อเกิดเหตุการณ์ตามสัญญากรมธรรม์ เช่น ผู้เอาประกันนั้น เกิดเสียชีวิต ผู้รับผลประโยชน์ก็จะได้รับเงินประกันชีวิตไป
ที่นี้ ที่ยายบอกว่า ซื้อให้ลูกสาว ในนามของสามี เลยงงๆ ว่า ให้เป็นผู้เอาประกัน กันเป็นผู้รับผลประโยชน์
กรณีนี้ มี 2 ทาง
1. สามีเป็นผู้เอาประกัน ลูกสาวเป็นผู้รับผลประโยชน์ อันนี้เมื่อส่งเงินค่าประกัน(เบี้ยประกัน)ให้บริษัทครบ 20งวด(20ปี) บริษัทจะต้องคุ้มครองชีวิต สามียาย ต่อไปจนอายุ สามียาย จะถึง 90 ขวบบริบูรณ์ ซึ่งหากก่อนหน้าที่จะครบ 20 ปีแรก หากสามียายเป็นอะไรไป จะได้เงินประกันชีวิต หักกับ ค่างวดประกันที่ค่าอยู่ไป แต่หากหลังจาก 20 ปี สามียายหนีไปจีบนางฟ้าก่อน ลูกสาวก็จะได้เต็มๆ แต่หากสามียายทำบุญมาสูง อายุยืนยาว เมื่อครบ อายุ 90 ขวบ จะถือว่าสัญญากรมธรรม์สิ้นสุดลง บริษัทประกัน จะต้องชดใช้ผลตอบแทนตามกรมธรรม์ คืนผู้เอาประกัน (ในที่นี้หมายถึง เงินที่เราจ่ายเขาไป พร้อมด้วยดอกเบี้ย ตามสัญญากรมธรรม์ ซึ่ง บ.ประกันเรียกว่า ทุนประกัน)
ประเด็นเช่นนี้ เป็นประกันที่มีทั่วๆไป และถือว่าเป็นการออมเงินอย่างหนึ่ง ซึ่งบริษัทประกันจะสัญญาว่าจะใช้เงินคืนให้ตามทุนประกัน หากทุกอย่างเป็นไปตามเงื่อนไข แต่หากนอกจากนั้น เช่น ร้อนเงิน เบื่อบริษัท รังเกียจตัวแทน ก็สามรถไปขอถอนเงินคืนได้ โดยมีกำหนดไว้ในตารางการเวนคืน ซึ่งโดยทั่วไป หากครบ กำหนดที่ต้อง จ่ายเบี้ย ใน งวดหลังๆ จำนวนเวนคืนเงินสด ก็จะมากกว่าเบี้ยที่ส่งไปแล้วครับ แต่มันน้อยกว่า ทุนประกันที่จะได้เมื่อครบสัญญามากโขอยู่
2. กรณีที่ ลูกสาวเป็นผู้เอาประกัน และให้สามียาย เป็นผู้รับผลประโยชน์ หากเป็นกรณีนี้ ส่วนใหญ่ จะไม่ทำกันครับ เพราะหากนับอายุขัย ทั่วไป พ่อ น่าจะไป ก่อนลูก ฉะนั้น หากจะคุ้มครองลูกจน อายุ ลูกครบ 90 พ่อก็คงไปเกิดใหม่เรียบร้อย เว้นเสียแต่ ลูกมีความเสี่ยงมากว่า พ่อ เช่น ลูกเป็นคนที่มีอาชีพ ต้องเดินทางบ่อยๆ และเป็นเสาหลักหาเลี้ยงพ่อแม่ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการทำเพื่อรองรับ การเสียชีวิตแบบไม่คาดฝันมากกว่า ที่จะมาทำ กับเด็กที่ เพิ่งเกิด