|
เงินปันผลจากหุ้น ที่หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ไปแล้ว สามารถเลือกที่จะไม่นำไปรวมเป็นรายได้ ก็ได้ครับ
แต่จากหนังสือรับรองการหักภาษี ณ.ที่จ่าย ของเงินปันผล 160,000 บาท จะทำให้มีรายได้อีก 1 ประเภท คือรายได้ที่สามารถนำไปเครดิตภาษีคืนได้ ซึ่งการเครดิตภาษี จะเป็นการนำเงินที่นำไปรวมเป็นรายได้ ไปหักออกจากภาษี ที่ต้องจ่ายได้โดยตรงอีกด้วยครับ
การคำนวณหา เงินได้ที่สามารถนำไปเครดิตภาษีได้ ..... ใช้สูตร
เงินได้ที่สามารถเครดิตภาษี = อัตราภาษี / (100 - อัตราภาษี) x เงินปันผล
ดังนั้นในจำนวนเงินปันผล 160,000 บาท แบ่งเป็น 3 ส่วนที่เกิดจากอัตราภาษี ที่บริษัทผู้จ่ายปันผลได้เสียภาษีไปก่อนที่จะจ่ายปันผล.....
- เสียภาษีในอัตรา 30% = 10,000 บาท (หักนำส่ง 1,000 บาท) เครดิตภาษี = 30 / (100 - 30) x 10,000 = 3/7 x 10,000 = 4,285.71
- เสียภาษีในอัตรา 25% = 100,000 บาท (หักนำส่ง 10,000 บาท) เครดิตภาษี = 25 / (100 - 25) x 100,000 = 1/3 x 100,000 = 33,333.33
- เสียภาษีในอัตรา 15% = 50,000 บาท (หักนำส่ง 5,000 บาท) เครดิตภาษี = 15 / (100 - 15) x 50,000 = 3/17 x 50,000 = 8,823.53
ดังนั้นตัวเลขที่ต้องนำไปรวมเป็นเงินได้เพิ่มขึ้น คือ = จำนวนเงินปันผล + จำนวนเงินที่เครดิตภาษีได้ = 160,000 + (4,285.71 + 33,333.33 + 8,823.53) = 160,000 + 46,442.57 = 206,442.57
ทำให้มีเงินได้ส่วนของขั้นภาษี 30% เพิ่มขึ้นมา 206,442.57 บาท ซึ่งคำนวณเป็นภาษีที่ต้องเสีย คือ = 206,442.57 x 30% = 61,932.77 บาท
จ่ายไปแล้ว ที่เป็น ภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% = 1,000 + 10,000 + 5,000 = 16,000 บาท
เหลือภาษีที่ต้องเสียเพิ่มของเงินปันผล = 61,932.77 - 16,000 = 45,932.77 บาท
ซึ่งสามารถนำตัวเลขเครดิคภาษี จำนวน 46,442.57 บาทมาหักภาษีที่ต้องเสียออกได้ ทำให้เหลือภาษีส่วนที่ต้องจ่าย = 45,932.77 - 46,442.57 = -509.80 บาท
นั่นหมายถึงถ้าได้นำเงินปันผลที่ได้มา 16,0000 บาท ของหุ้นตัวนี้มารวมเป็นรายได้ จะสามารถทำให้ประหยัดภาษี ไปได้อีก 509.80 บาทด้วยครับ
จากคุณ |
:
pjuk
|
เขียนเมื่อ |
:
5 ก.พ. 54 22:47:24
|
|
|
|
|