ขอบคุณครับ
ธุรกิจอยู่ได้ด้วยคำๆ เดียวคือ "มูลค่าเพิ่ม" คือธุรกิจจะต้องสามารถสร้าง มูลค่าเพิ่มได้ ทั้งภายในองค์กรเอง จากแผนกหนึ่งไปอีกแผนกหนึึ่งที่ต่อ เนื่องกันไป จากวัตถุดิบ ไปจนกระทั่งสินค้าสำเร็จรูปที่พร้อมจะขายได้ ทั้งหมดทั้งปวงนี้ล้วนแต่มี "คน" เข้ามาเป็นส่วนร่วมอยู่ไม่มากก็น้อย
และเมื่อมี คน เข้ามาเป็นส่วนประกอบ และต้นทุนของ คน นั้นเปลี่ยนไป ทำให้สมการของสิ่งที่เป็นมูลค่าเพิ่มนั้นเปลี่ยนแปลงไป ทำให้สมดุลที่เคย เป็นอยู่นั้นเสียไป ทำให้ห่วงโซ่ของการเพิ่มมูลค่าผิดไป
ในฐานะเจ้าของธุรกิจ ผมอาจจะมีทางเลือกอยู่ไม่มากเท่าไร
- ทางเลือกแรกคือ ทำให้คนที่ผมต้องจ่ายเงินมากขึ้น สามารถทำงานให้ ได้ผลงานที่ดีขึ้น ได้มูลค่าเพิ่มมากขึ้น คุ้มกับค่าแรงที่สูงขึ้นที่ต้องจ่ายนั้น ทางเลือกข้อนี้ก็ดูจะโหดร้ายไปสักหน่อยในเรื่องของการจ้างงาน
- ใช้คนงานเท่าเดิม แต่สร้างผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มมากขี้นไปอีก หรือร่วม กับการลงทุนเครื่องจักรเพื่อเพิ่ม productivity ขึ้นไปอีก ด้วยต้นทุนของค่า จ้างแรงงานที่สูงขึ้น แต่ก็ต้องได้ผลผลิตสูงขึ้น ทางเลือกข้อนี้ดูเหมือนจะดี แต่จะมีสักกี่ธุรกิจที่สามารถปรับตัวได้ขนาดนี้ และพร้อมที่จะลงทุนกับการ เพิ่มเครื่ิองจักรเข้ามา
- ทางเลือกที่แย่กว่าคือลดจำนวนคนงานลง โดยใช้คนน้อยลงทำงานมากขี้น รวมทั้งการนำเข้าแรงงานจากต่างประเทศ ข้อนี้ต่างหากที่น่ากลัวและอาจจะ กลับกลายเป็นผลร้ายได้ ดังนั้นการที่จะกำหนดนโยบายอะไรก็ตามจากภาค รัฐ จะต้องคำนึงถึงจุดสมดุลที่เคยเป็นอยู่ด้วย ว่าจะเปลี่ยนไปในทิศทางไหน
จากคุณ |
:
มือเก่าหัดขับ
|
เขียนเมื่อ |
:
12 มิ.ย. 54 16:50:33
|
|
|
|