Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
+++ นี่คือเหตุผล ที่ทำให้ญี่ปุ่น "ทุ่มหมดหน้าตัก" ในการดูแลปัญหาน้ำท่วมในไทย ใช่ไหมครับ +++ ติดต่อทีมงาน

เคยมีใคร แปลกใจกับญี่ปุ่นไหมตั้งแต่วันแรกน้ำท่วมประเทศเรา

แล้วออกมาบอกว่า ไทยสามารถเอาเครดิตเงินกู้จำนวนเท่าไหร่ก็ได้จากญี่ปุ่น
เพื่อจะเอามาแก้ไขปัญหาน้ำท่วมไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อ ๆ ไปถึง 100 ปีข้างหน้า

+++++++++



ผมว่าตอนนี้เฉลยแล้วครับ
กับข่าวนี้

++++++++

วันที่ 5 ธันวาคม 2554 10:00

เอสเอ็มอีญี่ปุ่นหนีเยนแข็ง ย้ายฐานผลิตมาไทย

http://goo.gl/25WdB

สถานการณ์โลก ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) รายหลักๆ ของญี่ปุ่น กำลังย้ายฐานการผลิตมายังประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่าง เวียดนามและไทย ในอัตราที่เร็วกว่าที่เคยเป็นมา

การ เคลื่อนไหวที่ไม่ได้สร้างความประหลาดใจให้กับผู้เชี่ยวชาญมากนัก เมื่อพิจารณาจากค่าเงินเยน ที่แข็งค่าขึ้นเป็นประวัติการณ์ และการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคดังกล่าว ที่ได้แรงขับเคลื่อนจากความต้องการภายในท้องถิ่น

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ที่ช่วยเร่งการย้ายฐานดังกล่าว ซึ่งก็คือ ความช่วยเหลืออย่างมากมาย ที่มาจากบริษัทเทรดดิ้งสัญชาติญี่ปุ่นด้วยกันนั่นเอง

เหล่าบริษัทเทรดดิ้งญี่ปุ่น มีบทบาทสำคัญอย่างเห็นได้ชัดในทุกแง่ของการเคลื่อนไหว ที่อาจให้คำจำกัดความได้ว่าเป็น การย้ายฐานครั้งใหญ่ ไล่ตั้งแต่เรื่องโครงสร้างพื้นฐานของโรงงาน ไปจนถึงโลจิสติกส์ และแม้กระทั่งจัดหาบริการรายวันให้กับลูกจ้างญี่ปุ่น ที่ต้องส่งของไปยังโรงงานใหม่

กระแส ย้ายฐานการผลิตดังกล่าว เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นิคมอุตสาหกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขยายตัวขึ้นราว 8 หรือ 9 เท่า เช่นเดียวกับความกังวลที่ทวีคูณขึ้น ถึงความอ่อนแอของอุตสาหกรรมญี่ปุ่น ที่มีอยู่ให้เห็นอย่างแพร่หลายตามสื่อท้องถิ่นต่างๆ ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา

หนึ่ง ในบริษัทที่เข้ามาตั้งฐานการผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ โทพี ฟาสเทนเนอร์ส จากเมืองมัตสึโมโต เขตนากาโน ที่เตรียมจะเปิดโรงงานผลิตในเวียดนาม โดยเรื่องที่ทำให้โทพีตัดสินใจมุ่งหน้าลงมาหาแหล่งผลิตใหม่ทางตอนใต้ของ ประเทศ คือ ข้อเสนอที่จะให้การสนับสนุนจากสุมิโตโม คอร์ป บริษัทเทรดดิ้งยักษ์ใหญ่ในบ้าน 2 ซึ่งกำลังก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมธั่ง ลอง แห่งที่ 2 บริเวณชานกรุงฮานอย อันเป็นสถานที่ที่โทพีกำลังมุ่งหน้าไปลงทุน

สุ มิโตโมจัดหาโครงสร้างพื้นฐานด้านการระบายน้ำให้ และนิคมก็อยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้าด้วย ซึ่งหมายความมีความเสี่ยงเรื่องไม่มีไฟฟ้าใช้น้อยมาก โมริโอ โอตะ ประธานบริหารโทพี กล่าว

ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายนี้ ตัดสินใจที่จะไปตั้งโรงงานใกล้กับกรุงฮานอยตั้งแต่เมื่อปลายปีที่แล้ว รับกระแสคาดการณ์ถึงการผลิตรถจักรยานยนต์ในเวียดนามที่จะเพิ่มมากขึ้น โดยในเบื้องต้นนั้น ความสนใจของโทพีมุ่งตรงไปยังนิคมอุตสาหกรรมที่รัฐบาลเวียดนามเป็นผู้ลงทุนสร้าง แต่ที่สุดแล้วก็เลือกนิคมของสุมิโตโม เพราะข้อได้เปรียบในเรื่องสาธารณูปโภคพื้นฐาน

ทาง ด้านสุมิโตโม ประเมินว่า จะสามารถขายพื้นที่เกือบ 963 ไร่ในนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าว ที่เปิดตั้งแต่เมื่อปี 2551 ได้ทั้งหมด และขณะนี้วางแผนที่จะขยายพื้นที่ของนิคมให้ได้กว่า 1,300 ไร่ โดยในปัจจุบัน มีบริษัทญี่ปุ่นมากกว่า 20 แห่ง ทำข้อตกลงที่จะย้ายเข้ามาลงทุนในนิคมแห่งนี้แล้ว

ข้อมูล จาก สุมิโตโม บ่งชี้ว่า เมื่อราวทศวรรษ 90 นิคมอุตสาหกรรม ที่มีบริษัทเทรดดิ้งเป็นผู้ลงทุนก่อสร้าง ผุดขึ้นอย่างมากมายในประเทศต่างๆ อย่าง ไทย เวียดนาม และอินโดนีเซีย โดยได้แรงหนุนจากการแข็งค่าของเงินเยน ที่เกิดขึ้นหลังข้อตกลงเมื่อปี 2528 ของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว 5 ชาติ (จี5) ในขณะนั้น

อย่างไรก็ดี กระแสการไหลเข้าสู่นิคมต่างๆ ข้างต้นของบริษัทจากแดนอาทิตย์อุทัย เริ่มลดลงเหลือเพียงไม่กี่รายเท่านั้น จากการล่มสลายของเลแมน บราเดอร์ส ยักษ์ใหญ่ด้านการเงินสหรัฐ เมื่อปี 2551 แต่แรงกดดันระลอกใหม่จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินเยน และความต้องการในประเทศที่ตั้งนิคมขยับสูงขึ้น ทำให้เกิดการไหลเข้าระลอกใหม่ มาตั้งแต่ช่วงสิ้นปี 2552 จนกระทั่งถึงในปัจจุบัน

ในการตอบสนองต่อกระแสข้างต้นบรรดาบริษัทเทรดดิ้ง พากันขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมในเวียดนามขึ้นอีก 2 เท่าตัว เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนที่อินโดนีเซีย เพิ่มขึ้น 8-9 เท่า

ทั้งนี้ เหล่าเอสเอ็มอีของญี่ปุ่น ต่างตกอยู่ภายใต้แรงกดดัน ที่จะต้องย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ เพื่อก้าวให้ทันกับการขยายฐานผลิตในต่างแดนของผู้ผลิตรายใหญ่ๆ ที่มักจะมีลูกค้ากลุ่มเดียวกันกับบริษัทที่มีขนาดเล็กกว่า ซึ่งบริษัทเทรดดิ้ง ได้ก้าวเข้ามาช่วยลดความเสี่ยงในเรื่องของการตั้งฐานการผลิตในเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ ด้วยการมาพร้อมกับนิคมอุตสาหกรรม ที่จัดหาปัจจัยสนับสนุนให้บริษัทกลุ่มนี้อย่างสมบูรณ์แบบ

การสนับสนุนดังกล่าว มาในหลายรูปแบบ ไล่ตั้งแต่การให้รายละเอียดข้อมูลสำหรับพนักงานชาวญี่ปุ่น ที่จะย้ายไปทำงานที่โรงงานแห่งใหม่ ไปจนถึงศูนย์จัดจำหน่าย ที่จะให้การสนับสนุนในเรื่องโลจิสติกส์ หรือวัตถุดิบ อย่างเหล็ก

บริษัทเทรดดิ้งบางราย ทำถึงขั้นเปิดร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อ และโรงพยาบาลญี่ปุ่นขึ้นมา เพื่อช่วยให้แรงงานจากแดนอาทิตย์อุทัย และครอบครัวที่ย้ายตามมา สามารถปรับตัวได้อย่างราบรื่นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

จนถึงขณะนี้ การขยายตัวของนิคมอุตสาหกรรมก็ยังเดินหน้าต่อไปอย่างไม่หยุดหย่อน โดยในปีหน้า โซจิตซ์ คอร์ป ของญี่ปุ่น เตรียมจะขยายพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ในกรุงจาการ์ตา อินโดนีเซีย และเริ่มเปิดพื้นที่ต่างๆ เพื่อสร้างตัวอาคาร ควบคู่ไปกับการเดินหน้าสร้างนิคมอุตสาหกรรมแห่งใหม่ในเวียดนาม

แรง หนุนจากการที่บริษัทอย่างโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป ขยายฐานการผลิตในต่างประเทศ ยังส่งผลให้บริษัทเทรดดิ้งอีกหนึ่งราย คือ โตโยต้า สึโช คอร์ป กระโดดเข้าร่วมในกระแสนี้ด้วย โดยบริษัทมีแผนที่จะเริ่มเช่าซื้อพื้นที่โรงงานในกรุงจาการ์ตา และมุ่งเจาะกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์

นิคมอุตสาหกรรมที่มีบริษัทเท รดดิ้งเป็นผู้ดำเนินกิจการนั้น ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะแถวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น โดยในปี 2555 โซจิตซ์ จะเริ่มก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมทางตอนใต้ของอินเดียด้วย


จากคุณ : เทวดาน้อย
เขียนเมื่อ : วันพ่อแห่งชาติ 54 10:37:57




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com