Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
10 สินค้าโภคภัณฑ์ ที่มาแรง ประจำปี 2011 ติดต่อทีมงาน

สินค้าคอมโมดิตี้ (commodity product) เป็นลักษณะของสินค้าประเภทโภคภัณฑ์ที่ไม่มีความแตกต่างของสินค้า เช่น สินค้าอุปโภคบริโภคจากธรรมชาติอย่างผักผลไม้ทั่วๆ ไป พริกไทย น้ำตาล น้ำปลา เกลือ น้ำดื่ม น้ำมันรถยนต์ ปูน ฯลฯ ตามหลักการทางทฤษฎีเราสามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 ประเภทหลัก ดังนี้

1.กลุ่มโลหะและอัญมณี เช่น ทองคำ เพชร พลอย เหล็ก เงิน ทองแดง อลูมิเนียม นิกเกิล ฯลฯ
ไฟล์แนบ 64671

2. กลุ่มสินค้าเกษตร เช่น ยางพารา ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่วเหลือง น้ำตาล เนื้อสัตว์ ฯลฯ
ไฟล์แนบ 64672

3. กลุ่มพลังงาน เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และผลิตภัณฑ์จากปิโตรเลียมต่างๆ
ไฟล์แนบ 64673

เมื่อเราสามารถแยกประเภทหลักๆได้ 3 ประเภทแล้ว ปัจจุบันนี้ คำว่า "Commodity" ยังสามารถนำไปใช้ผสมกับคำอื่นๆ ทำให้เกิดคำศัพท์ที่มีความความหมายแตกต่างกันอีกมากมาย เช่น คำว่า Commodity Money, Commodity Currency และ Commodity Index

ยกตัวอย่างของความหมายของคำว่า Commodity Money ที่มีความหมายว่า เงินในรูปแบบของสินค้าที่มีมูลค่าในตัวของมันเอง เช่นเหรียญ 50 สตางค์ 1 บาท 2 บาท 5 บาท และ 10 บาท ซึ่งโลหะที่ใช้ทำเหรียญเหล่านั้นล้วนมีมูลค่าในตัวมันเองทั้งสิ้น

ส่วนคำว่า Commodity Currencyหมายถึง สกุลเงินของประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการส่งออกสินค้าที่เป็นวัตถุดิบ เช่น แทนซาเนีย ปาปัวนิวกินี หรือ เป็นสกุลเงินที่มีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันกับราคา Commodity ซึ่งในแวดวงการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนหากพูดถึง Commodity Currency ส่วนมากจะหมายถึง สกุลเงินของประเทศออสเตรเลีย (Australia Dollar; AUD) แคนาดา (Canada Dollar; CAD) นิวซีแลนด์ (New Zealand Dollar; NZD) และแอฟริกาใต้ (South Africa Rand; ZAR) ซึ่งเป็นที่นาสังเกตว่าในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา Commodity Currencies ทั้งหลายเมื่อนำมาเทียบกับเงินสกุลหลักของโลกซึ่งก็คือ ดอลลาร์สหรัฐ (U.S. Dollar; USD) ล้วนมีค่าที่อ่อนลงแทบทั้งสิ้น (3%สำหรับ CAD ถึง - 13% สำหรับ AUD)แต่หากต้องการพิจารณาดูว่า ค่า USD ปรับตัวอ่อนค่าลง หรือ แข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นๆ ก็มีดัชนีชี้วัดที่นิยมใช้กันในปัจจุบันคือ ค่าดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐ หรือ US Dollar Index (USDX)

Commodity Index หรือดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งปัจจุบันมีการสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นดัชนีชี้วัดราคาสินค้าสินค้าโภคภัณฑ์อยู่มากมายหลายตัว เช่น Reuters/Jefferies CRB Index (CRB), S&P Goldman Sachs Commodities Index (S&P GSCI), Deutsche Bank Liquid Commodity Index (DBLCI) หรือ Rogers International Commodities Index (RICI)
แต่หากถามถึงสำหรับดัชนีสินค้าแยกเป็นรายประเภทสินค้า เช่น ยางพารา ก็มีการสร้างดัชนีราคายางพาราเช่นกัน นั่นคือ C-Com Rubber Index ซึ่งริเริ่มและสร้างโดย Osaka Mercantile Exchange (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ Central Japan Commodity Exchange (C-Com) ไปแล้ว) โดย C-Com ได้กำหนดซื้อขายล่วงหน้าดัชนี Rubber Index นี้ในรูปแบบของ Futures สำหรับส่งมอบในแต่ละเดือนในอนาคตอีก 6 เดือนข้างหน้าเป็นต้น

 
 

จากคุณ : superman2007
เขียนเมื่อ : 18 เม.ย. 54 20:36:59




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com