|
ความคิดเห็นที่ 11
ทุนการฝากอยู่ที่ 5 แสนบาท
1. แบบธนาคารกรุงเทพ (ตั้งแต่วันที่ 16 ก.พ. - 16 มี.ค. 2554) บัญชีฝากประจำ Step Plus 15 เดือน รับดอกเบี้ยทุก 6 เดือน และเมื่อครบกำหนด พร้อมรับดอกเบี้ยสูงสุด 4.50% ต่อปี ระยะเวลาการฝาก (เดือน) อัตราดอกเบี้ย (ต่อปี) เดือนที่ 1 - เดือนที่ 6 1.75% เดือนที่ 7 - เดือนที่ 12 2.25% เดือนที่ 13 - เดือนที่ 15 4.50% แบบแรก อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 2.50% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยหลังหักภาษี 2.125% ต่อปี ระยะเวลา 15 เดือน ดอกเบี้ยรับ 13,281.25 บาท ดอกเบี้ยรับ(เทียบต่อหนึ่งปี) 10,625 บาท
2. แบบธนาคารกรุงไทย (ถึงวันที่ 31 มีนาคมนี้) ฝากประจำ 11 เดือน จ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน ในอัตราเฉลี่ย 2.25% ต่อปี ระยะเวลาการฝาก (เดือน) อัตราดอกเบี้ย (ต่อปี) โดยเดือนที่ 1-3 จ่ายในอัตรา 1.25% ต่อปี เดือนที่ 4-6 จ่าย 1.50% ต่อปี เดือนที่ 7-8 จ่าย 1.75% ต่อปี เดือนที่ 9-10 จ่าย 4% ต่อปี และเดือนที่ 11 จ่าย 5% ต่อปี แบบที่สอง อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 2.25% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยหลังหักภาษี 1.9125% ต่อปี ระยะเวลา 11 เดือน ดอกเบี้ยรับ 8,765.63 บาท ดอกเบี้ยรับ(เทียบต่อหนึ่งปี) 9,562.50 บาท
3. แบบธนาคารธนชาติ ฝากประจำ 15 เดือน ให้ดอกเบี้ยสูง 2.75% มีเสียภาษี 15% แบบที่สาม อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 2.75% ต่อปี อัตราดอกเบี้ยหลังหักภาษี 2.3375% ต่อปี ระยะเวลา 15 เดือน ดอกเบี้ยรับ 14,609.38 บาท ดอกเบี้ยรับ(เทียบต่อหนึ่งปี) 11,687.50 บาท
ทั้งหมดสามทางเลือกนี้ ผมไม่แนะนำเลยสักทางเลือกเดียวครับ แต่หากจำเป็นต้องเลือกจริง ๆ ให้เลือกทางเลือกสุดท้าย สาเหตุที่ไม่แนะนำให้เลือกเลย เพราะเป็นเงินฝากประจำที่ออกมาระยะหนึ่งแล้ว แต่ตอนนี้สภาพตลาดเงินเปลี่ยนแปลงไป ดอกเบี้ย RP ที่ถือว่าเป็นดอกเบี้ยนโยบายคาดว่าจะปรับขึ้นอีกในการประชุมกนง.วันพุธหน้า ซึ่งน่าจะทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากปรับสูงขึ้นไปกว่าที่เป็นอยู่อีก และโดยทั่วไปแทบทุกครั้งที่ธปท.ส่งสัญญาณการปรับขึ้นดอกเบี้ย RP ธพ.ส่วนใหญ่มักออกเงินฝากประจำระยะยาวล๊อคอัตราผลตอบแทน เพื่อดึงยอดเงินฝาก รออีกสักนิดช่วงปลายเดือน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากน่าจะปรับขึ้นอีก ระหว่างนี้ลงทุนพักเงินไว้ในกองทุนรวมตลาดเงิน (MMF) ก็ได้
จากคุณ |
:
C_yada
|
เขียนเมื่อ |
:
6 มี.ค. 54 15:29:45
|
|
|
|
|