|
เริ่มจากข้อ 1 ก่อนเลยคือ 1.มีความเชื่อบางอย่างอยู่ก่อนและเลือกเชื่อเฉพาะที่อยากฟัง
ผมจะขยายความต่อว่า เวลาคนเราเข้ามาในตลาดหุ้นส่วนใหญ่จะมีทัศนคติบางอย่างติดตัวมาจากสังคมสิ่งแวดล้อมรอบข้างเช่น หุ้นที่ปันผลไม่เยอะไม่น่าเล่น,หุ้นพลังงานผันผวนมากเลยต้องเข้าเร็วออกเร็ว,เล่นหุ้นอย่าถือยาว
มีคำกล่าวจากนักเทรดชื่อดังว่า
"อย่าทิ้งความเห็นใดๆในตลาดหุ้นเพียงเพราะมันไม่ตรงกับสิ่งที่คุณเคยรับรู้เพราะสิ่งที่คุณเลือกรับรู้และยึดไว้อาจจะเป็นทัศนคติที่ผิดๆแต่แรกและคุณก็จะปัดทัศนคติของนักลงทุนที่ประสบความสำเร็จออกไปเพียงเพราะว่ามันไม่ตรงกับสิ่งที่คุณเลือกเชื่อแต่แรกทำให้คุณมีแต่ทัศนคติที่ไม่ถูกต้องในการลงทุน"
ผมคิดว่าคนเราเมื่อมีประสบการณ์ลงทุนมากขึ้นความคิดจะค่อยๆเปลี่ยนไปถ้าเราอยู่ในตลาดหุ้นไม่นานพอเราจะไม่มีทางรู้ว่าสิ่งที่เรายึดเอาไว้จริงๆแล้วผิดหรือถูก จริงๆแล้วคนที่อยู่ในตลาดหุ้นไม่นานมุมมองต่างๆคงมีโอกาสผิดมากกว่าที่จะถูกดังนั้นจงเปิดใจให้กว้างเข้าไว้ครับ
ในส่วนของการเลือกเฉพาะที่อยากฟังมันเปรียบเสมือนการที่เรามีกล่องหนึ่งใบและมีของอยู่ข้างในถ้าอันไหนไม่ชอบเราก็ไม่เอาใส่กล่องเราก็โยนทิ้งไปสุดท้ายไม่ว่าเราจะพูดคุยกับใครเราก็ไม่ได้อะไรเพิ่มขึ้นเพราะเราเลือกรับรู้เฉพาะที่เราอยากฟัง
2.ไม่รู้ว่าหุ้นที่ตัวเองเล่นเหมาะกับสไตล์ของตัวเองหรือไม่
จริงๆแล้วหุ้นแต่ละประเภทจะเหมาะกับนักลงทุนในแต่ละแบบที่ไม่เหมือนกัน สิ่งที่เราต้องคำนึงคือเราต้องคิดถึงปัจจัยดังต่อไปนี้
-> เวลาในการดูหุ้น ส่วนนึงก็คือคุณเป็น full time หรือ part time ถ้าคุณเล่นมาร์จิ้นกับหุ้นที่เหวี่ยงตัวแรงๆแต่คุณกลับไม่มีเวลาเฝ้าหน้าจอ เกิดอะไรผิดพลาดนิดเดียวตอนเย็นพอคุณเลิกงานแล้วมาดูหุ้นคุณอาจเสียหายมหาศาล
-> คุณเป็นอิสระภาพทางการเงินหรือยัง ถ้าคุณเป็นแล้วผมคิดว่าการเสี่ยงมากๆเพื่อให้พอร์ตโตต่อไปคงสำคัญน้อยกว่าการ conservative เพื่อให้คุณรักษาระดับของการเป็นอิสระภาพทางการเงินเอาไว้ ถ้าคุณถึง financial freedom แล้วผมว่าพอร์ตของคุณน่าจะมีหุ้นปันผลที่รายได้ไม่ถดถอยตามวิกฤติเศรษฐกิจเอาไว้ และมีหุ้นที่น่าจะโตได้ต่อเนื่องหลายปีโดยความเสี่ยงที่รายได้และกำไรจะลดมีน้อย
-> เป้าหมายทางการลงทุนของคุณ ถ้าคุณเข้าตลาดหุ้นหลังจากที่ประสบความสำเร็จจากการทำธุรกิจแล้วคุณคงต้องการผลตอบแทนที่มากกว่าการฝากแบงค์ระดับนึงแต่คงไม่จำเป็นต้องเสี่ยงมากเกินเหตุไม่งั้นเงินที่ได้มาจากการทำธุรกิจอย่างยากลำบากจะพลอยสูญหายไปด้วย ดังนั้นพวกหุ้น commodity ,turnaround คงไม่เหมาะยกเว้นคุณจะอยู่ในตลาดนานมากพอจนเห็น cycle ต่างๆชัดเจนพอสมควรก็เป็นอีกเรื่อง ในอีกมุมนึงถ้าคุณอายุยังน้อยผมเชื่อว่าเกือบทุกคนต้องการเร่งผลตอบแทนการซื้อหุ้นปันผลหรือค่อยๆเติบโตคุณจะอึดอัดมากเวลาเห็นหุ้นตัวอื่นๆขึ้นไปเยอะๆโดยที่คุณไ่ม่ได้มีส่วนร่วม ส่วนใหญ่แล้วจะลงเอยด้วยการเล่นหุ้นอย่างไม่ค่อยมีความสุขเท่าไหร่
-> นักลงทุนมือใหม่ควรเลี่ยงหุ้นที่งบการเงินค่อนข้างซับซ้อนมีการถือหุ้นไขว้กันไปกันมาเยอะๆ เพราะการแกะงบถ้าไม่แกะให้ลึกจริงๆอาจจะไม่เห็นภาพที่แท้จริงแต่หุ้นบางตัวขนาดมืออาชีพยังแกะงบแล้วปวดหัวเลยหุ้นแบบนี้มือใหม่พึงหลึกเลี่ยง
3.ประเมินมูลค่าหุ้นโดยพยายามแก้ใหม่ให้ไม่มากหรือน้อยเกินไป
-> หลายครั้งบางคนจะไม่มั่นใจกับตัวเลข fair value เช่นถ้าเราใส่ตัวเลขเพื่อทำ dcf แล้วได้ตัวเลขราคาเหมาะสมออกมาเยอะๆ แบบว่าเยอะกว่าราคาตลาดเยอะๆ เราจะคิดว่าไม่น่าเป็นไปได้สิ่งที่เราทำหลายครั้งคือ การเพิ่ม wacc หรืออัตราคิดลดเมื่อเพิ่ม wacc ก็จะทำให้ตัวเลขที่ discount ออกมาเป็น present value ลดลง ผมว่าบางทีเราอาจจะได้เจอหุ้นหลายเด้งถ้าเราคิดว่าคิดแบบ conservative แล้วเราก็ไม่ต้องไปแก้ตัวเลขกำไร หรือลด pe หรือเพิ่ม wacc ลดเงินสด หรอกครับ
ในมุมกลับกันบางครั้งเราอยากซื้อหุ้นบางตัวเพราะคนรอบข้างบอกมาแต่เราคำนวนดูแล้วราคาเหมาะสมก็ใกล้เคียงราคาตลาดนี้นาเราก็ใช้ eps เวอร์ขึ้นหน่อย pe สูงอีกนิดแค่นี้เราก็มีข้ออ้างอย่างชอบธรรมในการซื้อหุ้นแล้ว ผมเองก็เคยเป็นครับไอ้แบบนี้พูดได้เต็มปากบางทีเรามีเงินสดเพิ่งขายหุ้นบางตัวยังหาหุ้นเ้ข้าไม่ได้เพื่อนเราก็เยอะมีคนหวังดีแนะนำหุ้นมาเต็มไปหมดไอ้เราก็กลัวตกรถเลยหาข้ออ้างซัดไปงั้นแหละ สรุปดอย
เนื้อหาของกระทู้นี้มีอีกเยอะพอสมควรเดี่ยวมีเวลาจะมาโพสต่อนะครับ...
จากคุณ |
:
มิ่งกลิ้ง
|
เขียนเมื่อ |
:
6 มี.ค. 54 00:19:59
|
|
|
|
|