แนวทางปฏิบัติ การขายกองทุน RMF ที่อายุครบ 55 ปี ( แบ่งขาย / ขายทั้งกอง)
|
|
จากการสัมมนาของธนาคารเกียรตินาคินจักชดขึ้น เมื่อ 20 พฤศจิกายน 2553 โดยคุณทวีวัฒน์ กีรติวานิชย์ นิติกรชำนาญการพิเศษ กรมสรรพากรเป็นผู้บรรยาย
การไถ่ถอนหน่วยลงทุน เพื่อให้ได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับกำไรที่ได้รับ หลักการ เมื่อผู้ลงทุนได้มีการลงทุนใน RMF โดยได้ถือครองหน่วยลงทุนจนถึงเกณฑ์ที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีแล้ว ต่อมาเมื่อผู้ลงทุนรายดังกล่าวได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุน ไม่ว่าไถ่ถอนทั้งหมดหรือบางส่วน หน่วยลงทุนนั้นจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีสำหรับกำไรที่ได้รับ (Capital Gain) ทั้งนี้ไม่ว่า ผู้ลงทุนจะได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนดังกล่าวในคราวเดียวกัน หรือหลายคราวก็ตาม
ตัวอย่าง ผู้ลงทุนซื้อหน่วยลงทุน RMF ปีละ 100 หน่วย ทุกวันที่ 1 ก.พ. ของปี 2544 , 2545 , 2546 , 2547 และ 2548 ต่อมาผู้ลงทุนได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนจำนวน 300 หน่วย ในวันที่ 1 ก.พ. 2549 และไถ่ถอนในส่วนที่เหลือ 200 หน่วย ในปี 2550
แนวปฏิบัติ • หน่วยลงทุน จำนวน 300 หน่วย ที่ได้ไถ่ถอนในปี 2549 ได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับกำไรที่ได้รับ และ • หน่วยลงทุน จำนวน 200 หน่วย ที่ได้ไถ่ถอนในปี 2550 ก็ได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับกำไรที่ได้รับด้วยเช่นกัน
การซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มเติม ภายหลังจากการได้มีการไถ่ถอนหน่วยลงทุน หลักการ (1) กรณีผู้ลงทุน ได้มีการลงทุนใน RMF จนถึงเกณฑ์ที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี และต่อมาได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนทั้งหมดในคราวเดียวหาก ผู้ลงทุนได้ลงทุนใหม่ภายหลังการไถ่ถอนดังกล่าว การลงทุนครั้งนี้ต้องเริ่มนับอายุการลงทุนใหม่ โดยนับเป็นปีแรก
(2) กรณีผู้ลงทุน ได้มีการลงทุนใน RMF จนถึงเกณฑ์ที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี และต่อมาได้มีการไถ่ถอนหน่วยลงทุนบางส่วน (Partial Redemption) หากผู้ลงทุนดังกล่าวได้ลงทุนอีกในภายหลังการไถ่ถอน การลงทุนเพิ่มเติมนี้ จะสามารถนับอายุการลงทุนต่อเนื่องจากหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่ได้ก็ต่อเมื่อหน่วยลงทุนที่ยังเหลืออยู่ในแต่ละปีภายหลังการไถ่ถอนบางส่วน มีจำนวนเหลิอไม่น้อยกว่าร้อยละ 3 ของเงินได้ที่ได้รับในแต่ละปี หรือมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5,000 บาทต่อปี และต้องไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเป็นเวลาเกินกว่า 1 ปี ติดต่อกัน
ตัวอย่าง 1 ผู้ลงทุนซื้อหน่วยลงทุน RMF ปีละ 5,000 บาท ทุกวันที่ 1 ก.พ. ของปี 2544 , 2545 , 2546 , 2547 , และ 2548 ต่อมาผู้ลงทุนได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนทั้งหมด ในวันที่ 1 ก.พ. 2549 และผู้ลงทุนรายดังกล่าวได้ซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มเติมอีก 5,000 บาท ในปี 2550
แนวปฏิบัติ • หน่วยลงทุนที่ซื้อในปี 2550 เริ่มนับอายุการลงทุนใหม่ โดยถือว่าเป็นปีแรก
ตัวอย่าง 2 ผู้ลงทุนซื้อหน่วยลงทุน RMF ปีละ 5,000 บาท ทุกวันที่ 1 ก.พ. ของปี 2544 , 2545 , 2546 , 2547 และ 2548 ต่อมาผู้ลงทุนได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนของปี 2544 และ 2545 ในวันที่ 1 ก.พ. 2549 และผู้ลงทุนรายดังกล่าวได้ซื้อหน่วยลงทุนเพิ่มเติมอีก 5,000 บาท ในปี 2550
แนวปฏิบัติ • หน่วยลงทุนที่ซื้อในปี 2550 สามารถนับอายุการลงทุนต่อเนื่องได้ โดยนับหน่วยลงทุนของปี 2546 เป็นปีแรก เนื่องจากหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่ในปี 2546 ถึง 2548 มีจำนวน 5,000 บาท ต่อปี (หรือร้อยละ 3 ต่อปี) และไม่ได้มีการระงับซื้อ
หน่วยลงทุนติดกันเกินกว่า 1 ปี ตัวอย่าง 3 ผู้ลงทุนซื้อหน่วยลงทุน RMF ปีละ 10,000 บาท ทุกวันที่ 1 ก.พ. ของปี 2544 , 2545 , 2546 , 2547 และ2548 ต่อมาผู้ลงทุนได้ไถ่ถอนหน่วยลงทุนของปี 2544 ถึง 2548 เป็นจำนวนปีละ 8,000 บาท ในวันที่ 1 ก.พ. 2549 และผู้ลงทุนรายดังกล่าวได้ซื้อหน่วยลงทุนอีก 10,000 บาท ในปี 2550
แนวปฏิบัติ • หน่วยลงทุนที่ซื้อในปี 2550 ต้องเริ่มนับอายุการลงทุนใหม่ โดยถือเป็นปีแรก เนื่องจากหน่วยลงทุนที่เหลืออยู่ในปี 2544 ถึง 2548 มีจำนวนน้อยกว่า 5,000 บาท ต่อปี (หรือ ร้อยละ 3 ต่อปี)
ที่มา : คอลัมน์บริหารเงินสบาย ๆ มั่นใจ KK นสพ. โพสต์ทูเดย์ ฉบับที่ 29 พฤศจิกายน 2553
กระทู้ที่เกี่ยวข้อง: http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I11497985/I11497985.html
จากคุณ |
:
Wild Rabbit
|
เขียนเมื่อ |
:
26 ธ.ค. 54 13:10:18
|
|
|
|