|
ในแบบฟอร์มสมัครบัตรเครดิต จะมีข้อสัญญาอยู่ข้อหนึ่ง ในกรณีบัตรหาย แล้วมีผู้นำบัตรไปรูดซื้อสินค้า ธนาคารจะ ให้เจ้าของบัตรรับผิดชอบ ช่วงตั้งแต่บัตรหาย จนถึงเวลา แจ้งให้ธนาคารทราบ หลังแจ้งให้ธนาคารทราบแล้วผู้ถือบัตร ไม่ต้องรับผิดชอบ
ตามข้อตกลงดังกล่าว ถ้าบัตรใครหาย แล้วมีการรูดซื้อสินค้า ช่วงก่อนผู้ถือบัตรแจ้งธนาคาร ธนาคารให้ผู้ถือบัตรรับผิดชอบ กรณีนี้ ผมขอแนะนำให้ เจ้าของบัตร ดู saleslip ว่าลายมือชื่อ เหมือนหรือไม่ และขอดูกล้องวงจรปิด ว่าพฤติกรรมการขาย เป็นอย่างไร ถ้าลายมือไม่เหมือน และพฤติกรรมการขายของในกล้องวงจรปิด ผิดวิสัย เช่นชื่อบนบัตร ชื่อ somying แต่คนรูดเป็นชาย
ขอให้ปฏิเสธไม่จ่าย ให้ธนาคารฟ้องเอาครับ. เพราะกรณีลายมือชื่อไม่เหมือน เป็นการประมาทเลินเล่ออย่าง ร้ายแรงของธนาคาร (แม้จะรูดซื้อสินค้าจากร้านค้า ถือว่าร้านค้า เป็นตัวแทนธนาคาร ต้องตรวจสอบลายมือชื่อด้านหลังบัตรด้วย) เมื่อธนาคารประมาทเลินเล่ออย่างร้านแรง ธนาคารจะนำข้อตกลง เรื่องให้ผู้ถือบัตรรับผิดกรณีบัตรหายตามข้อตกลงมาใช้ไม่ได้ หรือ อย่างน้อย ศาลถือว่าธนาคารประมาทด้วย ผู้ถือบัตรรับผิดชอบน้อยลง
เพียงแต่ส่วนใหญ่ ผู้ถือบัตรยินยอมรับผิด เรื่องจึงยังไม่มีขึ้นศาล ถึงศาลฎีกา แต่ในเรื่องคล้ายกัน คือธนาคารให้ลูกค้ารับผิดชอบ ลูกค้าสู้ความชนะมาเยอะครับ ตัวอย่าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2538 นาย เสถียร ปิตตะรงค์ โจทก์ ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด สาขา กาญจนบุรี จำเลย
ป.พ.พ. มาตรา 420, 442, 1008
ป.วิ.พ. มาตรา 183
จำเลยจะยกข้อต่อสู้ว่าโจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงกันว่าหากโจทก์ผู้ฝากละเลยหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้เช็คไปปลอมลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายและธนาคารหลงเชื่อจ่ายเงินตามเช็คปลอมนั้นๆไปธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ฝากสำหรับเงินจำนวนที่จ่ายไปนั้นขึ้นอ้างเป็นข้อยกเว้นความรับผิดว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1008วรรคแรกตอนท้ายได้ต่อเมื่อจำเลยได้จ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้ปลอมลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายโดยสุจริตและใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วมิใช่เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงและเป็นละเมิด แม้จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อจึงต้องร่วมรับผิดด้วยแต่การต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในมูลหนี้ละเมิดแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณโดยถือความเสียหายที่เกิดขึ้นว่าฝ่ายใดเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรด้วย
________________________________
โจทก์ ฟ้อง ว่า โจทก์ ได้ เปิด บัญชี กระแสรายวัน กับ ธนาคาร จำเลยเมื่อ ระหว่าง วันที่ 21 กันยายน 2532 ถึง วันที่ 25 กันยายน 2532 ได้มี คนร้าย ลัก เอา เช็ค ธนาคาร กสิกรไทย จำกัด สาขา กาญจนบุรี ของ โจทก์ ไป 2 ฉบับ ต่อมา คนร้าย ได้ นำ เช็ค ทั้ง สอง ฉบับนั้น ลงลายมือชื่อ โจทก์ ปลอมเป็น ผู้สั่งจ่าย และ กรอก ข้อความ ใน เช็ค วันที่ 20 กันยายน 2532และ วันที่ 25 กันยายน 2532 จำนวนเงิน 54,000 บาท และ 240,000 บาทตามลำดับ จาก นั้น คนร้าย ได้ นำ เช็ค ทั้ง สอง ฉบับ ดังกล่าว ไป เบิกเงินจาก ธนาคาร ธนาคาร ได้ จ่ายเงิน ตามเช็ค ทั้ง สอง ฉบับ ไป รวมเป็น เงิน294,000 บาท จำเลย จ่ายเงิน ตามเช็ค ทั้ง สอง ฉบับ โดยประมาท เลินเล่อไม่ ตรวจสอบ ว่า ลายมือชื่อ ผู้สั่งจ่าย เป็น ลายมือชื่อ ของ โจทก์ แท้จริงหรือไม่ แล้ว จำเลย ได้ หักเงิน ใน บัญชี ของ โจทก์ ทำให้ โจทก์ เสียหายจำเลย ต้อง คืนเงิน จำนวน นั้น แก่ โจทก์ พร้อม ด้วย ดอกเบี้ย ขอให้ บังคับจำเลย ชำระ เงิน รวม ดอกเบี้ย ถึง วันฟ้อง จำนวน 315,743.75 บาทพร้อม ด้วย ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงิน 294,000 บาทนับ ถัด จาก วันฟ้อง เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ แก่ โจทก์
จำเลย ให้การ ว่า จำเลย ได้ ใช้ เงิน ให้ แก่ บุคคล ผู้ มา ขอ ขึ้น เงินตามเช็ค พิพาท ทั้ง สอง ฉบับ รวม 294,000 บาท ไป โดยสุจริต และ ปราศจากความประมาท เลินเล่อ โดย ตรวจสอบ ลายมือชื่อ ผู้สั่งจ่าย ใน เช็ค ทั้ง สองฉบับ แล้ว ไม่มี เหตุ ชวน สงสัย ว่า มิใช่ ลายมือชื่อ ของ โจทก์ และ โจทก์เป็น ผู้สั่งจ่าย เช็คพิพาท ทั้ง สอง ฉบับนั้น เอง จำเลย ไม่ต้อง รับผิดขอให้ ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้น พิพากษา ให้ จำเลย ชำระ เงิน จำนวน 294,000 บาท แก่ โจทก์พร้อม ดอกเบี้ย อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงิน ดังกล่าว นับแต่วันที่ 25 กันยายน 2532 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
จำเลย อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืน
จำเลย ฎีกา
ศาลฎีกา วินิจฉัย ว่า "พิเคราะห์ แล้ว ข้อเท็จจริง ฟังได้ ในเบื้องต้น ว่า โจทก์ เป็น ลูกค้า เปิด บัญชี เงินฝาก กระแสรายวัน ไว้ กับธนาคาร จำเลย ระหว่าง วันที่ 21 กันยายน 2532 ถึง วันที่ 25 กันยายน2532 ได้ มี ผู้นำ เช็ค ของ โจทก์ 2 ฉบับ หมายเลข 7687655 สั่งจ่าย เงิน54,000 บาท และ หมายเลข 7687660 สั่งจ่าย เงิน 240,000 บาทไป ขึ้น เงิน และ จำเลย ได้ จ่ายเงิน และ ลง รายการ ที่ โจทก์ เป็น ลูกหนี้ จำเลยรวมเป็น เงิน 294,000 บาท คง มี ประเด็น ที่ ต้อง วินิจฉัย ตาม ฎีกา ของ จำเลยว่า ลายมือชื่อ ผู้สั่งจ่าย ใน เช็คพิพาท ทั้ง 2 ฉบับ เป็น ลายมือ ปลอมหรือไม่ โจทก์ เบิกความ ยืนยัน ว่า ลายมือชื่อ ผู้สั่งจ่าย ใน เช็คพิพาททั้ง สอง ฉบับ มิใช่ ลายมือชื่อ ของ โจทก์ นอกจาก นี้ ตาม รายงาน การ ตรวจพิสูจน์ ของ ผู้เชี่ยวชาญ ของ กองพิสูจน์หลักฐาน กรมตำรวจ ซึ่ง พนักงานสอบสวน ส่ง เช็คพิพาท ทั้ง สอง ฉบับ กับ สำเนา เช็ค อื่น ๆ อีก บาง ฉบับลายมือชื่อ ใน สำเนา การ์ด ตัวอย่าง ลายมือชื่อ ของ โจทก์ ใน บัญชี เงินฝากกระแสรายวัน และ ตัวอย่าง ลายมือชื่อ ของ โจทก์ ที่ เขียน ขึ้น ต่อหน้าพนักงานสอบสวน ไป ขอให้ ตรวจ เปรียบเทียบ แล้ว สรุป ความเห็น ว่า มีรูป ลักษณะ และ คุณสมบัติ ของ การ เขียน แตกต่าง กัน จึง ลง ความเห็น ว่าไม่ใช่ ลายมือชื่อ ของ บุคคล คนเดียว กัน ตาม เอกสาร หมาย จ. 3 จำเลยมิได้ นำสืบ เกี่ยวกับ เรื่อง นี้ นอกจาก อ้าง พันตำรวจโท ถาวร นิงสานนท์ ซึ่ง รับ ราชการ อยู่ ที่ กองทะเบียนประวัติอาชญากร กรมตำรวจและ ไม่ได้ เกี่ยวข้อง กับ การ ตรวจ พิสูจน์ ดังกล่าว มา เป็น พยาน เบิกความแต่เพียง ว่า การ ตรวจสอบ ลายมือชื่อ นั้น ถ้า จะ ให้ ถูกต้อง แท้จริง ต้องตรวจสอบ จาก ต้นฉบับ จริง ของ ลายมือชื่อ นั้น ๆ แต่ ก็ มิได้ ยืนยัน หรืออธิบาย แสดง ให้ เห็นว่า การ ตรวจสอบ ลายมือชื่อ พิพาท ตาม เอกสาร หมายจ. 3 ไม่ ชัดแจ้ง หรือไม่ ถูกต้อง อย่างไร พยาน อื่น ๆ ของ จำเลย ก็ มีเจ้าหน้าที่ ของ จำเลย คือ นาย ชูชาติ อังสถิตย์อนันต์ มี ตำแหน่ง เป็น ผู้ช่วยผู้จัดการ เป็น ผู้ตรวจ ลายมือชื่อ ผู้สั่งจ่าย ใน เช็คพิพาทฉบับ หมายเลข 7687655 และ นาย ประดิษฐ์ หว่านพืช สมุห์บัญชี เป็น ผู้ตรวจ ลายมือชื่อ ผู้สั่งจ่าย ใน เช็คพิพาท ฉบับ หมายเลข 7687660 มาเบิกความ ว่า ลายมือชื่อ ผู้สั่งจ่าย ใน เช็คพิพาท ทั้ง สอง ฉบับ คล้าย ลายมือชื่อ ใน การ์ด ตัวอย่าง ลายมือชื่อ ของ โจทก์ จึง ได้ อนุมัติ ให้ จ่ายเงิน ตามเช็ค ไป เท่านั้น พยานหลักฐาน ของ โจทก์ ใน ข้อ นี้ จึง มี น้ำหนัก ยิ่งกว่าพยานหลักฐาน ของ จำเลย ฟังได้ ว่า ลายมือชื่อ ใน เช็คพิพาท ทั้ง สอง ฉบับเป็น ลายมือ ปลอม ส่วน ประเด็น ที่ ว่า จำเลย จะ ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ หรือไม่พิจารณา ลายมือชื่อ ผู้สั่งจ่าย เช็ค ใน เอกสาร หมาย ล. 6 เปรียบเทียบ กันแล้ว ลายมือชื่อ ใน ฉบับที่ 2 และ ที่ 3 มี ลักษณะ ตัวอักษร และ ช่อง ไฟ ของตัวอักษร คล้ายคลึง กัน และ คล้ายคลึง กับ ลายมือชื่อ ตัวอย่าง ของ โจทก์ใน การ์ด ตัวอย่าง ลายมือชื่อ บัญชี กระแสรายวัน ใน เอกสาร หมาย ล. 2ส่วน ลายมือชื่อ โจทก์ ใน ฉบับที่ 1 และ ที่ 4 ซึ่ง เป็น เช็คพิพาท มีลักษณะ ตัวอักษร และ ช่อง ไฟ ของ ตัวอักษร ที่ คล้ายคลึง กัน แต่ แตกต่าง ไปจาก ที่ ปรากฏ ใน ฉบับที่ 2 ที่ 3 และ ใน การ์ด ตัวอย่าง โดย มี ช่อง ไฟ ของ ตัวอักษร แคบ กว่า กัน เมื่อ คำนึง ว่า นาย ชูชาติ มี ตำแหน่ง เป็น ผู้ช่วย ผู้จัดการ สาขา และ นาย ประดิษฐ์ มี ตำแหน่ง เป็น สมุห์บัญชี ประจำ สาขา ของ จำเลย ปฏิบัติ หน้าที่ เกี่ยวกับ การ ตรวจ ลายมือชื่อ ของ ลูกค้าโดยตรง อยู่ ตลอด เวลา บุคคล ทั้ง สอง ย่อม มี ความ ชำนาญ ใน การ ตรวจ พิสูจน์ลายมือชื่อ ของ ลูกค้า มาก กว่า คน ธรรมดา หาก ได้ ใช้ ความระมัดระวังใน การปฏิบัติหน้าที่ ของ ตน โดย ละเอียด รอบคอบ ตรวจสอบ ลายมือชื่อ ตาม ควรก็ จะ ต้อง ทราบ ว่า ลายมือชื่อ ดังกล่าว เป็น ลายมือ ปลอม การ ที่ เจ้าหน้าที่ของ จำเลย ไม่ ใช้ ความระมัดระวัง ให้ เพียงพอ จึง เป็น การกระทำ โดยประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง ทำให้ เกิด ความเสียหาย แก่ โจทก์ ข้อต่อสู้ของ จำเลย ที่ ว่า โจทก์ กับ จำเลย มี ข้อตกลง กัน ไว้ ตาม ข้อความ ใน คำขอ เปิดบัญชี กระแสรายวัน ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 โดยเฉพาะ ข้อ 20 ว่าหาก ผู้ฝาก ละเลย หรือ ประมาท เลินเล่อ เป็นเหตุ ให้ บุคคลอื่น ได้ เช็ค ไปปลอม ลายมือชื่อ ของ ผู้สั่งจ่าย และ ธนาคาร หลงเชื่อ จ่ายเงิน ตามเช็คปลอม นั้น ๆ ไป ธนาคาร ไม่ต้อง รับผิดชอบ ต่อ ผู้ฝาก สำหรับ เงินจำนวน ที่ จ่าย ไป นั้น เห็นว่า ข้อตกลง ดังกล่าว จำเลย จะ ยกขึ้น อ้างได้ ก็ ต่อเมื่อ จำเลย ได้ จ่ายเงิน ตามเช็ค ที่ มี ผู้ ปลอม ลายมือชื่อ ของผู้สั่งจ่าย โดยสุจริต และ ใช้ ความระมัดระวัง ตาม สมควร แก่ กรณี แล้ว มิใช่เป็น การกระทำ โดยประมาท เลินเล่อ ปราศจาก ความระมัดระวังตาม สมควร ดัง เช่น กรณี นี้ เมื่อ การ สั่งจ่าย เงิน ตามเช็ค พิพาท ของ จำเลยดังกล่าว เป็น การกระทำ โดยประมาท ย่อม เป็น ละเมิด และ ต้อง รับผิดต่อ โจทก์ จำเลย จะ อ้าง เอา ข้อตกลง ตาม เอกสาร หมาย ล. 1 ข้อ 20 มา เป็นข้อยกเว้น ว่า โจทก์ ตกอยู่ใน ฐาน เป็น ผู้ต้อง ตัด บท มิให้ ยก ข้อ ลายมือชื่อปลอม ขึ้น เป็น ข้อต่อสู้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1008วรรคแรก ตอนท้าย หาได้ไม่
ปัญหา ต่อไป มี ว่า จำเลย จะ ต้อง รับผิด ต่อ โจทก์ เพียงใด ข้อเท็จจริงได้ความ จาก คำเบิกความ ของ โจทก์ ว่าการ เก็บ สมุดเช็ค นั้น โจทก์ เก็บ ไว้ใน ลิ้น ชัก โต๊ะ ทำงาน ที่ บ้าน โดย ใส่ กุญแจ ไว้ เมื่อ จะ ใช้ ก็ จะ ให้ นางสาว อุบลรัตน์ บุตรสาว เป็น ผู้ เขียน เมื่อ โจทก์ ตรวจสอบ ถูกต้อง แล้ว จึง ลงลายมือชื่อ โจทก์ เพิ่ง มา ทราบ จาก จำเลย ว่า เงิน ใน บัญชี ไม่พอ จ่ายตามเช็ค ตรวจสอบ แล้ว ทราบ ว่า มี ผู้นำ เช็ค ฉบับพิพาท ไป ปลอม ลายมือชื่อโจทก์ เบิกเงิน ไป โจทก์ จึง ไป แจ้งความ เป็น หลักฐาน ไว้ แต่ ตาม ทางนำสืบของ โจทก์ ไม่ปรากฏ ว่า เช็ค นั้น หาย ไป อย่างไร ถูก คนร้าย เอาไป ใน ลักษณะ ไหนกุญแจ โต๊ะ ถูก งัด แงะ หรือไม่ เป็น การ กล่าวอ้าง ลอย ๆ ปราศจากพยานหลักฐาน สนับสนุน พฤติการณ์ ส่อ ไป ใน ลักษณะ ที่ ผู้ เอา เช็ค ไปเอาไป ได้ อย่าง ง่าย ๆ อัน ถือได้ว่า โจทก์ ก็ เป็น ผู้ ละเลย ไม่ ระมัดระวังเก็บรักษา สมุดเช็ค ของ ตน ไว้ ด้วย ความ รอบคอบ จึง มี ส่วน ก่อ ให้ เกิด ความเสียหาย ด้วย แม้ จำเลย จะ มิได้ ให้การ ต่อสู้ ไว้ ว่า โจทก์ จะ ต้อง ร่วมรับผิด ด้วย ก็ ตาม แต่ หนี้ อัน เกิดจาก การ ละเมิด ที่ จะ ต้อง ใช้ ค่าสินไหมทดแทน แก่ ฝ่าย ผู้เสียหาย มาก น้อย เพียงใด นั้น ต้อง อาศัย พฤติการณ์เป็น ประมาณ โดย ถือ ความเสียหาย ที่ เกิดขึ้น ว่า ฝ่ายใด เป็น ผู้ ก่อยิ่งหย่อน กว่า กัน เพียงไร กรณี นี้ โจทก์ จำเลย ต่าง ก็ ขาด ความระมัดระวังด้วยกัน ศาลฎีกา เห็นสมควร กำหนด ให้ จำเลย รับผิด ต่อ โจทก์ เป็น เงิน147,000 บาท ที่ ศาลล่าง ทั้ง สอง พิพากษา มา นั้น ศาลฎีกา ไม่เห็น พ้อง ด้วยฎีกา ของ จำเลย ฟังขึ้น บางส่วน "
พิพากษาแก้ เป็น ว่า ให้ จำเลย ชำระ เงิน 147,000 บาท พร้อม ด้วยดอกเบี้ย ใน อัตรา ร้อยละ เจ็ด ครึ่ง ต่อ ปี ของ ต้นเงิน จำนวน ดังกล่าว นับแต่วันที่ 25 กันยายน 2532 เป็นต้น ไป จนกว่า จะ ชำระ เสร็จ
( อร่าม หุตางกูร - ไพศาล รางชางกูร - สมพล สัตยาอภิธาน )
หมายเหตุ
การฝากเงินไว้กับธนาคารนั้นผู้เคยค้ากับธนาคารมีความผูกพันกันตามมูลสัญญาลักษณะฝากทรัพย์หากเป็นการฝากประเภทถอนโดยใช้เช็คก็ต้องนำบทบัญญัติลักษณะตั๋วเงินเช่นเรื่องสิทธิหน้าที่อำนาจของธนาคารตั๋วเงินปลอมตั๋วเงินถูกลักและตั๋วเงินหายมาใช้บังคับด้วยแม้เงินที่ผู้เคยค้าฝากไว้กับธนาคารตกเป็นกรรมสิทธิ์ของธนาคารตั้งแต่มีการฝากเงินแล้ว(คำพิพากษาศาลฎีกาที่450/2536)ธนาคารไม่มีหน้าที่ต่อผู้เคยค้าที่จะต้องใช้ความระมัดระวังในการรักษาเงินดังกล่าวก็ตามแต่การฝากเงินทำให้ผู้เคยค้ามีสิทธิที่จะถอนเงินฝากได้ตามจำนวนในบัญชีของตนที่ธนาคารการที่ธนาคารประมาทเลินเล่อในการตรวจลายมือชื่อแล้วจ่ายเงินไปตามเช็คที่มีลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมและหักบัญชีเงินฝากของผู้เคยค้าย่อมทำให้เสียหายแก่สิทธิที่จะถอนเงินฝากของผู้เคยค้าการกระทำของธนาคารนอกจากเป็นการผิดสัญญาฝากทรัพย์แล้วยังเป็นการกระทำละเมิดด้วย(คำพิพากษาศาลฎีกาที่4161/2532)ซึ่งในระยะหลังนี้ผู้เคยค้าจะฟ้องธนาคารในฐานละเมิดเป็นส่วนใหญ่
การฟ้องในฐานละเมิดผู้เคยค้าต้องบรรยายฟ้องและนำสืบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือชื่อปลอมและธนาคารประมาทเลินเล่อในการตรวจลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายด้วยแต่ถ้าฟ้องโดยมูลสัญญาผู้เคยค้าคงต้องบรรยายฟ้องและนำสืบเพียงว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเป็นลายมือชื่อปลอมเท่านั้นเพราะมาตรา1008บัญญัติว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอมนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลยผู้ใดจะอ้างอิงแสวงสิทธิเพื่อทำให้ตั๋วหลุดพ้นไม่ได้ฉะนั้นธนาคารจ่ายเงินไปตามเช็คนั้นจึงจะหักบัญชีของผู้เคยค้ามิได้เว้นแต่จะได้ความว่าผู้เคยค้าอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทนอกจากนั้นอายุความในมูลละเมิดมีกำหนดเพียง1ปี(คำพิพากษาศาลฎีกาที่598/2535)แต่ถ้าฟ้องโดยมูลสัญญาจะมีอายุความถึง10ปี(คำพิพากษาศาลฎีกาที่4637/2536)อย่างไรก็ดีผู้หมายเหตุเห็นว่าเมื่อฟ้องโจทก์ในฐานละเมิดมีข้อความสมบูรณ์ที่จะเป็นฟ้องในมูลสัญญาได้ด้วยศาลย่อมยกเอากฎหมายในมูลสัญญามาปรับแก่คดีได้
พฤติการณ์ที่ทำให้ผู้เคยค้าตกอยู่ในฐานต้องตัดบทมีหลายประการการประมาทเลินเล่อเก็บสมุดเช็คไว้ไม่ดีเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้เช็คไปปลอมลายมือชื่อผู้เคยค้าสั่งจ่ายเช็คมาเบิกเงินจากธนาคารไปก็ถือว่าผู้เคยค้าเป็นผู้ต้องตัดบทประการหนึ่งซึ่งธนาคารมีสิทธินำจำนวนเงินในเช็คไปหักบัญชีผู้เคยค้าได้(คำพิพากษาศาลฎีกาที่2272/2534)อนึ่งปัจจุบันคำขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันของธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่จะมีข้อความกำหนดทำนองว่าในกรณีเช็คของผู้เคยค้าซึ่งยังมิได้สั่งจ่ายได้สูญหายไปเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้เช็คไปกระทำการใดๆอันก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารผู้เคยค้าตกลงยินยอมรับผิดชอบแต่ฝ่ายเดียวในอันที่จะชดใช้ค่าเสียหายแก่ธนาคารโดยธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบใดๆทั้งสิ้นข้อกำหนดเช่นนี้ย่อมอยู่ในบังคับของมาตรา373ที่ว่าความตกลงที่ทำไว้ล่วงหน้าเป็นข้อความยกเว้นมิให้ลูกหนี้ต้องรับผิดเพื่อความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของตนย่อมเป็นโมฆะฉะนั้นถ้าธนาคารจ่ายเงินไปด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงธนาคารจะอ้างข้อตกลงดังกล่าวเพื่อปฏิเสธความรับผิดของตนไม่ได้(คำพิพากษาศาลฎีกาที่4161/2532)คำพิพากษาศาลฎีกาที่หมายเหตุนี้เป็นเรื่องธนาคารประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงเช่นเดียวกันแต่ศาลฎีกาวินิจฉัยไปในทางแปลความสัญญาว่าข้อตกลงในคำขอเปิดบัญชีนี้จะใช้บังคับได้ต่อเมื่อธนาคารจ่ายเงินไปโดยสุจริตและใช้ความระมัดระวังตามสมควรเมื่อธนาคารประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงจึงไม่ใช้บังคับอย่างไรก็ดีศาลฎีกาได้ใช้มาตรา442ลดค่าสินไหมทดแทนที่ธนาคารต้องจ่ายลงเพราะผู้เคยค้ามีส่วนผิดด้วยเห็นว่าการวินิจฉัยให้มีผลว่าเมื่อทั้งสองฝ่ายมีส่วนผิดต่างต้องรับผิดในความเสียหายตามส่วนก็มีเหตุผลให้เห็นว่าเป็นไปตามความเป็นธรรมและอาจนำไปใช้กับกรณีโจทก์ฟ้องในมูลผิดสัญญาโดยใช้มาตรา223ลดค่าเสียหายลงด้วยแต่ในกรณีธนาคารประมาทเลินเล่อไม่ถึงกับร้ายแรงน่าจะต้องแปลว่าข้อตกลงในคำขอเปิดบัญชีใช้บังคับให้ผู้เคยค้ารับผิดแต่ฝ่ายเดียวได้จึงจะถูกต้องตามเจตนาที่แท้จริงของคู่กรณีโดยเฉพาะธนาคารผู้ร่างข้อตกลงนั้นและชอบด้วยเจตนารมณ์ของบทบัญญัติมาตรา373
จากคุณ |
:
ขุนนนท์
|
เขียนเมื่อ |
:
8 ก.ค. 54 19:45:18
|
|
|
|
|