ตอบ #87
ถ้าอ่านกระทู้ ถามมา-ตอบไป จะรู้ว่า เราไม่ได้ให้ความสำคัญกับ
3-0-2-8
จะสูตรไหน ก็แล้วแต่ไม่มีอะไรสำคัญค่ะ
อย่าไปยึดติดเน้อ
ข้อความต่อไปนี้ อธิบายจากมุมมองของเราต่อ DSM Basic เท่านั้น
1 ที่มาของกองหลัง คือ กั้นเขื่อน SAP
2 ที่มาของกองกลางคือ จับปลาช่วง sideway ไม่มากไม่น้อย ไม่เบื่อ
3 ที่มาของกองหน้า คือ รักษามูลค่าให้ยาวนานที่สุด
4 ที่มาของช่องว่างคือ cash back time ปรับสมดุล เมื่อหุ้นน้อยเกินไป=เปิดเขื่อน
ส่วนตัวเลขสมมติ ให้เห็นปริมาณต่อพอร์ตมากกว่า
เช่น 3 คือกี่% 2 คือกี่ % 8 คือกี่ %
ทำไมไม่เท่า 100 %น่ะเหรอ
ก็เพราะ ระหว่างทาง การทำซ้ำ มันจะทำให้ได้ส่วนเกินออกมาเอง
ซึ่งส่วนเกินอันนี้ จะไปเติมกองหน้าเป็นสำคัญค่ะ
ส่วนการยกตัวอย่าง ซื้อ 2 เพื่อไปขาย
จะเกิดได้ ก็ต่อเมื่อ คุณมี กสงฝ. แล้ว
อธิบายก่อน
กสงฝ. 50% ใช้ซื้อหุ้นเข้าพอร์ตมาทำ DSM คือมาทำ กสงฝ.
25% ของ กสงฝ. ใช้ซื้อกองกลาง
อีก 25% เก็บไว้เป็นค่าบริหารตัวเอง(อุตส่าห์เฝ้าตั้งนาน ต้องมีเงินเข้ากระเป๋าบ้างเสะ)
แบบซื้อมา-ขายไป หรือ ขายมา-ซื้อไปก้ได้ แล้วแต่ไปลงตรงไหน
แต่แบ่งออกมาทีละ 1 %
เช่น กองหลังตัวสุดท้าย อยู่ที่ 10 บาท
ตั้งเป้าหมาย กั้นเขื่อนรอบหน้า ให้ที่ 11.5=15 ช่อง เป็นราคาสุดท้าย
กำหนด กฏ กองกลางซื้อทุก 5 ช่อง 1%
หุ้นขึ้นมา 10.5 ซื้อเข้าทันที 1% ถ้าขึ้นถือต่อ ไป 11 ซื้ออีก 1%
พอลงก็ขาย (2-3 ช่องก็ได้ แล้วแต่ตั้ง) เพื่อซื้อคืน พอไปต่อ ก็ขายทำกำไร ก่อนเขื่อนบน
บังเอิญมันยึกยักลงมา ก็ซื้อคืน วนไปอย่างนี้
แต่ถ้าซื้อแล้วลงเลย ก็ขายไป
แล้วไปซื้อกลับพร้อมกองหลังที่เขื่อนล่างก็ได้
แต่ถ้ามันทะลุ 11.5 ไปแล้ว ปรากฏว่ากองกลางส่วนนี้(10-11.5) ขายไปแล้ว แต่ไม่ทันซื้อคืน
ก็หมดหน้าที่ของมันค่ะ ถือว่าขายได้กำไร
ลงบัญชีรวมเป็น กสงฝ.เพิ่มได้เหมือนกัน
ไม่ใช่การซื้อหุ้นเข้าพอร์ต DSM ค่ะ (ถ้าลงไป แล้วซื้อคืนได้ ปรับบัญชี มารวมกับส่วน 3 ของเขื่อนล่าง เป็นการซื้อเพื่อทำ DSM)
พอเข้าใจมั๊ยคะ
แต่ทีนี้ เราจะกำหนด กองกลางอย่างไร
อันนี้ อยู่ที่มุมมอง
อยากให้ซื้อ เมื่อคาดหวังการขึ้นค่ะ
การซื้อทุกครั้ง ต้องคาดหวังการขึ้น(ไม่ว่ามันจะถูกหรือผิดก็ตาม อย่างไรเรามีอีกหลายส่วนไว้แก้ปัญหา ถ้าผิดอย่าไปคิดมากค่ะ)
การลงทุนเป็นแผนการค่ะ
เป็นแผนการที่ง่ายแต่น่าเบื่อ
คนส่วนใหญ่ วางแผนที่จะจนลง
คุณเป็นคนส่วนใหญ่หรือเปล่า นั่นถึงสำคัญกว่าค่ะ