|
เรื่องของเศรษฐกิจฟองสบู่
เศรษฐศาสตร์จานร้อน ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2547
การขยายตัวอย่างก้าวกระโดดของเศรษฐกิจ ราคาหุ้น และราคาอสังหาริมทรัพย์ ที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้เกิดคำถาม และความเป็นห่วงเกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยว่า กำลังเข้าสู่สภาวะฟองสบู่หรือไม่
ในการพูดคุยเกี่ยวกับสภาวะอสังหาริมทรัพย์นั้น เรามักได้ยินคำอธิบายว่า ภาคอสังหาริมทรัพย์ ยังไม่เกิดสภาวะฟองสบู่อย่างแน่นอน เพราะขณะนี้มีการก่อสร้าง และซื้อ-ขายบ้าน บ้านแฝด คอนโด ฯลฯ เพียง 35,000 - 40,000 หลังต่อปี ซึ่งคิดเป็น 1/3 -1/4 ของยอดขายในปี 2537-38 ซึ่งสูงถึง 120,000 - 150,000 หลัง
แต่หากพิจารณาให้ดีแล้ว ก็จะเข้าใจว่า สาเหตุพื้นฐานของฟองสบู่นั้น เกิดจากอุปสงค์ หรือดีมานด์ที่สูงเกินไป อุปทาน คือซัพพลาย ที่มีมากจนล้นตลาดนั้น เกิดขึ้นหลังจากการแตกสลายของฟองสบู่ กล่าวคือ อุปสงค์ ที่มากเกินไปในตอนแรก คือ เหตุ และอุปทานที่มากเกินไปในตอนหลังคือ ผล นั่นเอง
ตัวอย่างฟองสบู่ที่เกิดขึ้นในหุ้นอินเทอร์เน็ตที่สหรัฐ ในช่วง 2542-43 นั้น ผลักดันให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ แนสแด็ก ปรับตัวสูงขึ้นมาที่ระดับ 5,000 จุด และเมื่อฟองสบู่แตก ราคาหุ้นก็ปรับตัวลดลงอย่างมากเหลือเพียง 1,500 จุด และแม้จะฟื้นตัวมาระดับหนึ่ง ในช่วง 2546 ดัชนีหุ้นแนสแด็ก ก็ยังสูงไม่ถึงครึ่งหนึ่งของจุดสูงสุด เมื่อตอนต้นปี 2543
จากคุณ |
:
Ooh 1234
|
เขียนเมื่อ |
:
30 มี.ค. 54 11:57:52
|
|
|
|
|