วิกฤติเศรษฐกิจของโลกในอดีต
|
|
หากมองย้อนกลับไป จะพบว่าประวัติศาสตร์เต็มไปด้วยความคลั่งไคล้ที่น่าขัน ความคลั่งไคล้ในวัตถุที่นำไปสู่ฟองสบู่ระดับโลก เราลองมาศึกษาอดีตดูว่า มนุษยชาติเคยมีฟองสบู่อะไรบ้าง
ปี 1634-1638 วิกฤติดอกทิวลิป ฟองสบู่ลูกแรกเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์คือดอกไม้ที่มีรูปคล้ายระฆัง ดอกทิวลิป บางครอบครัวชาวดัทช์ถึงกับนำเงินออมของครอบครัวทุ่มซื้อต้นทิวลิป ว่ากันว่าบางต้นมีราคาแพงกว่าบ้าน 1 หลังเสียอีก ภายหลังวิกฤติ ราคาตกลงมาเหลือเท่ากับหัวหอมธรรมดาทั่วไป ในปี 1953 มีการนำดอกทิวลิปจากตุรกีเข้าสู่ดัชท์ ความสวยของพันธุ์ไม้ใหม่เป็นที่เลื่องลือให้เสาะแสวงหา เมื่อเวลาผ่านไป เกิดมีไวรัสชื่อ masaic สัมผัสกับดอกทิวลิป ทำให้สีสันของดอกเปลี่ยนไป เกิดเป็นเชดสีของกลีบดอกที่แปลกแตกต่าง ทำให้ราคาพุ่งสูงขึ้น และเกิดการเก็งกำไรราคาล่วงหน้า ราคาเพิ่มอย่างรวดเร็วเป็น 10-20 เท่า คนที่มีสติยั้งคิดจะรู้สึกได้เลยว่า มันเป็นเพียงแค่ดอกไม้ธรรมดา ราคาเวอร์เกินไป ก็เริ่มมีการขายทำกำไร ราคาเริ่มตก ทำให้ฝูงชนเกิดความตื่นตระหนกเทขายออกมาเป็นการใหญ่ แม้รัฐบาลจะยื่นมือเข้าช่วยเหลือ ก็ไม่อาจจะช่วยพยุงราคาดอกทิวลิปให้กลับมาเหมือนเดิมได้ ผลจากความคลั่งในดอกทิวลิปทำให้การเก็งกำไรในตลาดหุ้นหยุดชะงักไปพักหนึ่ง นักลงทุนตระหนักแล้วว่า เป็นการดีที่จะเพียงแค่หยุดเดินเพื่อชื่นชมความสวยงามของดอกทิวลิป แทนที่จะเอาอนาคตไปแขวนไว้กับความสวยงาม ปี 1720 วิกฤติบริษัททะเลใต้ หุ้นของบริษัทมีราคาสูงสุดถึง 1,000 ปอนด์ หลังฟองสบู่แตก ราคากลายเป็นศูนย์ ในทศวรรษนี้อังกฤษครองความยิ่งใหญ่ทั่วโลก กลุ่มนายธนาคารอังกฤษได้ชักชวนผู้คนลงทุนในธุรกิจค้าขายกับประเทศแถบอเมริกาใต้ซึ่งมีทรัพยากรจำนวนมาก รอแลกเปลี่ยนกับเพชรและทองคำ ความคิดธุรกิจนี้แผ่ขยายออกไปอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกัน ก็มีบริษัท Mississippi ตั้งขึ้นในฝรั่งเศส ทำธุรกิจให้กับประเทศต่างๆ บนแผ่นดินยุโรป ในลักษณะไม่ใช่การค้าขายอย่างแท้จริง แต่เป็นการสลับเปลี่ยนระหว่างเพชรทองคำกับเงินกระดาษ ความรุ่งโรจน์ของบริษัทในยุโรปยิ่งกระตุ้นความหยิ่งทะนงของคนอังกฤษ ทุ่มลงทุนอย่างไม่ลืมหูลืมตา ด้วยเชื่อว่า บริษัทอังกฤษจะไม่มีวันล่มสลาย ละเลยต่อสัญญาณบ่งบอกการบริหารจัดการที่ล้มเหลว เรือขนสินค้าแล่นเข้าท่าผิดเมือง ปล่อยให้หนังสัตว์ขนสัตว์เน่าเสีย ในที่สุด เมื่อฟองสบู่พองโตเต็มที่ ผู้บริหารเริ่มทยอยขายหุ้น เมื่อข่าวรั่วไหล ความตื่นตระหนกก็เกิดขึ้น ทุกคนต่างวิ่งหาประตูทางออก งานเลี้ยงจบลงด้วยเสียงร้องระงม
ปี 1848 ยุคคลั่งทอง 1 หลังจากที่มีการพบทองในตอนเหนือของรัฐแคลิฟฟอร์เนีย คลามคลั่งไคล้ก็แผ่ไปทั่ว ผู้คนหลั่งไหลเข้าไปแสวงโชค ผลักดันให้ประชากรรัฐแคลิฟฟอร์เนียพุ่งจาก 15,000 คน เป็นมากกว่า 300,000 คน ในปี 1854
ปี 1860-1873 ทางรถไฟ การก่อสร้างทางรถไฟพุ่งทะยานหลังสงครามกลางเมืองในสหรัฐสงบลง มูลค่าของหุ้นรถไฟทั้งหมดสูงถึง 40%ของมูลค่ารวมของตลาดหุ้นนิวยอร์ค วิกฤติการเงินในปี 1873 ทำให้บริษัทเดินรถไฟนับสิบแห่งต้องล้มละลาย
ทศวรรษ 1890 รถจักรยาน ในช่วงนั้น บริษัทและโรงงานกว่า 300 แห่ง แข่งกันผลิตจักยาน ต่อมาเมื่อมีรถยนต์เกิดขึ้น บริษัทผู้ผลิตจักรยานของสหรัฐลดลงเหลือเพียง 12 แห่ง ในปี 1905
ทศวรรษ 1920 วิทยุ การกำเนิดเทคโนโลยีวิทยุได้รับความนิยมเช่นเดียวกับการหลงใหลในธุรกิจดอทคอม ตัวอย่างที่ชัดเจนในช่วงนั้นคือ หุ้นของบริษัท RCA ( Radio Corp.of America ) ราคาได้พุ่งทะยานจาก 1 เหรียญไปเป็น 573 เหรียญระหว่างปี 1921-1929 และต่อมา หลังฟองสบู่แตก ราคาหุ้นได้ลดลงกว่า 95%
ปี 1926 ฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ ฟลอริดา ที่ดินจากราคาสูงสุด 800,000 เหรียญ พุ่งเป็น 4 ล้านเหรียญในชั่วระยะเวลาเพียงปีเดียว ในทศวรรษ1920 รัฐฟลอริดาเป็นสวรรค์ของคนอเมริกันที่ต้องการหลบเลี่ยงอากาศหนาวเหน็บ จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น เกิดธุรกิจการเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ แต่กฎยังคงเป็นเช่นเดิม ไม่ว่าคุณจะลงทุนมากน้อย เร็วหรือช้า สักวันก็ต้องขายทำกำไร แต่ปัญหาคือคุณไม่สามารถจะหาคนที่โง่กว่ามาซื้อสินทรัพย์ต่อจากคุณ ราคาจึงตกลง ยิ่งกระตุ้นให้เกิดแรงเทขายอย่างตื่นตระหนก จนถึงกับต่ำกว่าราคาเริ่มแรกก่อนเกิดฟองสบู่
The Great Depression (1929) วันที่เกิดเหตุการณ์ 21, 24 และ 29 ตุลาคม 1929 ในช่วงของวันเลวร้าย หุ้นตกลงมากกว่า 40% นับจากเดือนกันยายน จนถึงสิ้นเดือนตุลาคม 1929 ที่จริงแล้ว ตลาดหุ้นยังคงถดถอยลงต่อไปอีกจนถึงกรกฏาคม 1932 และเมื่อเริ่มฟื้นตัว พบว่า ดัชนีหุ้นตกมากกว่า90% จากจุดสูงสุดในปี 1929 แม้เพิ่งจะผ่านวิกฤติฟลอริดา แต่ความโลภไม่ปราณีใคร ตลาดหุ้นได้สร้างความหวังให้ทุกคนมีความร่ำรวยเป็นรางวัลจากชัยชนะในสงครามโลกครั้งที่ 1และยุคอุตสาหกรรมเฟื่องฟู สร้างความหรูหราฟุ้งเฟ้ออย่างล้นเหลือ เป็นช่วงเวลาความสุขที่ได้เป็นคนอเมริกัน ด้วยความเชื่อว่า ตลาดหุ้นปราศจากความเสี่ยง และอยู่ในโลกไร้สติที่ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างจะมีแต่การเดินหน้า คนจำนวนมากนำเงินเก็บมาลงทุนโดยไม่มีการเรียนรู้เกี่ยวกับหุ้นหรือธุรกิจของบริษัท ในช่วงนี้เกิดการปันหุ้น โยกย้ายเงิน อย่างแพร่หลาย เป็นวัฏจักรสร้างราคาเกินความเป็นจริง รอบแล้วรอบเล่า จนกระทั่งฟองสบู่แตก เศรษฐกิจสหรัฐตกต่ำเป็นเวลานานถึง 12 ปี วิกฤติครั้งร้ายแรงที่สุด และสิ้นสุดเมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
จากคุณ |
:
WindReturn
|
เขียนเมื่อ |
:
26 ธ.ค. 53 11:14:46
|
|
|
|