หวังว่ากระทู้คงไม่ตกจอ ก่อนนักลงทุนแนว "ซื้อแล้วต้องรอ"
จะได้เห็นกระทู้นะครับ
เท่าที่สังเกต มีตั้งแต่อ่านตอนเลิกงาน อ่านตอนเย็น
ไปจนเข้ามาอาทิตย์ละครั้ง
ลองมาไล่ดูว่า
ความสำเร็จในการลงทุนของแต่ละคน
ทำไมถึงได้ผลลัพธฺแตกต่างกันไป
แม้จะใช้เครื่องมือเดียวกัน ความรู้เท่าๆกัน
ความแตกต่างน่าจะอยู่ที่
แต่ละคน มีความสามารถตามปัจจัยพื้นฐ่านสะสมที่แตกต่างกันคือ
๑ จำนวนเงินลงทุนและแหล่งที่ม่าของเงิน
คนที่ลงทุนด้วยเงินต้น ๑ ล้าน กับคนที่ลงทุนด้วยเงินต้น ๑๐ ล้าน
ถ้ากำไรเท่าๆกันพันเปอร์เซนต์ ยังไงคนที่มีเงินลงทุนแค่หนึ่งล้าน
ก็ไล่ไม่ทัน คนที่เริ่มลงทุนจากสิบล้าน
นอกจากว่า คนที่มีเงินต้น ๑ ล้าน
มีความสามารถหาความรู้ในแนวดิ่ง
ได้มากกว่าคนเริ่มต้นจาก ๑๐ ล้าน สิบเท่า !!!!
หนึ่งล้านที่เอามาลงทุน ถ้าเป็นเงินออมที่เก็บมาทั้งชีวิต และไม่มีรายได้อื่นๆ
แรงกดดัน ความเครียดในการตัดสินใจ
ไปตามเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพของตน
ย่อมมีมากกว่า คนที่เอาเงินออมแค่สิบเปอร์เซนต์ถึงห้าสิบเปอร์เซนต์มาลงทุน
หรือมีแหล่งเงินทุน ที่ไม่ต้องพึ่งพิงเงินลงทุนในตลาดหุ้น
ดังนั้น เงินลงทุนและแหล่งที่มา จะเป็นแรงกดดันที่ทำให้
ไม่สามารถทำได้ตามที่ได้ตัดสินใจไว้แล้ว ในหลายโอกาส
คนที่ใช้เงินบางส่วนมาลงทุน และมีแหล่งรายได้อื่นๆ
จึงน่าจะมี แต้มต่อ เหนือกว่าคนที่เอาเงินทั้งหมดมาลงทุน
และไม่มีแหล่งรายได้อื่น ที่จะคอยประกันความเสี่ยงในตลาดหุ้น
ข้อนี้ ยกเว้น สำหรับพวกเซียนหุ้น ทั้งแนววีไอ และเก็งกำไร
๒ ระยะเวลาคงเหลือทั้งหมด ของชีวิตในตลาดหุ้น
ยิ่งอายุน้อย ยิ่งเสี่ยงได้มาก เพราะมีเวลาแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
คนที่ซื้อหุ้น ถือหุ้นตัวเดียวด้วยเงินมาร์จิ้น ตอนอายุสามสิบ
ยังไงก็ไม่มีแรงกดดัน มีความเครียดเท่ากับคนอายุหกสิบ ที่ทำอย่างเดียวกัน
เพราะถ้าพลาด ยังมีเวลาเหลือให้แก้ตัวอีกตั้งสามสิบ สี่สิบปี !!!!
และนี่คือเหตุผลสำคัญที่สุด
ที่ผมต้องกระจายความเสี่ยงถือหุ้นมีเงินปันผลหลายๆตัว
และไม่ยุ่งกับหุ้นต้มตุ๋น นอกจากซิ้อสนุกๆ หมื่นสองหมิ่นบาท
ไม่แทงไฮโลทีเฟล็กซ์ dw ซื้อหุ้นมีสภาพคล่องคอมากๆ ใน set 50 set 100
คำตอบคงรู้กันดีแล้ว
ถ้าผมทำตามวีไอสไตล์ไพท์เตอร์ที่อายุแค่สามสิบ แล้วเกิดพลาด
ตามเข้าไปแทงไฮโลทีเฟล็กซ์ โดยไม่่มีความรู้ ความสามารถ
จะเหลือเวลาให้แก้ตัวอีกกี่ปี ?
การเริ่มลงทุนแต่อายุน้อยๆ จึงเป็นความสามารถตามปัจจัยพื้นฐานสะสม
ที่ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงได้ นอกจากว่ามีไทม์แมชชีน
ใครอายุในตลาดหุ้นยิ่งมีเหลือเยอะ ก็ลองผิดลองถูกไปเถอะ
ถ้าลองโมเดล ๓ ร. รวยเร็วๆ รวยง่ายๆ รวยมากๆ แล้วไม่ได้ผล
ค่อยเปลี่ยนก็ได้
ถ้าหน้าไม่เหี่ยว ไปก่อนวันอันควรซะก่อน
เอาเป็นว่า ผมขอยุส่ง
ให้เล่นหุ้นต้มตุ่น แทงไฮโลทีเฟ็กซ์ แทงฟิวเจอร์ทอง ไปเลย
ใครบอกว่าหุ้นตัวไหนเด็ด ก็ลองแทงตาม
ประสบการณ์ที่ได้ จะสอนเราเองว่า
เวลาที่้เหลือของชีวิตในการลงทุน
เราควรจะทำอย่างไรดี
๓ สามารถตัดสินใจด้วยตัวเอง ในระดับไหน
เอาแบบภาษาชาวบ้าน คงไม่ว่ากันนะ ขอแบ่งเป็นดังนี้
ก ระดับอวดดี เพราะมีดีจะอวด ไม่เคยซื้อขายหุ้นตามใคร
ขวนขวายหาความรู้แนวดิ่งเอาเอง ตัดสินใจเอง
ใครทำได้ จะประสพความสำเร็จในการลงทุนไปตลอดชีวิต
ข. ระดับไม่อวดดี เพราะรู้ตัวดีว่าไม่มีดีจะอวด
ใครรู้ตัวและยอมรับ ในที่สุด ก็จะประสพความสำเร็จในการลงทุน
เปรียบเหมือนถือแก้วเปล่า ไปเดินหาน้ำสะอาดจากแหล่งต่างๆ มาเดิม
ไม่รู้อะไรก็ถาม ถามแล้วก็เอามาคิดอีกที
ลองแยกระดับและผลลัพธ์ ในการหาข้อมูลความรู้จากแหล่งต่างๆดังนี้
เกรดเอ . "ชอบ "แหล่งข้อมูลความรู้นั้นๆ
อ่าน ดู ฟังแล้วได้ประโยชน์ เอามาใช้ตัดสินใจเองเพิ่มได้
เกรดบี "คลั่ง" แหล่งความรู้นั้น อ่าน ดู ฟังจนติดงอมแงม
ถ้สไม่ได้เกาะติด รู้สึกว่า จะไม่มีข้อมูลที่ดีพอ ในการตัดสินใจลงทุน
เกรด Z "เสพติด" แหล่งความข้อมูลความรู้นั้นๆ
ถ้าไม่ได้อ่าน ไม่ได้ดู ไม่ได้ฟัง
จะซื้อขายหุ้นเองไม่ได้เลย !!!!!!!!!!!!!!!!
ใครรู้ตัวว่า อยู่ในขั้นเสพติด รีบไปรับการรักษาถอนการเสพติดโดยด่วน
ให้กัดฟันซื้อขายหุ้นเอาเอง ไม่ต้องตามแหล่งความรู้ข้อมูลที่เราเสพติด
ค. อวดดี โดยที่ไม่มีดีจะอวด
ตัดสินใจขายเอง ซื้อเอง โดยไม่มีความรู้ ความสามารถอะไรในการลงทุน
ถ้าจะให้วิจารณ์์ตัวเอง ผมก็ยอมรับว่า
ดันทะลึงไปเริ่มจากโหมดนี้ ตั้งแต่วันแรกที่เหยียบเข้าตลาดหุ้น
จนทุกวันนี้ ก็ยังติดนิสัย ซื้อขายหุ้นตามใครไม่เป็น
เลยไม่ต้องไปด่าใครเป็นวีไอทมิฬ วีไอสิงหล สินธรทมิฬ ฯลฯ
ก็ยังดี ที่ตอนหลังยอมเทน้ำเสีย ออกมาไปบ้าง
แล้วก็เดินไปหาน้ำดื่มบริสุทธิ์มาเติม
ด้วยการอ่านแนวคิด ความรู้ของท่านอื่นๆ เพิ่มเติม
แล้วก็นำมาต่อยอด ดัดแปลง ประยุกต์ใช้
ความจริงถ้าเริ่มในโหมดนี้
จะมีสิ่งที่ภูมิใจอยู่อย่างคือ
กำไรที่ีได้มา มาจากฝีมือของตัวเราเอง ไม่ต้องติดหนี้บุญคุณใคร
ต้องวิจารณ์ตัวเองไปตามจริง แล้วก็แก้ไข้ไปตามนั้น
ต้องจำไว้อย่างหนึ่ง
ไม้ยิ่งแก่ ยิ่งดัดยาก
ยิ่งเสพติดข้อมูลความรู้ของคนอื่น ก็ยิ่งตัดสินใจเองไม่เป็น
๔ ต้นทุนทางสังคม
ก็พ่อแม่ สามีภรรยา ลูกและญาติมิตรของแต่ละคน
คอยเป็นแหล่งเงินทุน หรือคอยรบกวนขอเงิน
เป็นกำลังในการลงทุน หรือคอยคัทลอส ไม่ว่าเราจะลงทุนอย่างไร
อันนี้ แล้วแต่บุญแต่กรรมของแต่ละคน
ใครต้นทุนทางสังคมดี มีชัยไปกว่าครึ่ง
ของผม ถือว่ามีต้นทุนทางสังคมค่อนข้างดี
ไม่มีใครคอยขัด คอยแย้งหรือเข้ามายุ่งแบบ !@#$%^&*()_+
เลยไม่มีแรงกดดัน
จากนอกตลาดหุ้น มาซ้ำเติมความกดดันจากในตลาดหุ้น
สมมติเช่น ผมซื้อพีบีมาหุ้นละ ๔ บ่าท พอ ๘ บาท
กูรู้ที่อยู่ข้างตัวก็ออกบทวิเคราะห์ปั๊บว่า
เก็บไว้ทำไม ตลาดหุ้นดิ่งนรก เดี๋ยวมันก็ลง รู้จักขายทำกำไรบ้าง
ถือให้โง่ทำไม่ กำไรเห็นๆ
แรงกดดันนี้ ก็อาจจะทำให้ผมขายทิ้งไปตั้งแต่ตอน ๘ บาท เป็นต้น
๕ สามารถแบกรับผลกระทบจากกำไรและขาดทุนได้ระดับไหน
อันนี้ลองง่ายๆ ให้ถามคนใกล้ชิดในบ้านแต่ละคนว่า
จากสีหน้า อารมณ์ของเรา ดูออกหรือไม่ว่า
วันไหนหุ้นขึ้น วันไหนหุ้นลง
ถ้าหุ้นพุ่งพรวด หรือดิ่งเหว แล้วคนใกล้ชิดในบ้านบอกว่า ดูไม่ออก
แสดงว่า เราเริ่มมีอุเบกขาแล้ว สิ่งที่จะตามมาคือ
ประสิทธิภาพในการตัดสินใจลงทุน
ถ้ายังไม่ทันไรเลย คนใกล้ชิดเห็นหน้าปั๊บ
ทักทันทีว่า "วันนี้เจ๊งหุ้นมาหละซิ"
เชื่อว่า ผลต่างระหว่างสองแบบ จะสะท้อนไปที่ผลกำไร ขาดทุนในพอร์ตได้
ของผม เคยถามภรรยาแล้ว
คำตอบคือ ............................
๖ สามารถอดทน รอให้วิธีการที่ใช้แล้วเห็นผล ได้นานแค่ไหน
เอาง่ายๆ น่าจะประมาณว่า
วิธีการที่ใช้อยู่ ทำให้เกิดผลลัพธ์อะไร
ก. ทนถือหุ้น หรือการอดทนแบบแนวราบ
ยิ่งทนถือหุ้นไปนานเท่าไร มูลค่าพอร์ตก็ยิ่งเสียหายมากขึ้นเท่านั้น
อดทนแบบนี้ ก็คือการอดทนรอความเสียหายแบบไม่จำกัดเวลา
หรือไม่ก็ตรงกันข้าม
ไม่เคยอดทนถือหุ้นตัวไหนเลย ไม่ว่ามันจะดีหรือไม่ดี
และไอ้ที่เสียหายร้ายแรงที่สุดคือ
ดันอดทนถือหุ้นแย่ๆไว้ "ไม่ขาย ไม่ขาดทุน"
แต่พอหุ้นดีๆ ทนเห็นมันมีกำไรไม่ได้
ต้อง "ขายทำกำไร" ให้เห็นเป็นตัวเวินจริง
ข. ถือหุ้นทน หรือการอดทนแบบแนวดิ่ง
สามารถหาเหตุผล ที่ไม่ได้ตามใจชอบ มาตอบได้ว่า
ทำไมต้องถือหุ้นทน
อดทนแบบนี้ ก็คือการอดทนให้วิธีการที่ใช้
แสดงผลตามกรอบเวลาที่กำหนด
เช่น รอดูผลประกอบการได้นานหนึ่งปี
ก็ทนถือหุ้นไปหนึ่งปี ผลประกอบการดันออกมาดีขึ้นเรื่อยๆ สิบปีซ้อน
ก็ถือได้สิบปีซ้อน
ไม่ได้หมายความว่า จะต้องตะบี้ตะบันถือนานแค่ไหน
แต่ถือไปตามปัจจัยพื้นฐานของหุ้น
ตัวชี้วัดแบบกราฟ
ใช้รายสัปดาห์เป็นหลัก ก็ทนถือหุ้นได้นานเป็นเดือนเป็นปี
เพราะตัวชี้วัดระดับรายเดือนที่ตามมา มันชี้ไปในทางเดียวกันกับรายสัปดาห์
ความจริง ความสามารถตามปัจจัยพื้นฐานในข้อนี้
คิดดูดีๆ มันมาจากนิสัยนอกตลาดหุ้นของเราที่สะสมมาก่อน
ชีวิตก่อนเข้าตลาดหุ้นของแต่ละคน
มันจะสะท้อนมาที่ความอดทน และเหตุผลในการอดทนของแต่ละคน
จะว่าไปแล้ว แก่นแท้ของเราเป้นอย่างไร
มันก็จะสะท้อนออกมาที่พฤติกรรมการลงทุนในตลาดของเราด้วย
ถ้านอกตลาด พฤิตกรรมแบบนั้นทำให้เกิดผลเสีย
เอามาใช้ในตลาดหุ้น มันจะเกิดผลดีได้อย่างไร
นักลงทุนที่ใช้ ความสามารถตามปัจจัยพื้นฐานแบบ ก
ย่อมได้ผลแตกต่างจาก นักลงทุนที่ใช้ความสามารถแบบ ข.
ความจริงยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกหลายข้อ
แต่ยอมรับว่า
คิดไม่ออกครับ
ก็ขอจบความดิดเห็นนี้ ไว้เพียงเท่านี้ครับ
+
แก้ไขเมื่อ 21 ก.พ. 55 11:10:18
แก้ไขเมื่อ 21 ก.พ. 55 09:32:14
แก้ไขเมื่อ 21 ก.พ. 55 09:16:10
แก้ไขเมื่อ 21 ก.พ. 55 08:49:10
แก้ไขเมื่อ 20 ก.พ. 55 12:12:44
แก้ไขเมื่อ 20 ก.พ. 55 11:48:55
แก้ไขเมื่อ 20 ก.พ. 55 11:47:16
แก้ไขเมื่อ 20 ก.พ. 55 11:31:09
แก้ไขเมื่อ 20 ก.พ. 55 11:13:16
แก้ไขเมื่อ 20 ก.พ. 55 11:00:49
แก้ไขเมื่อ 20 ก.พ. 55 10:36:43
แก้ไขเมื่อ 20 ก.พ. 55 10:30:49
แก้ไขเมื่อ 20 ก.พ. 55 10:16:32
แก้ไขเมื่อ 20 ก.พ. 55 10:13:37
แก้ไขเมื่อ 20 ก.พ. 55 09:15:40