|
คาดทรุดยาวถึงปี'55-หวั่นหนี้นอกระบบพุ่ง ศก.ไทยเสียหาย1ล้านล้าน หอการค้าประเมินน้ำท่วมครั้งนี้ ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเสียหายหนักสุดรอบ 15 ปี มากกว่าวิกฤติต้มยำกุ้ง คาดเบื้องต้นเจ๊งกว่า 1 ล้านล้านบาท ส่งออกทรุดยาว ถึงไตรมาสในปีหน้า คนตกงานรวม 7 แสนคน หากรัฐเยียวยาช้า อาจทำให้ยอดหนี้นอกระบบพุ่งแตะ 30% ซึ่งเป็นเรื่องอันตรายต่อเศรษฐกิจ นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัย หอการค้าไทย กล่าวว่า สถานการณ์น้ำท่วม ที่เกิดขึ้นขณะนี้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยรุนแรงที่สุดในรอบ 15 ปี นับจาก ไทยต้องประสบกับปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ต้มยำกุ้งในปี 2540 และ วิกฤติต้มยำกุ้ง ในปี 2552 ที่เกิดวิกฤตการณ์ แฮมเบอร์เกอร์ ซึ่งวิกฤติต้มยำกุ้ง ภาคไฟแนนซ์ อุตสาหกรรม และอสังหาฯ มีปัญหา แต่เราก็มีภาคเกษตร รองรับ ส่วนวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ก็ส่งผลต่อการส่งออก แต่ส่วนอื่นๆ ยังดีอยู่ แต่น้ำท่วมครั้งนี้ ผลกระทบเกิดขึ้นในทุกกลุ่ม ทั้งภาคเกษตร ที่ เสียหาย 10 ล้านไร่ และ ประชาชนทั่วไป และคนทำงานที่รับจ้าง เป็นรายวัน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่ออัตราการ ว่างงานในระบบ1-3 แสนคน และเมื่อรวมการว่างงานแอบแฝง ที่เป็นการว่างงานชั่วคราว คาดว่าจะมีอัตราว่างงานถึง 6-7 แสนคน ขณะนี้มูลค่าความเสียหายที่ประเมิน เบื้องต้น จากการเสียโอกาสทางธุรกิจจากน้ำท่วม อยู่ที่ระดับ 350,000-450,000 ล้านบาท แต่หากรวมความเสียหายของทรัพย์สิน บ้านเรือนประชาชน และโรงงาน เครื่องจักรบางส่วน มูลค่าเสียหายจะอยู่ที่ 700,000 -1 ล้านล้านบาท ทั้งนี้หลังน้ำลดรัฐบาลจะต้องเข้ามา ดูแลในเรื่องของการจ้างงาน ราคาสินค้าและดูแล ให้มีปริมาณเพียงพอและการจ่ายเงินชดเชยให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำ ท่วมอย่างรวดเร็วเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจาก เศรษฐกิจจะมีสัญญาณชะลอตัว ตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2554 ไปจนถึง ไตรมาส 1 ปี 2555 และกว่าที่การส่งออกจะกลับมาส่งออกได้ ตามปกติอีกครั้งก็หลังเดือนเมษายน ปี 2555 เนื่องจากหากรัฐบาลดำเนินมาตรการฟื้นฟูเยียวยาล่าช้าจะทำให้ประชาชน หันไปกู้ยืมเงินนอกระบบมากขึ้น และการดูแลสินเชื่อของรัฐบาลจะลำบากมากขึ้น เพราะปัจจุบันรัฐบาลเน้นการดูแลภาคอุตสาหกรรมเป็นหลัก โดยสัดส่วนหนี้นอกระบบของประชาชน ขณะนี้ คิดเป็น 20% ของสินเชื่อทั้งระบบ และหากรัฐบาลไม่เร่งดำเนินการเรื่อง micro finance จะทำให้สัดส่วนหนี้นอกระบบ สูงขึ้น และถ้าเกิน 30% จะเป็นอันตรายต่อ ระบบเศรษฐกิจ นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้า ไทย เปิดเผยผลสำรวจ ผลกระทบน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,224 ตัวอย่างทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 1-5 พ.ย. ที่ผ่านมา พบว่าประชาชนมีความพอใจกับการให้ข้อมูลข่าวสารน้อยที่สุด รองลงมาคือการประกาศเตือนภัย และการจ่ายเงินชดเชย ด้านนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจไทยว่า เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญหน้ากับความเสี่ยงที่สูงขึ้นมาก ทั้งจากภาวะน้ำท่วมในประเทศไทย ที่รุนแรงและขยายวงกว้างขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้ง ความไม่แน่นอนจากเศรษฐกิจสหรัฐ และกลุ่มสหภาพยุโรป ทั้งนี้ ภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ซึ่งเพิ่ง ฟื้นตัวจากปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบในการ ผลิตจากภัยแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในญี่ปุ่น เป็นภาคที่จะได้รับผลกระทบรุนแรงอีกครั้ง จาก ปัญหาโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ และโรงงาน ประกอบรถยนต์ ที่ถูกน้ำท่วม ขณะที่ในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ การใช้จ่ายและการลงทุน จะยังคงชะลอตัวต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 3 สำหรับปัจจัยจากต่างประเทศนั้น จะกระทบเศรษฐกิจไทย เช่น ผลกระทบต่อการ ส่งออกของไทยในไตรมาสที่ 4 และในปีหน้ามีแนวโน้มชะลอตัว นอกจากนั้น ความผันผวนของ ตลาดการเงินโลก และการเข้าออกที่รวดเร็วของ เงินทุนเคลื่อนย้าย ซึ่งส่งผลต่อค่าเงินบาท
จากคุณ |
:
teety
|
เขียนเมื่อ |
:
9 พ.ย. 54 09:13:43
|
|
|
|
|