ทุนนิยมเสรีเน้นสองสิ่ง คือ แรงจูงใจ และระบบกลไกตลาด กล่าวคือ อย่างแรก ผู้ที่ทำมากก่อให้เกิดผลผลิตมาก ย่อมได้รับรางวัลส่วนแบ่งมาก แต่ไม่ใช่ทั้งหมด ทุกประเทศยังมีระบบภาษี และรัฐสวัสดิการ เพื่อนำผลิตผลส่วนหนึ่งไปให้บริการสาธารณะ สร้างโครงสร้างพื้นฐานสร้างกลไกตลาด ช่วยผู้ด้อยโอกาส เช่น
ประเด็นที่ Tesco Lotus โดนโจมตีบ่อยๆก็คือ ทุนต่างชาติบุกเข้ามาทำลายและทำให้ผู้ค้าปลีกในไทยลำบาก ประเด็นนี้ ผมว่ามันก็ถูกส่วนหนึ่ง แต่โลกธุรกิจ มันก็เป็นของมันอย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไรนะครับ
แต่ถ้าถาม Tesco Lotus ว่าเขามีมุมมองเรื่องนี้ยังไง เขาก็จะตอบว่า เขาก็กระจายรายได้ให้ชุมชนด้วยเหมือนกัน
1.พนักงานประจำที่ปฏิบัติงานอยู่ในสำนักงานใหญ่ ศูนย์กระจายสินค้า และสาขา ณ ตอนนี้ก็เกิน 36,000 คนเข้าไปแล้ว
2.Tesco Lotus เองก็บอกว่า ได้ซื้อสินค้าและใช้บริการจากคู่ค้าจำนวนมากกว่า 9,100 ราย คิดเป็นมูลค่าการซื้อสินค้าและบริการรวม 136,000 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายย่อย (SME)
3.คู่ค้าจำนวนกว่า 9,100 ราย ได้สร้างงานจำนวนกว่า 500,000 อัตราทั่วประเทศ นี่ยังไม่นับรวมถึงการสร้างงานในส่วนของผู้รับจ้างผลิตวัตถุดิบและผู้ให้บริการแก่คู่ค้าของเขา
4.Tesco Lotus ซื้อผัก และผลไม้โดยตรงจากเกษตรกรและคู่ค้าของเราในปริมาณกว่า 228,000 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 5,600 ล้านบาท
ไม่ได้เข้าข้างเขานะครับ ผมแค่อยากให้คนที่มีอคติกับเขา ได้มองเห็นอีกมุมหนึ่ง ผมเองก็มีน้องในซอยบ้านที่ลืมตาอ้าปาก เลี้ยงตัวเองได้ก็เพราะ Tesco Lotus นี่เหมือนกั
ref : คุณ Messenger
ดังนั้น ถ้าธุรกิจสัญญาไทยควรปรับตัวให้สามารถแข่งขันในโลกธุรกิจ ในโลกการค้าเสรี ให้ได้ครับ ดีกว่ามาใช้ระบบชาตินิยม โดยที่ตัวเอง
ไม่สามารถพัฒนาระบบบริหารจัดการฯให้ดีเท่าเทียม หรือดีกว่าครับ
ด้วยความเคารพ