|
ในแต่ละปี เราจะเห็น E เปลี่ยนแปลงอย่างมากก็ 4 ครั้งเท่านั้นเอง แต่ไอ้เจ้า P นี่มันเปลี่ยนได้เปลี่ยนดี เปลี่ยนมันทุกวันทุกนาที นั่นเป็นเพราะ P มันขึ้นอยู่กับกลไกตลาดโดยตรง หุ้นแต่ละตัวมี Demand – Supply แตกต่างกันไปและก็มีเหตุผลที่รองรับมันแตกต่างกันไปอีก ทุกคนคงทราบดีว่าตลาดหุ้นเป็นตลาดที่มีผลตอบแทนจำกัดนะครับ ใครๆ ก็หวังจะได้มาซึ่งผลตอบแทนทั้งนั้นแต่ก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้ไป สมมติว่าหุ้น X ราคา 10 บาทจ่ายปันผลให้หุ้นละ 1 บาท ผลตอบแทนหยาบๆ ก็อยู่ที่ 10% เลยทีเดียวเชียว สมมติเพิ่มเติมว่าหุ้นอื่นๆ หาอัตราผลตอบแทนในระดับนี้ไม่ได้อีกแล้ว หุ้น Y เป็นตัวที่ดีรองลงไปราคาหุ้นละ 10 บาทเท่ากันแต่ให้ปันผลแค่ 0.5 บาท อัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 5% ใครๆ ก็ต่างอยากจะอยากได้ 10% มากกว่าแน่ๆ จึงเฮโลพากันมาซื้อหุ้น X มากกว่าแน่ๆจนทำให้ Demand ของ X เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และจะดันให้ราคาของ X เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไปเป็น 10.1,10.2,...,11,12,... (ซึ่งทำให้ผลอัตราส่วนผลตอบแทนลดลงไปเรื่อยๆ จาก 10% ไปเป็น 9%, 8% แต่ตราบใดที่มันยังมากกว่าตัวเลือกอื่นๆ (ซึ่งในที่นี้คือ Y ที่ 5%) มันก็จะยังคุ้มค่ากว่าอยู่ดี ท้ายที่สุดราคาหุ้น X ก็จะไปหยุดอยู่ที่ 20 บาทที่จะทำให้ผลตอบแทนของผู้ซื้อหุ้นคนท้ายๆ มาอยู่ที่ 5% ใกล้เคียงกับตัวเลือกอื่นๆ ที่พอมี ทีนี้ก็จะเริ่มมีคนสนใจซื้อหุ้น Y กันบ้างแล้ว
ถ้ายังคงมีเงินลงทุนหลั่งไหลเข้ามาในตลาด ถ้าไอ้ 5% ของทั้ง X และ Y มันยังคุ้มค่าอยู่ ก็จะมีคนยอมแลกกับผลตอบแทนนั่นเรื่อยๆ แม้ราคาหุ้นที่แพงขึ้นจะทำให้สุดท้ายแล้วผู้ที่เข้ามาใหม่ๆ จะได้ % ผลตอบแทนน้อยลงก็ตามที สมมติว่าฝากธนาคารได้ดอกเบี้ย 4% (ตื่นๆ ) ราคาหุ้น X ก็จะไม่มากไปกว่า 25 บาทแล้วเพราะถ้าซื้อหุ้น X แพงกว่า 25 บาทก็จะได้ผลตอบแทนน้อยกว่า 4% งั้นเอาไปฝากธนาคารดีกว่า ส่วนราคาหุ้น Y ก็จะสุดที่ 12.5 บาท ด้วยเหตุผลเดียวกัน แพงกว่านี้ไม่คุ้มแล้ว...
พอจะเห็นภาพคร่าวๆ รึยังครับว่าทำไมราคาหุ้น X ถึงเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าทั้งๆ ที่ E ของบริษัท X ยังเท่าเดิม ทำไมราคาหุ้น Y ถึงขึ้นมา 25% ทั้งๆ ที่ E ของบริษัท Y ยังไม่เปลี่ยนแปลง นั่นเป็นเพราะทุกๆ ครั้งที่เงินไหลเข้ามาในตลาดหุ้น เรากำลังเป่าฟองสบู่ให้ใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ นั่นเอง ยิ่งอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางของฟองสบู่ (ถือแพงกว่า) ก็ยิ่งต้องเจอกับการผันผวนของตัวฟองสบู่เองมากกว่า ส่วนคนที่อยู่ใกล้ๆ ทุนต่ำๆ ก็ไม่ต้องมากระวนกระวายใจเรื่องนี้อยู่แล้ว (มันคือ MOS?)
คำถาม : เวลาที่เราวิเคราะห์เจาะลึกพื้นฐานหุ้น เราต้องคำนึงถึง Demand – Supply ของตลาดผลผลิตของแต่ละบริษัทเป็นอันดับแรกๆ อยู่แล้ว (ซึ่งโคตรยากเลย) ถ้าเราทำแบบนั้นได้ ทำไมไม่ลองวิเคราะห์ Demand – Supply ของตัวตลาดหุ้นด้วยล่ะ? ในเมื่อหุ้นมันอยู่ในมือเราเองและเราเองก็อยู่ในตลาดหุ้น
แก้ไขเมื่อ 25 ม.ค. 54 03:03:44
จากคุณ |
:
จันทร์เย็น
|
เขียนเมื่อ |
:
25 ม.ค. 54 02:58:22
|
|
|
|
|