คิดได้ไงเนี่ย?งงเหมือนกัน
แต่ก็น่าสนใจดีนะคะ
ก็เลยลองไปคำนวณเล่น ๆ แบบงง ๆ
จากตารางลองมานั่งไล่คิดตามกันดูนะคะว่าใช้ได้หรือไม่?
สมมุติว่ามีทอง 10 บาทมูลค่า 260,000 บาทหรือเท่ากับบาทละ 26,000
นำทองไปจำนำ ณ เวลานี้ได้เงินประมาณบาทละ 22,000-23,300 บาท
ลองคำนวณที่เงินจำนำบาทละ 22,000 บาท
ทอง 10 บาทจะจำนำได้เงิน 220,000 บาท
จากนั้นนำเงิน 220,000 บาทไปซื้อทองใหม่บาทละ 26,000 บาท
เท่ากับจะได้ทองมาอีกประมาณ 7 บาท (7x26,000=182,000 บาท)
จากนั้นนำทอง 7 บาทไปจำนำจะได้เงินมา (7x22,000=154,000 บาท
จากนั้นนำเงิน 154,000 บาทไปซื้อทองใหม่บาทละ 26,000 บาท
เท่ากับจะได้ทองมาอีกประมาณ 6 บาท (6x26,000=156,000 บาท เพิ่มเงิน 2,000 ให้ลงตัว)
แล้วทำต่อเรื่อย ๆ ตามตาราง
จำนวนทองที่จะซื้อเพิ่มปัดเศษขึ้นลงหรือเพิ่มเงินเล็กน้อยให้ลงตัว
คำนวณได้สูงสุด 40 บาททองคำจากต้นทุน 10 บาททองคำ
หากต้องการได้ทอง 55 บาทต้องเพิ่มทุนซื้ออีก (ลองคำนวณดูเองนะคะ)
สมมุติว่า จขกท ซื้อทองและจำนำทองตามรายการในตารางได้ภายใน 1 สัปดาห์
คำนวณคร่าว ๆ ว่านำทองไปจำนำรวม 1 เดือนจะเสียดอกเบี้ยประมาณ 10,725 บาท
ในวันที่จะไปไถ่ถอนทอง 40 บาทต้องนำเงินต้น+ดอก=868,725 บาทเพื่อไถ่ถอน
ทอง 40 บาทต้นทุนรวม 1,040,000 บาท
ในกรณีที่ใน 1 เดือนทองขึ้นราคาไปถึงบาทละ 30,000 บาท
ทอง 40 บาทก็จะมีมูลค่า 1,200,000 บาท
แบบนี้ก็น่าจะได้กำไรนะเพียงเสียดอกเบี้ย 10,725 บาท/เดือน
ในทางกลับกันหากภายใน 1 เดือนทองราคาตกก็จะขาดทุน
แต่ถ้าเรามองว่าทองราคาจะพุ่งทำนิวไฮตอนตรุษจีน
เราก็อาจจะยังไม่ต้องรีบหาเงินสดจำนวน 8 แสนกว่าไปไถ่ถอน
แต่ปล่อยทิ้งไว้ที่โรงรับจำนำอีกสัก 2 เดือนและเสียดอกเบี้ยเพิ่มอีก 2 หมื่นกว่า
หลังตรุษจีนหากทองพุ่งทำนิวไฮไป 3-4 หมื่นจริง ๆ ก็รวยแระ
อิอิ คิดเล่น ๆ แตุ่้คนที่เก่งคำนวณและใช้สูตร excel เก่ง ๆ
ลองไปคำนวณจริง ๆ จัง ๆ อาจจะพบคำตอบ
ที่ช่วยให้ตัดสินใจว่าคุ้มค่ากับการทำจริง ๆ หรือไม่อีกทีหนึ่งดีกว่านะคะ
เพราะข้างต้นคิดคำนวณคร่าว ๆ และเข้าใจว่าตัวเลขอาจจะเพี้ยน
ท่านใดมีวิธีคิดที่ถูกต้องช่วยนำมาแชร์ด้วยนะคะ
เผื่อว่าจะได้นำไปใช้บ้างไรบ้าง
อิอิ