|
จุดประสงค์ที่ไม่ได้มีการเก็บภาษีการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ตั้งแต่แรก คือการเปิดช่องทางให้นักลงทุน สามารถเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ได้มากขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ในการลงทุนให้กับบริษัทจดทะเบียนสามารถระดมทุนได้ง่ายมากขึ้น
หากมีการเก็บภาษีส่วนต่างราคาหุ้นในการซื้อขายแน่นอนเป็นผลดีกับรัฐบาลได้กำไรเพิ่ม แต่ไม่เป็นผลดีต่อการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ เพราะเมื่อพวกเขารู้ว่าเก็บภาษียิบย่อย ไม่ว่าจะปันผลก็เก็บ ส่วนต่างก็เก็บ อะไรก็เก็บ นักลงทุนคงจะเลือกที่จะไม่ลงทุนในตลาดหุ้นไทย
พวกรายย่อยคงไม่ใช่เป้าหมายของการระดมทุนสักเท่าไหร่ ที่เป็นเป้าหมายคือนักลงทุนรายใหญ่ กองทุน หรือต่างประเทศ ซึ่งจะมีเม็ดเงินมหาศาลในการช่วยระดมทุนให้กับบริษัทมหาชนได้ หากเราเก็บภาษี ยังไงก็ยังคงมีคนมาลงทุน แต่จะมีน้อยลง เพราะผู้ลงทุนก็จะหันไปหาตลาดอื่น ซึ่้งได้ประโยชน์มากกว่าโดยไม่มีการหักภาษี ซึ่งมีตลาดหลักทรัพย์อื่นๆอีกมากมาย ที่ไม่เก็บภาษี ดังนั้นข้อนี้จึงเป็นข้อเสียของการเก็บภาษี หากเราเก็บภาษี เราได้เงินเพิ่มจริง แต่จำนวนผู้ลงทุน ก็จะน้อยลงไปอยู่ดี เพราะนักลงทุนก็จะหันไปหาตลาดอื่นซึ่งได้ผลตอบแทนที่มากกว่า
ถ้าจะเก็บจริงๆมันก็มีวิธีอยู่ไม่น้อยเหมือนกันเช่น
1. เก็บภาษีปันผลเพิ่มมากขึ้น 1.1 ปันผลที่ได้ต่ำกว่า 100,000 บาท เก็บ 10% เท่าเดิม สำหรับรายย่อยทั่วไป 1.2 ปันผล 100,001 - 500,000 บาท เก็บ 12% 1.3 ปันผล 500,001 - 2,000,000 บาทเก็บ 15% 1.4 ปันผล 2 ล้านบาทขึ้นไปเก็บ 20% ข้อกำหนดอื่นๆเช่น หากมีหลายบัญชีได้ปันผลรวมกันก็ต้องเสียตามอัตราระบุ ไม่ได้แยกตามรายบัญชี (เช่นบางคนเปิดบัญชีเอาไว้หลายที่และถือปันผลเอาต่ำกว่านั้นก็ให้เหมารวมในวันปิดสมุดทะเบียน) ฯลฯ
2. เก็บภาษีส่วนต่างราคาในการซื้อขายสุทธิหลังจากได้รับกำไรแล้ว ส่วนขาดทุนไม่เสีย 2.1 กำไรส่วนต่างต่ำกว่า 30% ไม่เก็บภาษี เพื่อส่งเสริมสภาพคล่องตลาดหุ้นว่างั้น 2.2 กำไรส่วนต่าง 30 - 50% เก็บภาษี 5% 2.3 กำไรส่วนต่าง 50% ขึ้นไป เก็บภาษี 7% กำไรส่วนต่างเช่น สมมติต้นทุนหุ้นซื้อมา 100,000 บาท ผ่านไป 3 วันมันขึ้นมา 140,000 ตอนขายจะได้กำไร 40,000 ก็หัก 5% ของ 40,000 เข้าไปเป็นของรัฐ ก็ว่าไป
อันนี้แค่ไอเดีย แต่คิดว่าในทางความเป็นจริงคงทำไม่ได้อยู่ดี เพราะถ้าทำมันคงไม่เป็นการส่งเสริมตลาดทุนอีกต่อไป
จากคุณ |
:
venezier
|
เขียนเมื่อ |
:
2 ต.ค. 54 22:05:41
|
|
|
|
|