|
ให้มองต่างมุมเป็นคู่ค้า
ขณะที่นายวิศิษฎ์ ลิ้มประนะ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อย่าให้มองการเข้ามาของโครงการ China City Complex ในลักษณะที่เป็นคู่ค้ามากกว่าคู่แข่ง เพราะในความคิดเห็นส่วนตัวมองว่าตอนนี้ความใหญ่และแรงของจีนเหมือนกระแสที่เชี่ยวกราก ยากที่ไทยจะต้านได้ อีกทั้งไทยเป็นประเทศการค้าเสรี ประกอบกับไทยมีข้อตกลงเอฟทีจี ไทย-จีน ซึ่งเปิดเสรีทางการค้าระหว่างกันแล้ว จะไปปิดกั้นคงลำบาก
"อยากให้ผู้ประกอบการมองในมุมบวก คือแทนที่จะมองเขาเป็นคู่แข่ง ก็ให้มองเป็นคู่ค้า ตามข้อมูลหากเป็นเรื่องจริงที่จะเขาจะเปิดพื้นที่ให้เรา 30% เราก็เข้าไปและเรียนรู้จากเขา เพราะถ้าเราห้าม เขาก็ไปที่อื่นได้ เราก็ไม่ได้อะไร สินค้าจากประเทศจีนก็ยังมาเหมือนเดิม แต่ถ้าเขามาในรูปแบบที่เป็นทางการเช่นนี้ อย่างไรก็ตามเขาต้องมีลูกค้าเข้ามาบ้าง ที่เราน่าจะเก็บเกี่ยวและเรียนรู้จากเขาได้" นายวิศิษฎ์กล่าวและว่า ส่วนข้อมูลว่ากลุ่มนี้เป็นใครมาจากไหนนั้นไม่ทราบจริง ๆ เพราะพยายามเช็กเพื่อน ๆ ที่ทำการค้ากับจีนว่า รู้จักกลุ่มทุนกลุ่มนี้หรือเปล่า ก็ไม่มีใครรู้จัก"
รายงานข่าวจากกลุ่มนักธุรกิจจีนในประเทศไทยเปิดเผยว่า มิสเตอร์หยาง หรือนายวิจิตร หยาง เดิมเป็นคนจีนยูนนาน ทำงานให้กับสมาคมไทย-ยูนนาน โดยมีตำแหน่งเป็นรองนายก ต่อมาได้แต่งงานกับผู้หญิงไทย จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิจิตร หยาง ระหว่างที่เป็นรองนายกสมาคมได้มีพฤติกรรมไม่ชอบมาพากล ทางสมาคมจึงได้เชิญออก นายวิจิตร หยาง จึงได้มาจดตั้งสมาคมของตัวเอง ภายใต้ชื่อสมาคมส่งเสริมธนกิจ อาเซียนจีน และแต่งตั้งตัวเองเป็นนายกสมาคม หลังจากนั้นก็ใช้ชื่อสมาคมในการทำธุรกิจ จนมารู้จัก นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ และพอไปดูงานที่อี้อู โมเดล จนกลายเป็นที่มาของโครงการไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์
"เท่าที่ดู นายวิจิตร หยาง ไม่น่าจะมีเงินทุนเพื่อซื้อที่ดินได้มูลค่าสูงขนาดนี้ จากที่ประเมินคาดว่าน่าจะเป็นการตีฆ้องร้องป่าวหาผู้ร่วมทุน เพื่อผลักดันโครงการให้เกิด ทางรัฐบาลไทยน่าจะตรวจสอบให้รอบคอบกว่านี้" แหล่งข่าวกล่าว
เดินหน้าก่อสร้างแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์ แบ่งโครงการเป็น 2 เฟส เฟสที่ 1 ใช้เงินลงทุน 1,500 ล้านหยวน นำร่องก่อสร้างศูนย์ค้าส่งออกสินค้า 500,000-700,000 ตร.ม. เริ่มก่อสร้างเดือนมีนาคม 2554 เปิดให้บริการไม่เกินไตรมาส 2 ปี 2555 โดยจะเปิดให้เช่าพื้นที่ขายสินค้ารวมกว่า 10,000 ร้าน แบ่งสัดส่วนร้านสินค้าไทย 30% และจีน 70% มี 7 หมวด ได้แก่ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม, เครื่องไฟฟ้า, อัญมณีและเครื่องประดับ, อะไหล่รถยนต์, ของตกแต่งบ้าน, ของเล่นและสินค้าไลฟ์สไตล์, อาหาร และสินค้าแปรรูป จากนั้นจะขยายเฟสที่ 2 ต่อย้ายฐานโรงงานผลิตสินค้าเข้ามาอยู่ภายในโครงการ
ล่าสุดในช่วงเย็นวันที่ 17 มกราคม 2554 ทางผู้ลงทุนได้กำหนดเข้าไปล้อมรั้วแปลงที่ดินที่จะพัฒนาโครงการ ซึ่งคาดว่าจะอยู่บนถนนบางนา-ตราด ระหว่างกิโลเมตรที่ 9-10.5 เบื้องต้นกลุ่มทุนชาวจีนที่จะเข้ามาลงทุนโครงการไชน่า ซิตี้ คอมเพล็กซ์ คือนายต่ง ห่ง ฉี (TONG HONG QI) ซึ่งเป็นนักธุรกิจจากประเทศจีน ประกอบธุรกิจหลายอย่าง อาทิ อสังหาริมทรัพย์ จิวเวลรี่ ฯลฯ ตั้งใจจะพัฒนาให้เป็นศูนย์ค้าส่งและกระจายสินค้าขนาดใหญ่ในอาเซียน ที่ประกอบด้วยสินค้าจากจีน ไทย และอาเซียน โดยเป็นการนำเอาโมเดลหรือรูปแบบโครงการศูนย์ค้าส่งขนาดใหญ่ของเมืองอี้อู (Yiwu) มณฑลเจ้อเจียง (Zhejiang) หรือ "อี้อู โมเดล" มาปรับใช้
จากคุณ |
:
Zhounat
|
เขียนเมื่อ |
:
17 ม.ค. 54 09:20:08
|
|
|
|
|