|
ซื้อ ภาษาอังกฤษใช้ว่า buy ชื่อก็บอกตรงๆ ว่าแนะนำให้ซื้อ ซึ่งอาจแตกสาขาออกไปได้เป็น ซื้อ เฉยๆ หรือ buy กับ strong buy ซึ่ง strong buy นี้ ความหมายว่า ซื้อทันที ไม่ต้องรอช้า เพราะหากรอราคาอาจจะขึ้นไปเกินเป้า แล้วอาจจะหมดโอกาสซื้อทยอยสะสม ภาษาอังกฤษใช้ accumulate บางแห่งจะใช้ ทยอยซื้อ หรือ ซื้อสะสม หมายถึงว่า หากราคาลดลงมาก็น่าจะซื้อมากขึ้น ไม่ต้องรีบร้อนมากซื้อลงทุน ภาษาอังกฤษใช้ long-term buy คือแนะนำให้ซื้อไว้ในพอร์ตที่ลงทุนระยะยาว เพราะปัจจัยพื้นฐานดี และหวังว่าราคาในอนาคตจะค่อยๆ สะท้อนมูลค่าซื้อเมื่ออ่อนตัว หรือ buy on weakness ความหมายลึกๆ คือ ราคา ณ ปัจจุบันสูงไปสักหน่อย หากจะลงทุนควรจะซื้อ เมื่อราคาปรับตัวลงมาจากระดับราคาปัจจุบันซื้อเพื่อรอขาย หรือ trading buy ศัพท์นี้น่าจะเป็นรากศัพท์ของคำว่า ซื้อเพื่อเก็งกำไร หรือ speculative buy ที่นิยมใช้ กันอยู่ตอนนี้ แต่ความหมายแตกต่างกันมาก ความหมายของ trading buy ที่ผู้จัดการกองทุนใช้ก็คือ หุ้นนี้มีปัจจัยพื้นฐานดี แต่คาดว่าราคาอาจจะปรับตัวขึ้นค่อนข้างรวดเร็วจนอาจถึงราคาเป้าหมายในไม่ช้า จึงต้องจับตามอง และอาจกลับเข้ามาซื้อใหม่ เมื่อราคาปรับลดลงมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งต่างกับคำว่า เก็งกำไร ซึ่งหุ้นอาจมีราคาเพิ่มขึ้นเพราะข่าวลือ หรือตามกระแสโดยไม่มีปัจจัยพื้นฐานมารองรับคำว่า ซื้อเพื่อเก็งกำไร ไม่มีอยู่ในพจนานุกรมของผู้จัดการกองทุนค่ะ เพราะหุ้นที่ไม่มีปัจจัยพื้นฐานมารองรับการขึ้นของราคาคือหุ้นที่ราคามีโอกาสตกได้ตลอดเวลา อย่างนี้เป็นความเสี่ยงดังนั้น ช่วงที่หุ้นเก็งกำไรมีราคาเพิ่มขึ้นไปมากๆ ผู้จัดการกองทุนก็อาจจะบริหารงานแพ้ดัชนีตลาด หรือที่เรียกว่า underperform แต่เมื่อใดก็ตาม ที่ลูกโป่งแตก ทุกอย่างก็จะกลับมาสู่ความเป็นจริง เมื่อนั้นกองทุนก็จะไม่เจ็บตัวค่ะหลีกเลี่ยง หรือ avoid ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นที่มีราคาสูงเกินกว่าปัจจัยพื้นฐานมากแล้ว หรือมีความเสี่ยงเฉพาะเกิดขึ้น เช่น กำลังอยู่ระหว่างการถูกสั่งให้แก้ไขงบการเงิน หรือมีการซื้อเก็งกำไรมาก จนราคาไม่ปกติ ซึ่งหุ้นในกลุ่ม ซื้อเพื่อเก็งกำไร พอมาอยู่ในพจนานุกรมของผู้จัดการกองทุนเรามักจะ หลีกเลี่ยง ค่ะถือ หรือ hold จะใช้กับกรณีที่ผู้ลงทุนมีหุ้นนั้นอยู่ในพอร์ตอยู่แล้ว แต่ราคาอาจจะยังไม่สะท้อนปัจจัยพื้นฐานมากนัก ขายไปก็จะเสียโอกาสเพราะยังมีโอกาสขึ้นอีก แต่ก็ไม่แนะนำให้ซื้อเพิ่ม เพราะราคาใกล้จะถึงจุดที่เหมาะสมแล้ว อย่างนี้ถือรอขายทำกำไรค่ะขาย หรือ sell อาจเกิดจากปัจจัยพื้นฐานเปลี่ยน หรือกรณีราคาขึ้นมาถึงเป้าหมายแล้วก็อาจแนะนำให้ ขายทำกำไร หรือ take profitคำแนะนำประเภทที่ 2 คือคำแนะนำเกี่ยวกับมูลค่าของหลักทรัพย์นั้น แบ่งกลุ่มย่อยเป็น 2 กลุ่มคือ แนะนำเกี่ยวกับน้ำหนักการลงทุน และแนะนำเกี่ยวกับมูลค่าน้ำหนักการลงทุนนั้น มีตั้งแต่ มากกว่าน้ำหนักตลาด (overweight) แปลว่าปัจจัยพื้นฐานดี น่าจะมีโอกาสมีราคาขึ้นมากกว่าหุ้นโดยเฉลี่ย หรือเป็นกลาง (neutral) คือมีโอกาสขึ้นเท่ากับตลาดโดยรวม และให้น้ำหนักน้อยกว่าตลาด (underweight) เพราะเห็นว่าอาจมีโอกาสปรับตัวขึ้นน้อยกว่าหุ้นอื่นๆนักวิเคราะห์หลักทรัพย์อาจไม่อยากเขียนให้ผู้ลงทุนดำเนินการโดยตรงแต่จะเขียนให้เข้าใจทางอ้อม เช่น หากหุ้นนั้นมีราคาสูงเกินไปแล้ว อยากให้ขาย ก็จะแนะนำว่า เต็มมูลค่า หรือ fully valued หากอยากให้ถือก็จะแนะนำว่า เป็นกลาง หรือ neutral หรืออยากแนะนำให้ซื้อ ก็จะบอกว่า ราคาต่ำกว่ามูลค่า หรือ under valued ส่วนใหญ่จะเห็นนักวิเคราะห์ใช้คำแนะนำประเภทที่ 2 นี้ กับคำแนะนำขาย คือไม่ค่อยจะมีใครเขียนให้ ขาย ตรงๆ แต่จะไปเลี่ยงเป็น เต็มมูลค่า แล้ว หรือให้น้ำหนัก ต่ำกว่าตลาด คงจะเป็นเพราะยังเกรงใจผู้บริหารของบริษัทนั้นๆ อยู่ เพราะอุตส่าห์ยอมให้เข้าพบและให้ข้อมูลมาฉะนั้นคำแนะนำจึงยังมีลักษณะของสังคมไทยเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยค่ะทราบอย่างนี้แล้ว หวังว่าท่านจะไม่กระโจนเข้าไปลงทุนในหุ้นที่เขาแนะนำให้ ซื้อเก็งกำไร นะคะ โดยเฉพาะหากแนะนำโดยไม่ยอมเปิดเผยชื่อหรือบริษัทที่สังกัด พยายามเปลี่ยน ซื้อเก็งกำไร ให้เป็น หลีกเลี่ยง เพื่อคุ้มครองเงินลงทุนของท่านเอง | แหล่งที่มา : วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ, MONEY PRO กรุงเทพธุรกิจ, 20 มิ.ย. 48 |
จากคุณ |
:
ไทกั๋ว
|
เขียนเมื่อ |
:
27 มิ.ย. 54 00:02:28
|
|
|
|
|