|
http://topicstock.pantip.com/sinthorn/topicstock/2006/02/I4092018/I4092018.html
Position Sizing ของ Turtle Trading
สวัสดีครับ นักใช้เงินทำงานทุกท่าน
พอดีพี่คนล่าห่านถามเรื่อง position sizing ของ Turtle ผมเลยถือโอกาสมาโพสต์แบ่งปันความรู้อันน้อยนิดนะครับ
ผิดถูกอย่าว่ากันครับ (ความรู้น้อย)
1. วัตถุประสวค์ ของ Position Sizing (ใครรู้แล้วก็ข้ามไปเลยครับ)
จริงๆ แล้วก่อนจะทำ position sizing ต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ของ position sizing ก่อนครับ ว่ามันคือหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมความเสี่ยง (risk managment) โดยการกำหนด exposure หรือหน้าต่างความเสี่ยงไว้ในปริมาณที่เราควบคุมได้ และยอมรับได้
พูดเป็นภาษาชาวบ้านคือ ควบคุมให้ "ขาดทุนไม่เกิน XX เปอร์เซ็นต์" นั่นเองครับ
ระบบที่ดี คือระบบที่ได้กำไร
ระบบที่ได้กำไร ไม่ได้หมายความว่าจะขาดทุนไม่ได้
ระบบที่ได้กำไรมากกว่าขาดทุนเป็นระยะเวลายาวนาน คือระบบที่ดี
ไม่มีระบบใด perfect สมบูรณ์พร้อม ไม่มีใครที่ไม่เคยพลาด
ดังนั้น
risk management จึงเป็นหัวใจของการลงทุนทุกรูปแบบ
จากคุณ : ซีเค - [ 9 ก.พ. 49 12:45:16 ]
-----------------------------------------------------------------------------
2. Position Sizing
อันนี้เป็น original turtles ครับ คือระบบ ออกแบบมาสำหรับตลาด commodity ซึ่งใช้ margin ค่อนข้างสูง (คือวางเงิน 5%)
โดยหลักการคือ เมื่อราคาเปลี่ยนแปลง (ลดลงถ้า long หรือเพิ่มขึ้น ถ้า short) ถึงจุดที่จะต้องตัดสินใจ stop loss (ขายเมื่อ long หรือซื้อคืนเมื่อ short) จะต้องขาดทุนไม่เกิน threshold ที่เราตั้งไว้
เช่น ใน original turtle ตั้งกฎไว้ว่า การเปิด position หนึ่งครั้ง จะขาดทุนได้แค่ 1% ของมูลค่าพอร์ท
วิธีการคำนวณว่า จะซื้อ (หรือ short) ได้แค่ไหน ก็คือใช้วิธีคำนวณย้อนกลับ จากจุดนี้ครับ
จากคุณ : ซีเค - [ 9 ก.พ. 49 12:53:05 ]
-----------------------------------------------------------
3. Example for Stock Trading
ยกตัวอย่างเลยละกัน
สมมุติว่า:
* พอร์ทผมมีขนาด 1 ล้านบาท * ผมเล่น trading สำหรับหุ้นตัวนึง ราคาปัจจุบัน 100 บาท * ผมตั้งกฎขาดทุนที่ 2% ของพอร์ทต่อการเข้าซื้อ 1 ครั้ง
A) กำหนด position size จากราคา
ถ้าสมมุติระบบของเรา กำหนดให้ stop เมื่อราคาลงไป 95 บาท (หลุด low เก่าหรืออะไรก็แล้วแต่) นั่นก็คือ เราจะขาดทุน 5.5% (รวมคอมฯ) ในการ stop loss
เนื่องจากเราตั้งเป้าว่า จะขาดทุนต่อการเปิด position ไม่เกิน 2% ต่อครั้ง แสดงว่าเราซื้อหุ้นได้แค่ 2/5.5 ของทั้งพอร์ท คือ 36% ของ 1 ล้านบาท หรือ 360,000 บาท หรือ 3,600 หุ้นนั่นเอง
เพราะเมื่อเราคำนวณกลับ
3,600 x 100 บาท + คอมฯ = 360,808.92 บาท
เมื่อ cut loss ที่ 95 บาท
3,600 x 95 บาท - คอมฯ = 341,231.53 บาท
สิริรวมแล้ว ขาดทุน 19,577.39
หรือไม่เกิน 2% จาก 1 ล้านบาทนั่นเอง
จากคุณ : ซีเค - [ 9 ก.พ. 49 13:05:32 ]
จากคุณ |
:
แล้วแต่ท่านจะเรียก
|
เขียนเมื่อ |
:
19 มี.ค. 55 21:27:20
|
|
|
|
|