เขียวๆๆ แล้วก็เขียว เอิ๊กๆๆ ขอถูตะเกียงก่อนนะ
+++
โรงเรียนผู้ปกครอง <๓> : นิทานเรื่องอาลาดินกับตะเกียงวิเศษ
ด้วยวิธีการอย่างนี้ อาลาดินจึงสามารถอยู่ได้อย่างมีความสุข....ตลอดไป
วันนี้ขอเล่านิทาน "คุณธรรมนำความรู้" ของท่าน ดร. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา เรื่อง "อาลาดินกับตะเกียงวิเศษ" ครับ หลายท่านคงได้เคยฟังมาแล้ว.. แต่คิดว่ายังมีอีกหลายท่านยังไม่เคยฟัง จึงนำมาเล่าให้ได้อ่านกันอีกครั้ง..
อาลาดินกับตะเกียงวิเศษ
นานมาแล้ว มีเด็กชายคนหนึ่งชื่ออาลาดิน วันหนึ่งเขากำลังทำสวนพรวนดินอยู่ ก็ไปพบอะไรแข็งๆ ใต้ดิน ในตอนแรกเขาคิดว่ามันเป็นก้อนหิน เขาก็จะนำไปทิ้ง แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีอีกที มันเป็นตะเกียงโบราณ เขาดีอกดีใจใหญ่
มันเปื้อนดินโคลน เขาก็นำผ้ามาเช็ดมาถูทำความสะอาด ถูไปถูกมาก็มีควันออกมาจากตะเกียง เป็นยักษ์ตัวเบ้อเร่อ เจ้ายักษ์ก็ลงไปกราบเท้าอาลาดินแล้วก็พูดออกมา
"เจ้านาย วันนี้เจ้านายได้ช่วยข้าให้มีความอิสระ ข้าขอขอบคุณเจ้านาย เจ้านายต้องการอะไรบอกมาเลย ข้าจะทำให้ทุกอย่าง แต่มีข้อแม้อยู่อย่างเดียว ถ้าหากเจ้านายไม่ใช้ข้าเมื่อไหร่ ข้าก็จะกินเจ้านาย"
อาลาดินก็คิดไปคิดมา โอ้! ถ้าเราได้เจ้ายักษ์มาเป็นคนใช้ เราคงจะร่ำรวยมหาศาลเลย เราไม่กลัวหรอก เราจะไม่ปล่อยให้มันว่างมากินเรา ก็เลยตอบตกลงกับเจ้ายักษ์ว่า "ตกลงเราจะรับเจ้ามาเป็นคนใช้เรา"
เจ้ายักษ์ก็เตือนอีก "อย่าลืมนะเจ้านาย ถ้าหากเจ้านายไม่ใช้ข้าเมื่อไหร่ ข้าก็จะกินเจ้านาย"
อาลาดินก็บอกว่า "สบายมาก สบายมาก"
แล้วก็เริ่มสั่งการ "นี่เจ้ายักษ์ ฉันอยากจะได้บ้านหลังใหญ่ๆ เป็นที่พักของข้า"
ทันทีทันใด เจ้ายักษ์ชี้นิ้วไปก็เกิดบ้านหล้งใหญ่ขึ้นมา
อาลาดินตื่นตกใจ นึกว่ามันจะใช้เวลานาน 2-3 ปี ในการก่อสร้าง ที่ไหนได้แค่กระพริบตามันก็เกิดขึ้นมาได้แล้ว ก็เลยรีบสั่งต่อเพราะเดี๋ยวเจ้ายักษ์จะมากินเขา "เจ้าจงสร้างสะพานข้ามลำธารต่อจากตรงนี้ไป"
เจ้ายักษ์ก็เนรมิตสะพานขึ้นมา
"เจ้าจงทำสวนบริเวณนี้ให้สวยงาม" เจ้ายักษ์ก็เนรมิตออกมา
ไม่ว่าจะขออะไร เจ้ายักษ์ก็เนรมิตออกมา...เนรมิตๆๆๆๆๆ ออกมา....เวลาผ่านไปหลายชั่วโมงเขานึกไม่ออกแล้วว่าเขาต้องการอะไร เพราะทุกอย่างเขาสั่งไปหมดแล้ว...เร็วๆๆๆ...
ขอโต๊ะก็แล้วกัน...โต๊ะก็ออกมา
ขอดอกไม้ก็แล้วกัน...ดอกไม้ก็ออกมา
ขอคอมพิวเตอร์..คอมพิวเตอร์ก็ออกมา
เขาก็สั่งไปอย่างนั้นเอา เขาไม่ต้องการอะไรแล้ว เพราะเขาได้ทุกสิ่งทุกอย่างแล้วตอนนี้ก็ดึกมากแล้ว อาลาดินก็เริ่มหมดแรงแล้ว และก็เพลียมาก อยากจะนอน พอเดี๋ยวเขาหลับไป เจ้ายักษ์ก็จะมากินเขา
อาลาดินคิดว่า "เขาต้องคิดอุบายให้เจ้ายักษ์มันมีงานทำตลอดเวลา อ้อ! รู้แล้ว รู้แล้ว เขาได้ความคิดขึ้นมา จึงสั่งเจ้ายักษ์ว่า "นี่เจ้าจงสร้างเสาสูงๆ ขึ้นมา" เจ้ายักษ์ก็เนรมิตเสาสูงๆ ขึ้นมา
"เจ้าจงปีนขึ้นไปข้างบน พอถึงข้างบนก็ปีนลงมาข้างล่าง พอถึงข้างล่างก็ปีนขึ้นไปข้างบน ทำอย่างนี้ ปีนขึ้น-ปีนลง อยู่บนเสานี้แหละ ห้ามหยุดนะ"
เจ้ายักษ์ต้องปฏิบัติตามคำสั่งเจ้านาย ต้องปีนขึ้นไปบนเสา พอถึงข้างบนแล้วก็ปีนลงมา ถึงข้างล่างก็ปีนขึ้นไป
อาลาดินหัวเราะใหญ่บอกว่า "ห้ามหยุดน่ะ ปีนขึ้นปีนลงอยู่อย่างนี้ เดี๋ยวฉันจะไปนอนก่อน พรุ่งนี้เช้า ถ้าฉันต้องการอะไร จะเรียกเจ้าลงมาจากเสา มาทำอาหารให้กิน เมื่อเราไม่ต้องการใช้เจ้าแล้ว ก็จะให้เจ้า ปีนขึ้น-ปีนลง อยู่บนเสานี้แหละ
ด้วยวิธีการอย่างนี้ อาลาดินจึงสามารถอยู่ได้อย่างมีความสุข....ตลอดไป
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้อะไร ออกจะยาวเสียหน่อย ลองติดตาม
"ยักษ์เปรียบเสมือนความคิดของมนุษย์" เมื่อเราใช้มัน มันก็คิดโน่นคิดนี่ มันก็มีประโยชน์ แต่เมื่อเราไม่ใช้มันเมื่อไหร่ ก็เหมือนเราไม่ใช้ยักษ์ ยักษ์มันก็จะกลับมาทำร้ายเรา
เช่นเดียวกับความคิด พอเราไม่ได้ควบคุมมัน มันกลับไปคิดโน่นนี่แทนเรา มันไปสร้างอารมณ์
ไปสร้างกิเลส สร้างปัญหาให้มนุษย์เราเยอะแยะไปหมดเลย เพราะฉะนั้นอย่าปล่อยให้มันว่าง
เราต้องหาอุบายให้มันมีงานทำตลอดเวลา
เราทำอย่างไรครับ..เราจับเจ้ายักษ์ปีนขึ้น-ปีนลง อยู่บนเสาเพื่อที่มันจะได้ไม่มาทำร้ายเรา
ยักษ์ปีนขึ้น-ปีนลง เปรียบเสมือน เราควบคุมลมหายใจเข้า ลมหายใจออก
ลมหายใจของเราคือเสา เจ้ายักษ์คือความคิด
เราให้เจ้ายักษ์เกาะติดกับเสา เราก็ให้ความคิดเกาะติดอยู่กับลมหายใจ=ตั้งสติอยู่ที่ลมหายใจ
หายใจเข้า-หายใจออก ให้สติอยู่กับลมหายใจ
สำหรับชาวพุทธ หายใจเข้า=พุท, หายใจออก=โธ
ถ้าเป็นมุสลิม หายใจเข้า=อัล, หายใจออก=เลาะห์
ถ้าเป็นชาวคริสต์ หายใจเข้า=เย, หายใจออก=ซู
แทนที่จะสอนเรื่อง "อานาปานสติ" แบบธรรมดา แต่เราแทรกนิทานเข้าไปด้วย..อิอิ
มนุษย์ผึ้งมหัศจรรย์
神奇的蜂爷
(shen2 qi2 de1 feng1 ye2)
คำสำคัญ (keywords): มหาวิทยาลัยนเรศวร, นิทาน, อาลาดินกับตะเกียงวิเศษ, โรงเรียนผู้ปกครอง
สร้าง: 27 มิถุนายน 2551 12:31 · แก้ไข: 03 กรกฎาคม 2551 22:17
ดอกไม้: 0 · ความเห็น: 16 · อ่าน: 5639 · สร้าง: มากกว่า 3 ปี ที่แล้ว
thank นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์
อาจารย์ (นักวิจัย)
ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร