จำนวนเงินลงทุนใน RMF ที่สามารถนำมาหักออกจากเงินได้
กรณีผู้ลงทุนไม่มีเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข.
ขั้นต่ำ = 3% ของเงินได้ทุกประเภท หรือ 5,000 บาท (เลือกจำนวนที่ต่ำกว่า)
ขั้นสูง = 15% ของเงินได้ทุกประเภท และ ไม่เกิน 300,000 บาท กรณีผู้ลงทุนมีเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข.
ขั้นต่ำ = 3% ของเงินได้ทุกประเภท หรือ 5,000 บาท (เลือกจำนวนที่ต่ำกว่า)
ขั้นสูง = 15% ของเงินได้ทุกประเภท และ เมื่อรวมเงินสะสมเข้ากองทุนสำรอง
เลี้ยงชีพและ กบข. แล้วไม่เกิน 300,000 บาท
RMF เสี่ยงหรือไม่
RMF เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง ซึ่งระดมเงินจากผู้ลงทุนจำนวนมาก เพื่อนำเงินไปลงทุนในตราสารประเภทต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ นโยบาย และระดับความเสี่ยง ที่แต่ละกองทุนกำหนด เช่น
กองทุนตราสารตลาดเงิน เน้นลงทุนในเงินฝากธนาคาร ตั๋วเงินคลัง ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญา
ใช้เงิน พันธบัตรรัฐบาลระยะสั้น ตราสารหนี้ภาคเอกชนระยะสั้น เป็นต้น
กองทุนตราสารหนี้ เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ภาคเอกชน เป็นต้น
กองทุนตราสารทุน เน้นลงทุนในหุ้น เป็นต้น
ดังนั้น ความเสี่ยงในการลงทุนจึงขึ้นอยู่กับประเภทกองทุนที่ผู้ลงทุนเลือก ซึ่งผู้ลงทุนสามารถจัดสรรการลงทุนระหว่างกองทุนต่างๆในสัดส่วนที่เหมาะสมกับตนเองที่สุดได้ โดยได้รับคำแนะนำจากผู้วางแผนการลงทุนของบลจ. ทหารไทย
เงื่อนไขการลงทุนของ RMF
1) ลงทุนขั้นต่ำเป็นจำนวนเงินรวมกันทั้งปีเพียง 3% ของเงินได้ หรือ 5,000 บาท (เลือกจำนวนที่ต่ำกว่า)
2) ลงทุนขั้นสูงในแต่ละปีภาษีไม่เกิน 15% ของเงินได้ และเมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรอง
เลี้ยงชีพ หรือ กบข. แล้ว ไม่เกิน 300,000 บาท
3) คุณสามารถนำเงินลงทุนใน RMF ที่จ่ายจริง ในอัตราที่กฎหมายกำหนด มาหักออกจากเงินได้หลังหัก
ค่าใช้จ่าย ซึ่งจะช่วยให้คุณเสียภาษีเงินได้น้อยลง
4) ลงทุนต่อเนื่องกัน* จนถึงอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และ อย่างน้อย 5 ปี (นับวันชนวัน และนับเฉพาะปีที่ลงทุน**) กรณีที่คุณเริ่มลงทุนครั้งแรกเมื่ออายุมากกว่า 50 ปี คุณยังต้องลงทุนต่อเนื่องกัน* เป็นระยะเวลาอีกอย่างน้อย 5 ปี ***
5) ในระหว่างปี คุณสามารถเลือกลงทุนกี่ครั้งก็ได้ และไม่จำเป็นต้องลงทุนเท่ากันในแต่ละปี
6) ไม่ควรลงทุนในจำนวนเกินกว่าที่ได้รับสิทธิลดหย่อน (เนื่องจากต้องมีภาระภาษีเกิดขึ้นหากขายในส่วน
นี้แล้วมีกำไร ไม่ว่าจะขายเมื่อใดก็ตาม)
หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข จะมีผลอย่างไร
1) กรณีเว้นการลงทุน 2 ปีติดต่อกัน (โดยผู้ถือหน่วยมีอายุน้อยกว่า 55 ปีบริบูรณ์ หรือลงทุนมาน้อยกว่า 5 ปีนับตั้งแต่วันซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก)
ชำระคืนภาษี 5 ปีย้อนหลัง/1 (หากชำระคืนล่าช้า ต้องชำระภาษี พร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร/2)
2) กรณีขายคืน RMF ที่เคยได้รับลดหย่อนภาษีมาแล้ว และผู้ถือหน่วยอายุน้อยกว่า 55 ปี บริบูรณ์ จะต้องปฏิบัติ ดังนี้
กรณีลงทุนมาไม่น้อยกว่า 5 ปี
ชำระคืนภาษี 5 ปีปฏิทินย้อนหลัง/1 (หากชำระคืนล่าช้า ต้องชำระภาษี พร้อมเงินเพิ่ม/2 และอาจต้องเสียเบี้ยปรับ/3 ด้วยแล้วแต่กรณี)
กรณีลงทุนมาน้อยกว่า 5 ปี
ชำระคืนภาษี 5 ปีปฏิทินย้อนหลัง/1 และต้องนำกำไร(ถ้ามี)ไปรวมกับเงินได้อื่นเพื่อเสียภาษี/4 (หากชำระคืนล่าช้า ต้องชำระภาษี พร้อมเงินเพิ่ม/2 และอาจต้องเสียเบี้ยปรับ/3 ด้วยแล้วแต่กรณี)
3) กรณีในระหว่างปีผู้ลงทุนขายคืน RMF เป็นจำนวนเงินที่มากกว่าจำนวนเงินที่ได้ลงทุนไปในปีปัจจุบัน หรือขายคืนหน่วยลงทุนก่อนที่จะลงทุนในปีเดียวกันนั้น
กรณีลงทุนมาไม่น้อยกว่า 5 ปี
ชำระคืนภาษี 5 ปีปฏิทินย้อนหลัง/1 (หากชำระคืนล่าช้า ต้องชำระภาษี พร้อมเงินเพิ่ม/2 และอาจต้องเสียเบี้ยปรับ/3 ด้วยแล้วแต่กรณี)
กรณีลงทุนมาน้อยกว่า 5 ปี
ชำระคืนภาษี 5 ปีปฏิทินย้อนหลัง/1 และต้องนำกำไร(ถ้ามี)ไปรวมกับเงินได้อื่นเพื่อเสียภาษี/4 (หากชำระคืนล่าช้า ต้องชำระภาษี พร้อมเงินเพิ่ม/2 และอาจต้องเสียเบี้ยปรับ/3 ด้วยแล้วแต่กรณี)
4) กรณีขายคืน RMF ที่ลงทุนเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด จะต้องปฏิบัติ ดังนี้
ต้องนำกำไร (ถ้ามี) ไปรวมกับเงินได้อื่นเพื่อเสียภาษี/4
/1 ต้องชำระภาษีที่เคยได้รับลดหย่อนมาแล้ว โดยนับย้อนหลังตั้งแต่ปีก่อนปีที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขการลง
ทุน และชำระคืนภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขการลงทุน
/2 เงินเพิ่ม ตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร ในอัตรา 1.5% ต่อเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระคืน
(เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน) นับตั้งแต่เดือนเมษายนของปีถัดจากปีที่ลงทุน (5 ปีปฏิทินย้อนหลัง) จน
ถึงเดือนที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพิ่มเติม ทั้งนี้ เงินเพิ่มที่คำนวณได้ต้องไม่เกิน
จำนวนภาษีที่ต้องชำระคืน
/3 เบี้ยปรับตามมาตรา 22 หรือ 26 แห่งประมวลรัษฎากร
/4 ภาษีของกำไรนี้ จะต้องนำไปรวมกับเงินได้อื่นๆที่ได้รับในปีภาษีนั้น โดยยื่นในแบบแสดงรายการ
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ขาย
ที่มา : บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ทหารไทย จำกัด www.tmbam.co.th