เรื่องเล่าของนายเก่งเงิน ตอน เกษียณอย่างมีความสุข
|
|
เกษียณอย่างมีความสุข Posted on September 8, 2011 by Moneydee
ในที่สุดก็ใกล้เข้าโค้งสุดท้ายของปี 2554 กันอีกแล้วนะครับ ทำให้คิดได้ว่าวันเวลาผ่านไปไวจริงๆ แป๊บเดียวตัวเลขอายุก็จะเพิ่มขึ้นอีกแล้ว ผมคิดว่าตอนนี้ใครที่ยังไม่ได้คิดวางแผนการเงินของตัวเองเลยคงต้องเริ่มเดินหน้ากันอย่างจริงจังได้แล้วล่ะครับ ถ้าปล่อยไปเรื่อยๆ มีข้ออ้างๆ กันต่อไปเรื่อยๆ แป๊บเดียวเมื่อถึงวันที่เรามีความสามารถในการหารายได้ ได้น้อยลงแล้วจะมีปัญหาเอานะครับ
วันนี้ผมอยากให้เราลองมาจินตนาการกันถึงวันที่ไม่ต้องทำงานอีกต่อไปหรือ เกษียณ ไงครับ ต้องบอกว่าเดี๋ยวนี้คนหนุ่มๆ ยุคใหม่มีความคิดในการเกษียณออกจากงานประจำกันตั้งแต่อายุที่น้อยลง ถ้าเป็นแต่ก่อนก็ 60 ปี แต่เท่าที่ผมได้ลองคุยๆ กันกับน้องๆ เพื่อนๆ มีเยอะที่เดียวครับทีอยากเกษียณตั้งแต่ 40 ปลายๆ เพราะอยากเราเวลาไปทำในสิ่งที่ชอบบ้าง หรืออยู่กับครอบครัวได้อย่างเต็มที่บ้าง เอ๊ะ
. แล้วเราจะเราเงินที่ไหนใช้ล่ะเมื่อเราออกจากงานประจำแล้ว และความคาดหวังในการใช้ชีวิตหลังเกษียณจะเป็นยังไง หรูหราฟูฟ่า ได้อยู่หรือเปล่าหรือต้องอยู่แบบมัธยัสถ์สุดๆ ผมว่าคุณอยากจะใช้ชิวิตแบบไหนหลังเกษียณ คุณสามารถเลือกได้แต่ลงต้องวางแผนและลงมือทำกันตั้งแต่ตอนนี้แล้วล่ะครับ อ้อ
.อีกอย่างถ้าใครคิดว่าจะไว้รอพึ่งลูกหลานตอนแก่แล้วล่ะก็ ผมว่าให้มีเผื่อเหลือไว้ดีกว่าครับอย่างน้อยเราเองก็ไม่เป็นภาระให้ลูกหลาน นอกจากนั้นบางที่เรายังจะช่วยสนับสนุนเขาไปติดลมบนก่อนได้อีกซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้น่าจะดีกว่ามากมายจริงมั้ยครับ
ที่นี้เรามาดูเราลองมาดูวิธีคิดกันซักหน่อยว่าจะคำนวณเงินเก็บและการวางแผนการเงินสำหรับชีวิตหลังการเกษียณกันอย่างไร
จำนวนเงินที่ควรมีหลังเกษียณ = 70% ของจำนวนเงินที่ใช้จ่ายต่อปีในปัจจุบัน X จำนวนปีที่คาดว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณ
ตัวอย่างเช่น
สาธุตั้งใจจะเกษียณตอนอายุ 55 ปี และคาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณอายุไปอีก 25 ปี ถ้าสาธุ มีค่าใช้จ่ายปัจจุบัน 50,000 บาทต่อเดือน ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณของเพลินใจจะเท่ากับ 35,000 บาทต่อเดือน(70% x 50,000) หรือประมาณ 420,000 บาทต่อปี จากนั้นก็นำไปคูณกับจำนวนปีที่คาดว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุ ซึ่งก็คือ 25 ปี นั่นหมายความว่าสาธุควรมีเงินประมาณ 10,500,000 บาท ตอนอายุ 55 ปี (420,000 x 25) ซึ่งก็ถือว่าเป็นจำนวนเงินที่ไม่น้อยเลยทีเดียว
อันนี้เป็นการคำนวณอย่างหยาบๆ นะครับแต่ในชีวิตจริงคนเรายังมีรายละเอียดที่แตกต่างกันไปทั้งสุขภาพกาย ภาระต่างๆ ในอนาคตที่อาจจะเกิดขึ้น อัตราเงินเฟ้อ รูปแบบการใช้ชีวิตที่ต้องการ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะทำให้เรามีต้นทุนในชีวิตหลังเกษียณไม่เหมือนกัน
ที่นี้เราลองมาดูแหล่งที่มาของรายได้เพิ่มเติมที่คุณจะได้มาหลังเกษียณมีอะไรบ้าง
กองทุนประกันสังคม
หากเราจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมา 15 ปี พออายุ 55 ปี ก็จะได้รับเงินบำนาญชราภาพ ประมาณ 3,000 บาทต่อเดือน คิดจากเพดานเงินเดือนสูงสุด 15,000 บาท ตามข้อกำหนดของกองทุน และถ้าจ่ายสมทบเกินกว่า 15 ปี ก็จะได้โบนัสอีกปีละ 1.5% สมมติเราจ่ายสมทบมา 30 ปีก่อนเกษียณ จะได้โบนัส 15 ปีหรืออีก 3,375 บาท รวมเป็น 6,375 บาทต่อเดือน ซึ่งยังไม่ได้ปรับด้วยเงินเฟ้อ
กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
กรณีเป็นข้าราชการที่เป็นสมาชิกกองทุน จะได้รับเงินบำนาญ = (เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x อายุราชการ)/ 50 แต่ต้องไม่เกิน 70% ของเงินเดือนเฉลี่ย หรืออาจเป็นเงินบำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x อายุราชการ ตามเงื่อนไขทางราชการ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ที่ลูกจ้างและนายจ้างสมัครใจร่วมกันสมทบเข้ากองทุน ถ้าเราเริ่มทำงานและสะสมเงินเข้ากองทุนนี้ ตั้งแต่อายุ 25 ปี โดยสะสม 3% ของเงินเดือน ถ้าได้เงินเดือน เดือนละ 20,000 บาท บริษัทขึ้นเงินเดือนปีละ 5% นายจ้างสมทบให้ 3% และกองทุนได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 4% เมื่ออายุ 60 ปี เราจะมีเงินประมาณ 1.2 ล้านบาทจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
แต่เงินที่ได้จากแหล่งต่างๆ เหล่านี้ก็ยังอาจจะไม่พอเพราะเรายังไม่ได้คิดถึงภาวะเงินเฟ้อในอนาคตที่จะเกิดขึ้นและเรื่องสุขภาพที่อาจจำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายฉุกเฉินหรือค่าใช้จ่ายในการรักษาหรืออื่นๆ ที่ไม่คาดฝันที่จำเป็นต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเรายังต้องวางแผนการนำเงินไปลงทุน ซื้อประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพในรูปแบบที่เหมาะสมกับตัวเองไว้ด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มเงินให้หงอกเงยหรือแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นได้
การลงทุนในระยะยาวสำหรับชีวิตหลังเกษียณที่นิยมพูดถึงกันบ่อยคือ กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า RMF ซึ่งจะช่วยสร้างวินัยในการลงทุนให้เราได้ เพราะเป็นการลงทุนระยะยาวที่ต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง และเรายังได้รับประโยชน์ทางภาษีในช่วงที่ลงทุนอีกด้วย ปัจจุบันมีกองทุนรวม RMF มากมาย ให้เราเลือกได้ตามนโยบายการลงทุนที่ต้องการ
การทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ แม้ว่าผลตอบแทนที่แท้จริงจากการทำประกันชีวิตจะไม่มากมายนัก แต่การทำประกันชีวิตแบบระยะยาว มีข้อดีก็คือ สร้างวินัยทางการเงินให้เราได้ มีให้เลือกหลายแบบ มีวงเงินคุ้มครองกรณีเสียชีวิต และยังได้ประโยชน์ในทางภาษีด้วย
งั้นเรามาดูสัดส่วนการออมที่มาตรฐานไปแนะนำกันหน่อย
อายุที่เริ่มต้นออม เงินออมรายเดือน (%ของเงินเดือน) เริ่มทำงาน 39 ปี 10% 15% 40 49 ปี 20% 25% 50 54 ปี 45% 50% 55 59 ปี 80% 85%
จากคุณ |
:
นายเก่งเงิน
|
เขียนเมื่อ |
:
8 ก.ย. 54 22:32:17
|
|
|
|