|
2.แนวโน้มรอง (Secondary หรือ Intermediate Trend) เป็นแนวโน้มระยะกลางที่เบี่ยงเบนจากแนวโน้มใหญ่ใช้เวลาตั้งแต่ 3 สัปดาห์หรือหลายเดือน 25วัน ถึง 200 วัน แนวโน้มรองนี้รวมตัวกันแล้วก่อนให้เกิดเป็นแนวโน้มใหญ่ อันประกอบด้วยแนวโน้มรองขึ้น และแนวโน้มรองลง ตอนหุ้นขึ้น แนวโน้มรองจะยาวกว่าแนวโน้มรองลง ตอนหุ้นขาลง แนวโน้มรองขึ้นจะสั้นกว่าแนวโน้มรองลง
3.แนวโน้มย่อย (Minor Trend) เป็นส่วนหนึ่งของแนวโน้มรอง เป็นการแกว่งตัวของราคาในระยะสั้นรายวัน แต่ไม่เกิน 3 สัปดาห์ ในหลักวิชาแล้วนักวิเคราะห์ถือว่าไม่มีนัยสำคัญ มองเพียงเป็นส่วนประกอบของแนวโน้มรองและแนวโน้มใหญ่เท่านั้น
ผมขอเสริมนะครับ ในส่วนนี้ ถ้าเรานำทฤษฎีนี้มาใช้กับตลาดฟอเร็ก Forex Market แนวโน้มใหญ่ที่เราควรจะมองคือ Month week แนวโน้มรองหรือแนวโน้มระยะกลาง คือ Daily แนวโน้มย่อยคือ ต่ำกว่า 4 H
พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงแนวโน้ม
การเคลื่อนไหวของราคาหุ้นทุกๆแนวโน้มจะเป็นผลจากปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental factors) และจะปรากฏเป็นจิตวิทยามวลชน (mass psychology)ที่จะอธิบายแต่ละช่วงของแนวโน้มอันประกอบเป็นแนวโน้มใหญ่ ซึ่งแนวโน้มใหญ่มี สองชนิดคือ แนวโน้มขาลงหรือตลาดกระทิง (bull market) และแนวโน้มขาลงหรือ ตลาดหมี (bear market ) และแต่ละแนวจำแนกออกเป็น 3 ระยะ (phase) ดังนี้คือ
ตลาดกระทิง (Bull Market)
1. ระยะสะสมหุ้น (Accumulation Phase) เมื่อราคาหลักทรัพย์หรือดัชนีบ่งชี้ตกต่ำถึงที่สุด เกิดเนื่องจากภาวะหุ้นตกต่ำติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จนมูลค่าซื้อขายน้อยลงมากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ในช่วงนี้หุ้นหลายตัวจึงไม่คึกคักเพราะหาคนขายยากเนื่องจากขายหมดแล้วหรือขาดทุนมาก จึงเก็บไว้เป็นการลงทุนในระยะยาว ส่วนคนซื้อก็น้อยเพราะเข็ดเขี้ยว ระยะนี้เป้นรอยต่อการเปลี่ยนแปลงปัจจัยพื้นฐาน (fundamental factors) ครั้งสำคัญ สภาวะการณ์ต่างๆไม่ดีไม่ว่าจะเป็นการเมืองที่อืมครึม เศรษฐกิจโดยทั่วไปไม่ดี ผลกำไรของบิษัทออกมาต่ำกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ ช่วงนี้นี่เองที่นักลงทุนมองเห็นการณ์ไกล สายป่านยาว หรือทุนหนา เริ่มเข้ามาซื้อในลักษณะสะสมหุ้นโดยไม่ซื้อไล่ขึ้น แต่จะซื้อเมื่อหุ้นปรับตัวลงมาถึงราคาเป้าหมาย (Target Price) แรงซื้อนี้ทำให้หุ้นขยับขึ้นลงเป็นครั้งคราว แต่จะไม่ต่ำกว่าราคาที่นักลงทุนจ้องซื้อ ทุกครั้งเมื่อหุ้นตกถึงระดับนี้ เมื่อพิจารณาปัจจัยพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ การเมือง หรืออื่นๆ จะเลงร้ายถึงขีดสุด จนเป็นระยะที่นักลงทุนคิดว่าไม่มีอะไรเสียหายมากกว่านี้อีกแล้ว อย่างมากก็เสียเวลารอคอยเท่านั้น เป็นโอกาสทองของนักลงทุนที่เห็นการณ์ไกลหรือนักลงทุนหน้าใหม่ จังหวะนี้นับว่าน่าลงทุนที่สุดระยะนี้เป็นระยะสุดท้ายของแนวโน้มใหญ่ขาลง (Final phase of the bear market)
2.ระยะกักตุนหุ้น (Correction Phase) ในระยะนี้มูลค่าซื้อขายจะเริ่มเพิ่มมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ราคาหุ้นแต่ละตัวมีแนวโน้มขยับฐานเพิ่มสูงขึ้นทีละนิด ข่าวดีเริ่มมีให้เห็น เศรษฐกิจทั่้วไปดูดีขึ้น ผลการดำเนินการของบริษัทได้เรียกร้องความสนใจของนักลงทุน ส่งผลให้จำนวนนักลงทุนและมูลค่าการซื้อขายสูงมากขึ้นเป็นลำดับ
3. ช่วง "ตื่นทอง (Boom Phase)" ช่วงนี้หุ้นแทบทุกตัวจะขยับขึ้นในอัตราที่สูงและติดต่อกันหลายวัน บางหุ้นขยับขึ้นไปติดเพดาน มูลค่าการซื้อขายจะสูงขึ้นหลายสิบเท่า จำนวนคนในตลาดสูงขึ้นเป็นทวีคูณ เป็นระยะที่ข่าวดีรวมทั้งข่าวลือจะประดังเข้ามาไม่ขาดระยะ ไม่ว่าเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง ผลกำไร ของบริษัทที่คาดว่าเพิ่มขึ้น จังหวะนี้เองที่บริษัทในตลาดถือโอกาสเพิ่มทุนขนานใหญ๋ นักเก็งกำไรเข้ามามากที่สุด ในขณะที่นักลงทุนระยะยาวและกองทุนเริ่มทยอยออก เนื่องจากส่วนใหญ่เริ่มมีกำไรในอัตราที่พอใจแล้ว สื่อมวลชนเริ่มลงข่าวออกมา วิจารณ์ว่าตลาดหุ้นเป็นบ่อนการพนัน ในที่สุดช่วงนี้เองที่แนวโน้มเริ่มจะมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางลง
ตลาดหมี (Bear Market)
1.ระยะแจกจ่าย (Distribution Phase) เป็นระยะแรกของตลาดหมี อันเป็นช่วงที่นักลงทุนรายใหญ่ทำการแจกจ่ายหุ้นที่มีอยู่ เนื่องมาจากเห็นว่าราคาหุ้นขึ้นมากจนเกินกว่าปัจจัยพื้นฐานจะอำนวยให้ นักลงทุนทั่วไปเริ่มหวั่นไหว เพราะเห็นว่าราคาขึ้นมาสูงเกินอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล ก่อนจะเป็นตลาดหมี (Bear Market) จะมีสัญญาณเตือนโดยมีการแกว่งตัวระหว่างจุดสูงสุดและต่ำสุดห่างกันมาก ตอนราคาหุ้นหรือดัชนีตลาดสูงขึ้นแต่มูลค่าของการซื้อขายกลับลดลง แสดงว่าไปได้อีกไม่ไกล และถ้าราคาหุ้นต่ำลงในขณะที่ปริมาณการซื้อขายสูงขึ้น ก็เป็นสัญญาณเตือนภัยที่ดีให้พยายามขายลดพอร์ต (port) ลง
2.ระยะขวัญเสีย (Panic Phase) ระยะนี้นักลงทุนรู้สึกว่าตลาดหุ้นจะไปไม่ไหว ข่าวต่างๆเริ่มออกมาทางลบ ข่าวลืมประเภทไม่ดีเริ่มแพร่หลาย เป็นเหตุให้ราคาหุ้นตกอย่างแรง คนเล่นหุ้นที่ขายตัดขาดทุน (Cut loss) ไม่ทันก็จะติดหุ้นในราคาที่สูง โดยเฉพาะหุ้นกลุ่มที่ชอบเก็งกำไรราคาจะตกลงอย่างรวดเร็ว แม้แต่หุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดีก็ยังตกลงมาเหมือนกัน เพียงแต่ตกลงมาในอัตราที่ช้ากว่าเท่านั้น หลังการตกของราคาหุ้นครั้งใหญ่อาจมีการดีดตัวขึ้นของราคาหุ้น แต่เป็นการปรับตัวขึ้นชั่วคราว (Rebound) ช่วงนี้ห้ามเข้าไปซื้อเด็ดขาด ถ้ายังไม่อยากขาดทุนหนัก
3.ระยะรวบรวมกำลัง (Consolidation Phase)
ขณะที่หุ้นมีราคาต่ำมาก อาจจะต่ำกว่ามูลค่าสุทธิตามบัญชี (book value) หรือราคาพาร์ ทำให้กองทุนต่างๆเริ่มเก็บหุ้น แม้ว่าสภาวะทั่วไปยังไม่ดีขึ้นก็ตาม แต่นักลงทุนก็จะไม่ยินดียินร้ายกับข่าวลืมหรือข่าวจริง ปริมาณการซื้อขายอยู่ในระดับต่ำกว่าความเป็นจริง ระยะที่สามของแนวโน้มใหญ่ขาลงนี้คาบเกี่ยวกับระยะแรกของแนวโน้มขาใหญ่ขึ้น (accumulation)ซึ่งเกิดการประลองกำลังกันของความกล้าและความกลัวในใจของตัวเอง เพราะระยะนี้ถ้าไม่สังเกตอย่าใกล้ชิด จะวิเคราะห์ยากมากจนดูแทบไม่ออก
ในการเรียนรู้การวิเคราะห์ทางเทคนิคสำหรับผู้เริ่มต้นนั้น แนะนำว่าให้หัดมองภาพรวมของตลาดก่อนว่ามีทิศทางใด โดยใช้หลักการของทฤฤฎีดาว (Dow Theory) และพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้ม ควบคู่ไปกับการใช้ Indicators เพื่อเป็นจุดชี้วัด ยืนยันสัญญาณในการเทรด Indicators ที่แนะนำ คือ Relativa Strength Index (RSI) , MACD , Moving Average (MA) ครับ
Credit:www.9professionaltrader.** ไม่ใช่ลิควิด ** ทฤษฎีดาว(Dow Theory) ตอนที่ 2 | Forex Trading Blog สอนเทรด Forex - แหล่งศึกษาข้อมูล Forex และสอน Trade Forex แบบมืออาชีพ Under Creative Commons License: Attribution
จากคุณ |
:
SameOne
|
เขียนเมื่อ |
:
22 ม.ค. 55 10:18:37
|
|
|
|
|