วิธีการเลือกลงทุน 1.จัดประเภทของกองทุน 1.1 Passive Fund นั้น จะไม่มี Fund Manager มาคอยดูแล Take Care พอร์ตของกองทุนเลย แต่จะใช้โปรแกรม คำนวนการซื้อขายหุ้นแต่ละตัวในพอร์ต เพื่อให้ผลการดำเนินงานเกาะติดกับ Index นั้นๆ มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และด้วยความที่ไม่ใช่ Fund Manager ดังนั้น จึงไม่มีค่าใช้จ่าย (คือ เงินเดือนของผู้จัดการกองทุนที่แสนจะแพง) เข้ามาเกี่ยวข้อง ค่าธรรมเนียมการจัดการ และค่าธรรมเนียมซื้อขายจึงถูกกว่า Active Fund ทั่วไป
1.2 Active Fund คือ กองทุนที่มี Fund Manager คอยดูแลปรับพอร์ต และคัดเลือกหุ้นเข้าพอร์ต วัตถุประสงค์ คือ เขาต้องการชนะ Index ให้ได้ โดยแต่ละกองทุนก็จะมีการคัดเลือกหุ้นที่แตกต่างกันไป ตามแต่ Style การลงทุนของ บลจ.นั้นๆ
*จากสถิติย้อนหลัง 5 ปี ที่ผ่านมา กองทุนหุ้น ที่ผลการดำเนินงานดี 10 อันดับแรก เป็นกองทุน Active Managment Portfolio ทั้งหมดครับ แถมชนะ SET Index แบบขาดลอยเลยก็ว่าได้
2. Portfolio : ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ลงทุนผ่านกองทุนต้องทราบ เท่าที่เห็นมี 2 แบบ 2.1 กลุ่มที่ลงทุนใน อุตสาหกรรมที่มีความผันผวนสูง เช่น กลุ่มพลังงาน กลุ่มสถาบันการเงิน กองทุนฯพวกนี้จะมีความผันผวนสูง 2.2 กลุ่มที่ตรงกันข้ามกับ (2.1) เน้นลงทุนในกลุ่มหรือหุ้นที่ให้เงินปันผลในอัตราที่สูง แต่ความมั่นคงของตัวธุรกิจอาจจะไม่ใช่พวก Bigcap ในตลาดสักเท่าไร 3. เลือกซื้อกองทุนผ่าน บลจ. ที่มีการให้ข้อมูลตลอดจนบริการที่ดี อาจจะดูจากประวัติการจ่ายปันผลก็ได้ สามารถติดต่อสะดวก ** ปล. ผมคงบอกไม่ได้ว่าตัวไหนดีกว่า แต่สามารถแบ่งปันแนวความคิดส่วนตัว ซึ่งอาจจะถูกหรือผิดก็ได้ ต้องใช้วิจารณฯเอาเองนะครับ แต่ผมเชื่อว่าการลงทุนผ่านกองทุนรวมเป็นวิธีการที่เหมาะสำหรับคนที่ไม่มีเวลาติดตามหุ้น ความเคลื่อนไหวในตลาด ซึ่งผมว่าคนที่ยืนในตลาดหลักทรัยพ์ในระยะยาวๆได้เป็นสิ่งที่ยาก ถึงยากที่สุด / เพราะตลาดมีความผันผวนสูงมาก ดังนั้นในระยะยาวการเลือกลงทุน หรือแบ่งเงินลงทุนมาลงทุนผ่านกองทุนรวมถือว่าเป็นทางเลือกที่ดี พอร์ตลงทุน กองทุนตราสารทุน (หุ้น) โดยวิธี DCA การขึ้นลงของกองทุนฯ ส่วนใหญ่ไปในทิศทางเดียวกันกับราคาหุ้น นับกันเป็นรอบๆแบ่งเป็นรอบขาขึ้น และรอบขาลง แต่ละรอบไม่มีกำหนดระยะเวลาตายตัว บางรอบอาจกินเวลาไม่กี่สัปดาห์บางรอบอาจยืดเยื้อเป็นแรมปี ไม่ว่าจะเป็นรอบขาขึ้นหรือขาลง ไม่มีใครคาดหมายได้ว่าจะกินเวลายาวนานเท่าไหร่ และถ้าคาดการณ์ผิด ซื้อขายไม่ถูกจังหวะ นอกจากจะพลาดนาทีทองในการทำเงินแล้ว ยังมีโอกาสเสียหายยับเยินได้ การพิจารณาจังหวะเวลาการลงทุนที่เหมาะสมไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว แต่วิธีหนึ่งค่อยข้างที่จะได้ผล นั่นคือการลงทุนแบบ ถัวเฉลี่ย ชื่อภาษาอังกฤษว่า Dollar Cost Average (DCA) หลายคนเชื่อว่าน่าจะลดความเสี่ยงในด้านการเข้าลงทุนได้ในระดับหนึ่งเป็นวิธีง่ายๆ ที่ช่วยป้องกันเราจากความผันผวนในตลาดหุ้นถ้าคุณเป็นนักลงทุนระยะปานกลางถึงยาว แน่นอน ในทุกการลงทุนเราอยากซื้อกองุทนฯได้ในราคาหน่วยลงทุนถูกสุด ขายได้ในราคาแพงสุด ได้กำไรมากสุด-ต้นทุนต่ำสุด(เพื่อได้ผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงๆเมื่อเทียบกับต้นทุน) แต่ในความเป็นจริง ใครจะไปรู้ได้ว่า หุ้นที่ราคาถูกสุดอยู่ที่ตรงไหน ไม่ว่าใครจะอ้างตัวว่าเป็นเซียน ศึกษาราคาทั้งพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิคมาอย่างโชกโชนก็ยังไม่สามารถบอกได้อย่างถูกต้องและแม่นยำว่า หุ้นตัวถูกที่สุด อยู่ที่ไหน วิธีการของ DCA คือ การเข้าลงทุนโดยกำหนดจำนวนเงินที่แน่นอนในการเข้าซื้อในแต่ละเดือน คล้ายๆ ฝากประจำนั่นล่ะครับ (แต่ผลตอบแทนต่างกัน) ถ้าคุณซื้อในราคาสูง จะได้จำนวนหน่วยลงทุนน้อยจากเงินจำนวนเดียวกัน ถ้าราคาหุ้นลดต่ำลง คุณซื้อหุ้นในราคาถูก และได้จำนวนหน่วยลงทุนมากขึ้น เมื่อระยะเวลาหนึ่งผ่านไป ในพอร์ตการลงทุนของคุณจะมีหน่วยลงทุนหลายราคา ทั้งถูกทั้งแพงเฉลี่ยกันไปเป็นการลดความเสี่ยงที่คุณจะนำเงินทั้งก้อนไปลงทุนครั้งเดียวที่ราคาเดียว เพราะคุณหรือใครก็ไม่มีทางรู้ได้ว่าราคานั้นสูงเกินไปหรือไม่ ณ เวลานั้นๆ ดังนั้น จะมีบางเดือนที่คุณซื้อได้ในราคาแพงแต่จะได้จำนวนหุ้นน้อย แต่เดือนต่อมา ตลาดหุ้นลดต่ำลง ผลเสียก็คือ คุณขาดทุนที่ซื้อไปเมื่อเดือนที่แล้วแต่ผลดีก็คือ คุณยังมีเงินที่จะเข้าซื้อได้อีกต่อไปในเดือนนี้ แถมคุณซื้อได้ในราคาที่ถูกลงและได้จำนวนหน่วยลงทุนมากขึ้น ในบางเดือนที่ราคาสูงขึ้น ผลดีคือ คุณเริ่มยิ้มได้เพราะมีผลกำไรจากการลงทุน แต่ผลเสียคือ เมื่อราคาหุ้นสูง คุณจะซื้อได้จำนวนน้อยลง ซึ่งจริงๆ เป็นการลดความเสี่ยงที่คุณจะเข้าซื้อที่ราคาสูงเกินไปหรือการเข้าซื้อตอนตลาดบูมมากๆ เมื่อคุณเข้าลงทุนโดยการเฉลี่ยต้นทุนได้ครบ 8 เดือน คุณจะได้พอร์ตการลงทุนที่สามารถลดความเสี่ยงในการลงทุนในระยะยาวได้เป็นอย่างดีทีเดียว วิธีการ DCA เหมาะกับการลงทุนในระยะยาวได้อย่างสบายใจ โดยไม่ต้องสนใจว่าราคาหุ้นในวันที่คุณเข้าลงทุนจะแพงไปหรือถูกไป ยิ่งถ้าคุณซึ่งไม่เคยลงทุนมาก่อนหรือเซียนหุ้นหน้าไหนก็ไม่มีทางรู้ยิ่งลง กองทุนฯ คุณมีแต้มต่ออยู่แล้ว
จากคุณ |
:
superman2007
|
เขียนเมื่อ |
:
22 พ.ค. 54 09:36:12
|
|
|
|