เอเชียอาจจะรอดในพายุเศรษฐกิจทั่วโลกลูกใหม่ จากไฟแนนซ์เอเชีย
|
|
http://www.financeasia.com/News/280857,asia-can-weather-the-global-storm.aspx
เอเชียอาจจะรอดในพายุเศรษฐกิจทั่วโลก
โดย รูเพิร์ต วอล์กเกอร์ | พฤศจิกายน 23, 2011
เอเชียกำลังเตรียมรับมือกับเศรษฐกิจโลกที่กำลังแย่ลง ตามรายงานจากสถาบันจัดอันดับฟิทช์ ที่ออกมาเตือนในสัปดาห์นี้
โดยทั่วไปแล้ว การค้าที่ดี ยอดเงินคงคลัง นโยบายทางเศรษฐกิจที่ยืดหยุ่น และความยืดหยุ่นของแต่ละประเทศในปี 2009 เป็นปัจจัยชี้วัดว่า ประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย ป้องกันเศรษฐกิจในประเทศของตัวเองได้เป็นอย่างดี จากวิกฤติเศรษฐกิจจากยุโรปและอเมริกาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
รายงาน -- "ประเทศธุรกิจใหม่ในเอเชีย จุดกดดันอธิปไตย"(“Emerging Asian sovereign pressure points”) -- ตั้งข้อสังเกตถึงแต่ละประเทศว่า ประเทศไทย มีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบจากการที่เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว และยังมีข้อจำกัดในการดำเนินนโยบายทางการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่มาก อินโดนีเซีย ได้บันทึกติดตามผลความเคลื่อนไหว ความยืดหยุ่นต่อแรงกระแทกของเศรษฐกิจโลก และมีการตอบสนองนโยบายที่มีประสิทธิภาพที่สุด
จีนและอินเดีย มีผลกระทบน้อยสุดต่อวิกฤติเศรษฐกิจที่อาจมาแบบช็อค แต่นโยบายและแผนเพื่อรับมือวิกฤติเศรษฐกิจแบบกะทันหันยังมีอยู่น้อย
ผลกระทบจากเศรษฐกิจที่อาจที่เลวร้ายลงฉับพลันในสภาพคล่องในตลาดทั่วโลก มีแนวโน้มที่จะทำร้าย อินโดนีเซีย, เกาหลี และมาเลเซียมากที่สุด แต่จะมีผลกระทบจำกัด ในจีน, ไต้หวันและฟิลิปปินส์
แต่วิกฤติที่จะเกิดขึ้น จะทำให้ประเทศในเอเชียหยุดหาเงินทุนจากภายนอกอย่างฉับพลัน
มีเพียงศรีลังกาและอินเดีย ที่ทำงบประมาณขาดดุล ด้วยยอดคงเหลือขั้นพื้นฐาน ของพวกเขาเอง (ยอดคงเหลือในบัญชีปัจจุบัน บวกสุทธิจากต่างประเทศที่เงินลงทุนไหลเข้าโดยตรง)"
การพิจารณารายงาน ได้มองที่ปัจจัยชี้วัดหลายตัว เพื่อประเมินความเป็นไปได้ ความเสี่ยง ศักยภาพของประเทศเอเชีย เครดิตความน่าเชื่อถือของผู้นำ ผู้ปกครองประเทศที่จะเสื่อมสภาพในอนาคต ผู้ปกครองประเทศที่จะที่เกิดขึ้นใหม่ เครดิตความคุ้มค่าของพวกเขา การเสื่อมสภาพเศรษฐกิจโลก และการแข่งขันในระบบการเงิน
อย่างไรก็ตามหน่วยงานที่ประเมินเน้นว่า ภาระผูกพันเหล่านี้ไม่มีผลในกรณีที่ปัจจัยพื้นฐานยังเป็นปกติ
ฟิทช์ ชี้ให้เห็นว่า ภัยคุกคามที่กำลังทำร้ายสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่แท้จริง สามารถตรวจสอบได้จากการเปิดกว้างทางการค้า และขนาดของการเบี่ยงเบนการขยายตัวของ GDP ปี 2009 ที่เบี่ยงเบนไปจากสถานการณ์ปกติ
เปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยการเติบโต 5 ปี 3 ประเทศที่เติบโตสูงสุดอย่างรวดเร็ว คือ มาเลเซีย มองโกเลียและไทย เปิดเสรีทางการค้าสูงสุด และจีดีพีได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ในปี 2008 และ 2009
ความสามารถของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ และความสามารถในการป้องกันความเสี่ยงจากเศรษฐกิจตกต่ำ ก็เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณา
อัตราดอกเบี้ยแท้จริงในปัจจุบันและระดับที่คาดการณ์ไว้ รวมทั้ง อัตราหนี้สาธารณะต่อจีดีพีของประเทศไทย เป็น 2 คีย์ ที่จะพิจารณามาตราการทางการเงินและความสามารถในการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทย
ส่วนอินโดนีเซีย มีหนี้สาธารณะต่อ GDP ต่ำ จึงยังสามารถวางนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจได้ง่ายกว่า รวมทั้ง สถานการณ์ปัจจุบัน การคาดการณ์แนวโน้มเชิงบวกในอนาคต รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ทำให้อินโดนีเซียยังเป็นแหล่งพักเงินได้
ส่วนไต้หวันก็ให้อัตราดอกเบี้ยจริงเป็นบวกด้วยเช่นกัน แต่ในประเทศไทยและเกาหลีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงเป็นเชิงลบ แสดงให้เห็นว่าการกระตุ้นทางการเงิน ในทั้งสองประเทศอาจมีข้อจำกัด
ในขณะที่อินเดียและศรีลังกา อาจมีข้อจำกัดสูงสุดในนโยบายการกระตุ้นทางการเงิน เนื่องจากทั้งสองประเทศ มีหนี้สาธารณะต่อ GDP สูง และมีอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ
แม้ตัวบ่งชี้วัดทางการเงินของจีนจะมีข้อจำกัดน้อย ทำให้งบดุลรัฐบาลจีนดูเหมือนแข็งแกร่ง แต่ความสามารถในการกระตุ้นทางเศรษฐกิจของจีนในอนาคตก็อาจมีข้อจำกัด เพราะต่างชาติกังวลในคุณภาพสินทรัพย์ของระบบธนาคารจีน ที่เป็นผลมาจากความพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2009-2010 ด้วยเครดิต
อย่างไรก็ดี "การเปิดกว้างทางการค้า" ไม่ได้อธิบายถึงผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจครั้งที่แล้วในปี 2009 ไว้อย่างชัดเจนนัก
โภคภัณฑ์
ความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์ยังเป็นเรื่องสำคัญ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงมีแนวโน้มจะส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออก จากภูมิภาคนี้ด้วย
ประเทศในเอเชียต่อไปนี้ ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ ดังนี้ อินโดนีเซีย (น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ, ถ่านหินและน้ำมันปาล์ม), มองโกเลีย (ถ่านหิน, ทองแดงและทอง), เวียดนาม (ข้าวและน้ำมัน) และ มาเลเซีย (น้ำมันและน้ำมันปาล์ม)
ใน ขณะที่ เกาหลี, อินเดีย, จีนและไต้หวัน จะได้รับผลประโยชน์มากที่สุดถ้าสินค้าโภคภัณฑ์ราคาตกลง เพราะประเทศเหล่านี้เป็นผู้นำเข้าสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ที่สำคัญ
สุด ท้าย -- และอย่างมองโลกในแง่ดีที่สุด -- ฟิทช์ตั้งข้อสังเกตว่า ยอดคงเหลือในบัญชีของแต่ละประเทศในปัจจุบัน เป็นตัวบ่งชี้ทั้งหมดว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์อย่าง 3ปีที่แล้วขึ้นอีก แต่ละประเทศจะสามารถรับมือกับสถานการณ์วิกฤติการเงินได้เป็นอย่างดี
ยกเว้น ศรีลังกาและอินเดียที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ส่วนประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ที่เหลือของเอเชียก็นั่งสบายๆ
http://www.financeasia.com/News/280857,asia-can-weather-the-global-storm.aspx
จากคุณ |
:
lovelypriest
|
เขียนเมื่อ |
:
23 พ.ย. 54 12:18:11
|
|
|
|