|
[เพิ่มเติม สำหรับท่านที่ยังไม่ทราบวิธีการคำนวณ IRR] วิธีการคำนวณ IRR จะใช้หลักการพื้นฐาน คือ ค่าเงินอนาคต = ค่าเงินปัจจุบัน / (1 + อัตราเงินเฟ้อ)^ปี ; สัญลักษณ์ ^ แทนเครื่องหมายยกกำลัง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าอัตราเงินเฟ้อเท่ากับ 3% ต่อปี เงิน 10,000 บาทของท่าน ถ้าผ่านไป 10 ปี จะมีค่า = 10000 / (1+0.03)^10 = 7441 บาท การคิดดอกเบี้ยของประกันชีวิตก็ใช้หลักการนี้ครับ ผมจะยกตัวอย่างเช่นประกันชีวิตแผน Top Saver 10/4 ของบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต ให้เราจ่าย 4 ปีๆละ 100,000 บาท คือจ่ายตั้งแต่ปีที่ 0 ถึงปีที่ 3 แล้วรอรับเงินในปีที่ 10 จำนวน 550,000 บาท ถ้าผมให้ตัวแปร i คือดอกเบี้ยหรืออัตราเงินเฟ้อ ผมจะได้สมการของ เงินที่จ่ายและเงินที่รับเทียบค่ากับ ณ ปัจจุบันคือ เงินที่จ่ายทั้งหมด = (100000 / (1 + i)^0) + (100000 / (1 + i)^1) + (100000 / (1 + i)^2) + (100000 / (1 + i)^3) เงินที่รับทั้งหมด = 550000 / (1 + i)^10 ถ้าผมแทน i = 3% ซึ่งเป็นอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ย จะได้ผลลัพธ์คือ เงินที่จ่ายทั้งหมด = 382,861 บาท เงินที่รับทั้งหมด = 409,252 บาท กำไรจากแผนประกันนี้คือ 409252 382861 = 26,291 บาท หมายความว่า ถึงแม้อัตราเงินเฟ้อ 3% ต่อปี เราก็ยังคงได้กำไร 26,291 บาท แล้วท่านที่คืนภาษีหล่ะ เขาจะได้กำไรเท่าไหร่ ยกตัวอย่างกรณีของผม ผมสามารถเอาเบี้ยประกันชีวิตแผนนี้ ไปลดหย่อนภาษีได้ 20% ก็เหมือนกับว่า ผมจ่ายเบี้ยแค่ 80% ของยอดทั้งหมด ผมจะได้สมการของ เงินที่จ่ายและเงินที่รับเทียบค่ากับ ณ ปัจจุบันคือ เงินที่จ่ายทั้งหมด = (80000 / (1 + i)^0) + (80000 / (1 + i)^1) + (80000 / (1 + i)^2) + (80000 / (1 + i)^3) เงินที่จ่ายทั้งหมด = 306,289 บาท กำไรจากแผนประกันนี้คือ 409252 306289 = 102,963 บาท หมายความว่า ถึงแม้อัตราเงินเฟ้อ 3% ต่อปี เราก็ยังคงได้กำไรจากดอกเบี้ยประกันรวมกับการคืนภาษี 102,963 บาท ที่ผมแสดงวิธีการคำนวณข้างต้น เป็นการแทนค่าตัวแปร i ลงไปเลย เพื่อจะหากำไรขาดทุนภายใต้อัตราเงินเฟ้อค่าต่างๆ แต่ถ้าผมอยากจะหาว่า แผนประกันสะสมทรัพย์ตัวนี้ ให้อัตราดอกเบี้ย(IRR)กี่ % ต่อปี วิธีการคำนวณจะใช้หลักการคือ ผมจะต้องหาค่า i ที่ทำให้สมการข้างล่างเป็นจริง คือ เงินที่รับทั้งหมด = เงินที่จ่ายทั้งหมด หรือ เงินที่จ่ายทั้งหมด เงินที่รับทั้งหมด = 0 ซึ่งสมการของแผนประกันสะสมทรัพย์ตัวนี้ จะเป็นดังต่อไปนี้ (100000 / (1 + i)^0) + (100000 / (1 + i)^1) + (100000 / (1 + i)^2) + (100000 / (1 + i)^3) (550000 / (1 + i)^10) = D (ผมจะต้องหาค่า i ที่ทำให้ D=0) ถ้าเห็นสมการแล้วก็อย่าเพิ่งตกใจนะครับ ไม่จำเป็นต้องย้ายข้าง ถอดรากใดๆทั้งสิ้น เนื่องจากในโปรแกรม MS Excel จะมีส่วนที่เรียกว่า Goal Seek ซึ่งเพียงแค่เราอ้างอิงตัวแปรต่างๆไว้ไว้ในเซลต่างๆอย่างเป็นระเบียบแล้ว เราก็สามารถหาค่า i ที่ทำให้ D=0 ได้เลย ผลลัพธ์คือแผนประกันสะสมทรัพย์ตัวนี้ให้ดอกเบี้ย 3.807% ต่อปีครับ (ยังไม่รวมคืนภาษี)
จากคุณ |
:
ปริญญา (pnakhamin)
|
เขียนเมื่อ |
:
24 ส.ค. 54 23:24:23
|
|
|
|
|