Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
มีคำตอบแล้ว : เมื่อสามีและภรรยาตกงาน ไม่มีงานประจำ วิธีคิดภาษี ภงด.90 เปลี่ยนไปอย่างไร{แตกประเด็นจาก I11764410} ติดต่อทีมงาน

จากกระทู้เดิมได้รับคำแนะนำจาก คุณ Steady Finance ให้ทดลองทำข้อมูลเข้า Excel เปรียบเทียบดู แต่ปัญหาคือกฎระเบียบวิธีคิดคำนวณที่ยังไม่เข้าใจลึกซึ้ง จึงไป download โปรแกรมช่วยคำนวณแบบ ภงด 90. Rdinet แบบติดตั้งบน Windows มาใช้จำลองทางเลือกและเปรียบเทียบผลว่า สิ่งใดทำได้ สิ่งใดโปรแกรมฟ้องไม่ยอมให้ทำ และคำตอบที่ถูกต้องน่าจะได้จากการทดลองนี้ โดยเชื่อว่าระบบโปรแกรมทำงานถูกต้องตามกฎทุกประเด็น  ผมจะแนบภาพของหน้าจอเปรียบเทียบให้ดูเข้าใจง่ายขึ้น

ในกรณีตัวอย่างนี้ สมมุติว่า สามีมีรายได้จาก มาตรา 40(4) เงินปันผลหุ้น 600,000  บาท ไม่มีรายได้ มาตรา 40(1) เช่นเดียวกับภรรยาที่มีรายได้จาก มาตรา 40(6) อาชีพอิสระ 300,000 บาท ไม่มีรายได้มาตรา 40(1)  ครอบครัวนี้มีบุตรหนึ่งคน

1. ครอบครัวนี้ต้องยื่นภาษี ภงด 90 เป็นฉบับเดียว แยกยื่นแบบไม่ได้  และต้องเลือกวิธี คู่สมรสมีเงินได้รวมคำนวณภาษี หากเลือกเป็นแบบคู่สมรสมีเงินได้แยกคำนวณภาษีจะผิดข้อระเบียบ  จะเลือกแบบคู่สมรสไม่มีเงินได้ ก็เสียสิทธิ เพราะความที่ภรรยาไม่มีเงินได้ มาตรา 40(1) แต่มีเงินได้มาตรา 40(6) บางที ก็จัดว่ามีรายได้ แต่บางมุมก็จัดว่าไม่มีรายได้
2. เมื่อชำระภาษีแบบคู่สมรสมีเงินได้รวมคำนวณภาษี ฝ่ายภรรยาจะสามารถหักค่าเบี้ยประกันชีวิตได้เต็ม 100,000 บาท  แต่ถ้าเลือกชำระภาษีแบบคู่สมรสไม่มีเงินได้ จะหักค่าเบี้ยประกันชีวิตได้เพียง 10,000 บาท
3. เนื่องจากคู่สมรสไม่มีเงินได้มาตรา 40(1) จึงหักค่าเงินบริจาคส่วนของภรรยาไม่ได้เลย   ไม่ว่าจะเลือกวิธีชำระภาษีแบบใด (กฎข้อนี้แปลกๆ อยู่ คิดไม่เหมือนหักค่าเบี้ยประกันชีวิต หรือ หักค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF/TLF)  ตารางการนำเข้าข้อมูลจะปิดไม่ยอมให้ป้อนข้อมูลนี้
4. เมื่อชำระภาษีแบบคู่สมรสมีเงินได้รวมคำนวณภาษี ฝ่ายภรรยาจะสามารถหักค่าซื้อหน่วยลงทุน RMF ได้ 15% ของรายได้มาตรา 40(6) เท่ากับ 45,000 บาท เช่นเดียวกับค่าซื้อหน่วยลงทุน LTF ได้อีก 45,000 บาท  หากเลือกเป็นแบบคู่สมรสมีเงินได้แยกคำนวณภาษีจะไปหักจากรายได้ มาตรา 40(1) ที่เป็นศูนย์อยู่ จึงไม่เกิดประโยชน์อันใด  (ข้อนี้ก็แปลกๆ อยู่ เวลาให้ซื้อกองทุน ก็เทียบจากรายได้ทุกๆ มาตรา 40  แต่เวลาจะหักค่าลดหย่อน กลับหักจากรายได้มาตรา 40(1) เท่านั้น)
5. เมื่อนำรายได้มาตรา 40(6) ของคู่สมรสมารวมกับรายได้ของผู้มีเงินได้คือสามีนั้น เวลาชำระภาษีแบบคู่สมรสมีเงินได้รวมคำนวณภาษี ก็จะนำยอดการหักลดหย่อนของคู่สมรสมารวมกับค่าลดหย่อนของสามีด้วย ก็ถือว่ายุติธรรมดี

คราวนี้มาดูหน้าจอเปรียบเทียบการทำข้อมูลเข้าแบบ คู่สมรสมีเงินได้แยกคำนวณภาษีจะอยู่ทางซ้ายมือ และ แบบคู่สมรสมีเงินได้รวมคำนวณภาษี จะอยู่ทางขวามือ

จากคุณ : TG2000
เขียนเมื่อ : 29 ก.พ. 55 12:32:26




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com