|
key word ที่ 2 คือ "ขาย" แล้วเราจะ "ขาย" อะไรได้บ้างและต้องทำอย่างไร
"ขายอะไรได้บ้าง" หลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ขายชอร์ตได้ในปัจจุบัน คือหลักทรัพย์ใน SET100 หน่วยลงทุนอีทีเอฟและหลักทรัพย์ในตะกร้าของหน่วยลงทุนอีทีเอฟ (เช่น ถ้ามีหลักทรัพย์ใดที่ไม่อยู่ใน SET100 แต่อยู่ใน SET HD หลักทรัพย์นั้นก็สามารถขายชอร์ตได้)
"ต้องทำอย่างไร"
เมื่อยืมหุ้นมาได้แล้ว ก็สามารถมาขายในตลาดได้ โดยที่จะต้อง mark S เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่ารายการนี้คือการขายชอร์ตตามกฎ ตลท. และจะขายได้ไม่ต่ำกว่าราคาล่าสุด ตามกฎ zero plus tick เนื่องจากมีการ flag ชัดเจนว่าเป็นรายการขายชอร์ต ทาง ตลท. จึงสามารถรวบรวมและเปิดเผยข้อมูลขายชอร์ตไว้ในเว็บไซท์ โดยไปที่
เว็บตลาดหลักทรัพย์หน้า home page -> ข้อมูลการซื้อขาย -> ตราสารทุน -> ข้อมูลธุรกรรมขายชอร์ต
แต่ทว่าก่อนที่เราจะยืมของจากใครได้นั้น เราก็ต้องวางทรัพย์สินค้ำประกัน หรือในธุรกรรม SBL เราจะเรียกว่า หลักประกัน เพื่อให้แน่ใจว่า ต่อให้ผู้ยืมไม่นำหลักทรัพย์มาส่งคืนภายในระยะเวลาที่กำหนด เราก็จะสามารถยึดหลักประกันนี้ไปใช้ได้ หลายคนอาจจะบอกว่า แต่ราคาหุ้นผันผวนมากนะ จะแน่ใจได้ยังไงว่าหลักประกันที่มีอยู่จะเพียงพอ ด้วยเหตุนี้เอง หลักประกันที่ถูกเรียกมานั้นจึงถูก "Mark-to-market" ทุกสิ้นวัน เพื่อให้หลักประกันที่มีอยู่มีมูลค่ามากกว่าหรือเท่ากับหลักทรัพย์ที่ยืมไปอยู่เสมอ
ในกรณีของนักลงทุนรายย่อย กลต. ได้กำหนดว่า จะต้องวางหลักประกันอย่างน้อย 150% ของมูลค่าหลักทรัพย์ สมมติว่าเราจะยืมหุ้น A 100 หุ้น ซึ่งมีมูลค่าเท่ากับ 10,000 บาท ณ วันที่ยืม (T) เราก็ต้องวางเงิน 5,000 บาท เพื่อจะยืมหุ้น และในวัน T+3 ที่ส่งมอบ เงินค่าขายชอร์ตก็จะถูกยึดเป็นหลักประกันในส่วนที่เหลือ กลายเป็น 15,000 บาท เท่ากับอัตราหลักประกันที่ทาง กลต. กำหนด
ดังนั้น การยืมหุ้นไปขายชอร์ตนั้น มีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง ซึ่งมาจาก 1. ค่าธรรมเนียมการยืมหลักทรัพย์ ซึ่งอยู่ในช่วงตั้งแต่ 3% - 6% 2. ค่าเสียโอกาสของหลักประกันเงินสดที่ต้องวางเพิ่ม 50% ณ วันที่ยืม
ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าเรายืมข้าม corporate action เช่น XD ผู้ยืมจะต้องชดเชยเงินปันผลให้แก่ผู้ให้ยืม ซึ่งถ้าเราขายไปก่อนหน้านี้แล้ว เราก็ต้องจ่ายเงินปันผลทดแทน (manufactured dividend) ในรูปแบบเงินสด
จากคุณ |
:
BaTT~TaBB
|
เขียนเมื่อ |
:
29 ก.ย. 54 09:34:42
|
|
|
|
|