*** หุ้นกลุ่มรพ. เตรียมพุ่ง >> มุ่ง ล้มๆๆ สิทธิ_บัตรทอง
|
|
ไทยรัฐ : เปิดแผน บันได4ขั้น ล้มๆๆ สิทธิ_บัตรทอง (หลักประกันสุขภาพ 30บาทรักษาทุกโรค)
ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาเครือข่าย “คนรัก... หลักประกันสุขภาพ” รวมตัวกันรับมือขบวนการ... ล้มระบบหลักประกันสุขภาพ_บัตรทอง
วาดภาพไว้ในใจก่อนว่า กลไกสำคัญในการควบคุม & กำกับการทำงานของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ 30บาทรักษาทุกโรค นั้น มีอยู่ 2กลไกหลัก คือ
1) คณะ กก. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ Board_สปสช. มีหน้าที่เชิงนโยบาย ควบคุมทิศทางการดำเนินงานพัฒนาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทุกอย่าง 2) เลขาธิการ สปสช. มีหน้าที่ดูแลการดำเนินงานของ สนง. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับปฏิบัติการ
ปมปัญหากระบวนการโค่นล้ม ที่ออกมาเคลื่อนไหวในขณะนี้ มีเค้ามาจากฝ่ายการเมืองที่เข้ามายึดกุม Board_สปสช. ได้แล้ว จากการส่งคนของตัวเข้ามาครองตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 7ตำแหน่ง เท็จจริงประการใดนั้น มีการเล่าลือกันว่า... บุคคลเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ เป็นคนที่เคยคัดค้านนโยบาย 30บาทรักษาทุกโรค
ดังนั้น การที่คณะ กก.ฯ มีการเปลี่ยนแปลง ถูกกำหนดโดยฝ่ายการเมือง >> ภาคธุรกิจเข้ามามีอิทธิพล อนาคตจะเป็นเช่นใด จะเหมือนสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับรัฐวิสาหกิจ & แพทยสภาหรือเปล่า ชวนให้ติดตาม... ยิ่ง
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา Board จะต้องมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านต่างๆขึ้น เพื่อเป็นแขนขาของ Board ซึ่งการประชุม Board_สปสช. ครั้งล่า...ที่ผ่านมา นั้น ได้มีการจัดตั้งคณะอนุ กก. ชุดใหม่
ผลที่ออกมาคือ ทิศทางของคณะอนุ กก. เป็นในแนวทางที่ เพิ่มๆๆ อำนาจการกำกับ - ควบคุม - ตรวจสอบการทำงานของ สนง. มากขึ้น แต่ๆๆ ไม่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาสิทธิประโยชน์เพื่อปชช.
* ความเปลี่ยนแปลงนี้ ค่อนข้างแตกต่างชัดเจน จากคณะอนุ กก. ของBoard_สปสช. ชุดเก่าๆ ที่ให้น้ำหนักความสำคัญกับการพัฒนาสิทธิประโยชน์เพื่อปชช. มากกว่า
อีกทั้ง ยังต้องนับรวมถึงความพยายามตั้งคณะอนุ กก. มาบริหารกองทุนฯ & อนุมัติจัดซื้อ_จัดจ้าง แทน สปสช. ซึ่งมีแนวโน้มปรับเปลี่ยนการจ้างผู้บริหาร สปสช. ให้เหมือนรัฐวิสาหกิจ ที่กำหนดได้โดยนักการเมือง >> ผลที่จะตามมา... จะทำให้งาน สปสช.ขาด_ประสิทธิภาพ - เชื่องช้า - ไม่ต่อเนื่อง
กระบวนการนับต่อจากนี้จึงต้องจับตาไปที่... การสรรหาเลขาธิการคนใหม่ ซึ่งคนเดิมจะหมดวาระลงสิ้นเดือนมีนาคมนี้ ส่อเค้าว่า... มีความเป็นไปได้สูงที่คนของฝ่ายการเมือง จะเข้ามามีอำนาจ
มองรอบด้าน ประเมินในภาพรวมแล้ว ทิศทางของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ออกมาต่อจากนี้ จะเป็นทิศทางของ...“การร่วมจ่าย”.... “ผลักภาระให้ปชช.”
ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่หัวใจสำคัญ คือ เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของปชช. ที่จะต้องได้รับบริการสุขภาพจากรัฐ จะกลายเป็น... ระบบการสงเคราะห์ให้ปชช.
การเปลี่ยนปชช. ที่มีสิทธิให้กลายเป็นปชช.ที่ได้รับการสงเคราะห์ แน่นอนว่า จะกลายเป็นระบบอนาถาของ... คนยากไร้ การพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์ใหม่ๆ จะลดลง ด้านการจัดสรรงบประมาณ... กระบวนการต่อรองเพื่อการซื้อยา & เวชภัณฑ์กับบริษัทยา ก็จะมีอำนาจการต่อรอง น้อยลง
กลายเป็นว่า ที่ผ่านๆมา ที่ไปในทิศทางที่ดี ต่อรองอย่างได้ผล... ก็กลายเป็น... ถอยหลัง_เข้าคลอง
อีกสิ่ง ที่จะเกิดขึ้นตามมาคือ ความเคลื่อนไหวที่จะให้จัดสรรงบประมาณตามขนาดหน่วยบริการแทนจัดสรรตามภาระการดูแลประชากรยิ่งเป็นเรื่องใหญ่ เพราะจะส่งผลให้ปชช. ในถิ่นทุรกันดาร เข้าไม่ถึงบริการที่มีคุณภาพมากขึ้น เมื่อ รพ. ขนาดใหญ่ ได้รับเงินมาก รพ.ชุมชน ขนาดเล็กได้รับเงินน้อย >> ภาพเก่าๆ... ปชช.ไปแออัดรักษาที่ รพ.ใหญ่ๆ ก็จะกลับมา
บนเวทีเสวนา “คนรัก... หลักประกันสุขภาพ” ย้ำหนักแน่นว่า นับตั้งแต่มี ระบบหลักประกันฯ เข้ามา มีการกระจายทรัพยากรไปสู่หน่วยบริการอย่างเป็นธรรมมากขึ้น ไม่ได้ผ่านฝ่ายบริหาร ก็ยังมีความโปร่งใสที่ตรวจสอบได้จากการเข้ามามีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน ผ่าน Board_หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่รักษาผลประโยชน์ในหลายๆเรื่อง
ระบบหลักประกันสุขภาพ ดูแลคนหลาย 10ล้านทั่วประเทศ... เป็นระบบที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ใช้เงินภาษีในการเข้ามาบริหารจัดการ พัฒนาเรื่องระบบต่างๆ บัญชียาหลักแห่งชาติ ทำให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุ_สมผล มีการต่อรอง... ราคายา ใช้ยามาก >> ราคาถูก... ตามหลัก Demand VS Supply
มูลเหตุเหล่านี้ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเป็นชนวนเหตุทำให้กลุ่มคนบางกลุ่ม เสียผลประโยชน์
“ เนื่องจาก มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ยาจำนวนมากกับคนจำนวนมาก ก็เลยทำให้เกิดการเสนอการใช้นโยบายที่เรียกว่าเ หนือสิทธิบัตรยา หรือ CL เพื่อทำยาราคาถูก มีคุณภาพให้มาใช้กับผู้ป่วย ”
CL_ยาโรคหัวใจ , โรคเอดส์ , ยามะเร็ง... เฉพาะปริมาณเม็ดเงินที่ประหยัดได้ ถือว่าไม่ใช่น้อยๆ แต่ในมุมตรงกันข้าม ก็ทำให้บริษัทยาฯ เสียผลประโยชน์... ในธุรกิจ
ระบบหลักประกันสุขภาพ ใครเสียประโยชน์บ้าง ตั้งข้อสังเกตจากรูปธรรมที่เห็นผ่านมาจนถึงวันนี้ & พวกเราน่าจะต้องจับตาดูกันต่อไปว่า จะเป็นเช่นนั้น จริงหรือไม่?
เริ่มจากการที่แสดงให้เห็นว่า กลุ่มคนเหล่านี้ที่ออกมาเคลื่อนไหวคัดค้าน ตั้งแต่ครั้งการเสนอ พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นกลุ่มที่เรียกว่า... คนใส่ปลอกแขนดำ ผู้ที่อยู่เบื้องหลังที่อยากจะล้ม - แทรกแซง - บิดเบือนเจตนารมณ์ คนเหล่านี้ที่เสียหายมาก น่าจะเกี่ยวโยงกับบริษัทวิจัย - ผลิตยา โดยเฉพาะธุรกิจ... ข้ามชาติ_ยักษ์ใหญ่
สถานการณ์ที่เป็นอยู่ เมื่อกำไรลดลง ในเชิงธุรกิจ ก็น่าจะต้องพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้การ... ซื้อยาไม่ถูกต่อรอง - ให้เกิดการจ่ายยา & ใช้ยาอย่างไม่สมเหตุ_สมผล มากที่สุด เพื่อจะได้แสวงหากำไร_เพิ่มขึ้นๆ
และไม่แน่ว่า อาจจะต้องนับรวมไปถึงผู้ให้บริการรักษาผู้ป่วยเอกชน ที่กระทบในเรื่องผู้เข้าไปใช้บริการน้อยลง เพราะหันไปใช้บริการ สิทธิ_บัตรทอง
ประเด็นที่ถูกย้ำ... เปิดให้เป็นรอยแผลใหญ่ นั่นก็คือความมีหลายมาตรฐานของระบบสุขภาพ ซึ่งมีกลุ่มคนได้ & แสวงหาประโยชน์จากความเหลื่อมล้ำนี้ & ใช้ประเด็นนี้ สร้างความแตกแยกในหมู่ปชช.
ในความเป็นจริง ระบบหลักประกันสุขภาพ... กำลังพยายามสร้างให้เกิดการดูแลรักษาที่มีมาตรฐาน... เดียวววว , ลดความเหลื่อมล้ำในการได้รับบริการของ ทุกกลุ่มคน , ภาพการเลือกปฏิบัติกับผู้ป่วยที่แตกต่าง ส่งผลถึงสิทธิประโยชน์ ที่ดีกว่า ...ด้อยกว่า ประเด็นที่ว่านี้ ใครมีความพยายามทำอะไรกันแน่ ซึ่งอาจจะต้องตั้งคำถามโยงกลับไปถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าแพทยสภา , ก.สาธารณสุข & ภาคการเมือง... จะเข้ามาคลี่คลายปัญหาหรือจะซ้ำแผลนี้ให้ใหญ่ขึ้น
ตอกย้ำกับคำยืนยันของ นายแพทย์เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ปธ. ชมรมแพทย์ชนบท ที่ว่า >> แผนล้มระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีจริง ราว 3ปีที่แล้ว มีการเปิด War Room ขึ้นที่ห้องผู้บริหารของ ก.ท่านหนึ่ง จริงเท็จอย่างไรต้องเฝ้าติดตามกันดู “แผนบันได 4ขั้น... ล้มๆๆ ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ”
1) เริ่มบันไดขั้นแรก... ฝ่ายการเมืองเปิดทางให้กลุ่มแพทย์ ที่ไม่เห็นด้วยกับระบบหลักประกันสุขภาพ รวมทั้งนายทุนพรรคการเมืองผู้เรืองอำนาจเข้ายึดครอง Board_สปสช. เป้าหมาย... เพื่อปรับนโยบายหลักประกันสุขภาพที่เดิมยึดปชช. เป็นศูนย์กลาง เปลี่ยนเป็น... ยึดๆๆ หน่วยบริการเป็นหลัก
2) บันไดขั้นที่2... เปลี่ยนเลขาธิการ สปสช.เอาตัวแทนของฝ่ายการเมืองเข้าแทนที่ เพื่อยึด...ลดบทบาทการปฏิรูป...ตรวจสอบระบบบริการ
* 3) บันไดขั้นที่3... ของบประมาณเหมาจ่ายรายหัวเพิ่มขึ้นๆ ในอัตราเดียวกับที่ประกันสังคมเพิ่มครั้งใหญ่ & ที่สวัสดิการข้าราชการได้รับ เพื่อสร้างเงื่อนไข ภาระงบประมาณให้รัฐบาล
4) บันไดขั้นที่4... สร้างกระแสสังคมให้ ยุบเลิก หรือ แก้ไขสาระสำคัญของ พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ '2545 เมื่อถึงจุดนี้ก็เป็นการสิ้นสุดยุคปฏิรูประบบสุขภาพที่ นพ.สงวน นิตยารัมพงศ์ เริ่มไว้เมื่อ 10ปี ที่แล้ว
ชวนให้ติดตามอย่างใกล้ชิด “ระบบหลักประกันสุขภาพ... ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรม ในระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว” จะก้าวหรือจะถอย ----- # # #
จากคุณ |
:
ศิษย์ซุนวู
|
เขียนเมื่อ |
:
17 ม.ค. 55 08:39:56
|
|
|
|