อย่างคุณสาระขันบอก คิด 4 ไตรมาสหลังสุด
ก็คือ เอาราคาต่อหุ้น วันที่จะคำนวณ หารด้วย กำไรต่อหุ้น (EPS) ของ 4 ไตรมาส รวมย้อนหลัง เป็นค่า P/E
อย่างเช่น ณ เวลานี้ EPS ที่ใช้คำนวณ คือ (Q1/54) + (Q4/53 + Q3/53 + Q2/53)
ราวกลางเดืิอนสิงหา พอผลไตรมาสนี้ออกประกาศช่วงถัดไป PE ตอนนั้น EPS ที่ใช้คำนวณ ก็จะเป็น (Q2/54 + Q1/54) + (Q4/53 + Q3/53)
จึงขจัดปัญหารอบบัญชีที่บางกิจการ อาจใช้ต่างกัน
ถ้าดูในหน้า SET เขาจะบอกด้วยว่า ล่าสุดผลประกอบการวันไหนเอามาคำนวณ
ตัวอย่าง
PTT
จะเห็นว่า "งวดงบการเงิน" ไตรมาส 1/54 ณ วันที่ 31/03/2554
"วันที่ของงบการเงินที่ใช้คำนวณค่าสถิติ" ล่าสุดคือ 31/03/2554 ก็คือ Q1/54 แล้วย้อนหลังกลับไปอีก 3 ไตรมาสอย่างที่บอก
MBK
จะเห็นว่า "งวดงบการเงิน" เป็น ไตรมาส 3/54 ณ วันที่ 31/03/2554 เพราะรอบบัญชีไม่เหมือนกัน
แต่ "วันที่ของงบการเงินที่ใช้คำนวณค่าสถิติ" เหมือนกัน ล่าสุดคือ 31/03/2554 แม้รอบบัญชีจะถือเป็นไตรมาส 3 แต่ก็เอา ผลไตรมาสนี้ไปคำนวณย้อนหลังกลับไปอีก 3 ไตรมาสอย่างที่บอก
จึงเปรียบเทียบกับชาวบ้านได้เหมือนกัน
ลองไปสังเกตเพิ่ม จะเข้าใจ ไม่ต้องท่องจำ
PTT รอบบัญชี ไตรมาสตรงกับไตรมาสปฏิทิน (เวลานี้ เป็นไตรมาส 2)
MBK รอบบัญชี ไตรมาสสุดท้าย ปิดบัญชีเป็นเดือน 6 (เวลานี้ จึงเป็นไตรมาส 3)
TTA รอบบัญชี ไตรมาสสุดท้าย เป็นเดือน 9 (เวลานี้ จึงเป็นไตรมาส 2)
มีตัวอื่นอีก ที่รอบบัญชีไม่ตรง เช่น BTS, TIW, .... บริษัทญี่ปุ่นจำนวนมากก็รอบไม่ตรง