|
ลองดูจังหวะเวลาประกอบครับ จะเห็นรูปแบบการใช้อำนาจให้เป็นไปตามความต้องการของแต่ละกลุ่ม
พศ. 2535 รัฐบาลอานันท์ หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ให้เปิดดำเนินการสถานีโทรทัศน์เสรี ในระบบยูเอชเอฟ
พศ. 2538 ผู้ประมูลได้ คือ กลุ่มสยามทีวี เสนอผลตอบแทนสูงสุดประมาณปีละ 1,000 ล้านบาท ตลอดทั้งอายุสัมปทาน 25 ปี ประมาณ 25,000 ล้านบาท ด้วยสัดส่วนเนื้อหารายการข่าวและสาระ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 และรายการบันเทิงไม่เกินร้อยละ 30 กลุ่มนี้ มีแกนหลักคือ ธนาคารไทยพาณิชย์, บจก.สหศินิมา(มีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือหุ้นใหญ่), หนังสือพิมพ์เดลินิวส์, บจก.บอร์น แอนด์ เอสโซซิเอทท์ ของนายไตรภพ ลิมปพัทธ์, สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น, หนังสือพิมพ์ดอกเบี้ย และหนังสือพิมพ์ตงฮั้ว
ต่อมา ไอเอ็นเอ็น ดอกเบี้ย และตงฮั้วถอนตัวออกไป จึงดึงเครือเนชั่น คู่แข่งที่เข้าร่วมประมูลแต่ไม่ได้รับเลือก เข้าร่วมทุนด้วย
1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 เริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการ ในชื่อ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี
พ.ศ. 2540 ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ บริษัทฯ ขาดทุนอย่างหนัก ธนาคารไทยพาณิชย์ในฐานะผู้ถือหุ้นและเจ้าหนี้รายใหญ่ มีนโยบายที่จะแก้ปัญหาการขาดทุน โดยต้องการอำนาจการบริหารเบ็ดเสร็จ โดยผลักดันให้มีการแก้ไขสัญญาสัมปทาน โดยเฉพาะในเรื่องการกระจายผู้ถือหุ้น และจะนำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2543 รัฐบาลชวน หลีกภัย มีมติเมื่อวันที่อนุมัติให้มีการแก้ไขสัญญาสัมปทาน ให้เป็นไปตามข้อบังคับของ ตลท. และมีการแก้ไขสัญญาสัมปทานเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2543
ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ธนาคารไทยพาณิชย์ได้ดึงกลุ่มชิน คอร์ปอเรชั่น (ชินคอร์ป) เข้ามาถือหุ้นไอทีวีด้วยวงเงิน 1,600 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 39% ส่วนธนาคารไทยพาณิชย์ได้แปลงหนี้เป็นทุน มีสัดส่วน 55% โดยมอบสิทธิ์การบริหารให้กับชินคอร์ป โดยชินคอร์ปได้เสนอซื้อหุ้นสามัญฯ จากผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ด้วย ส่งผลให้กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ และส่งผู้บริหารเข้ามาบริหารไอทีวี ประกอบด้วย บุญคลี ปลั่งศิริ, สรรค์ชัย เตียวประเสริฐกุล, ทรงศักดิ์ เปรมสุข
ช่วงเวลาที่กลุ่มชินคอร์ปของตระกูลชินวัตรเข้าถือหุ้นใหญ่ในไอทีวี เป็นเวลาเดียวกับการลงสมัครรับเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกของ พรรคไทยรักไทย ที่มี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นหัวหน้าพรรค
ต่อมาเมื่อชินคอร์ปเข้ามาถือหุ้นในไอทีวีเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 มีการเข้าแทรกแซงของฝ่ายผู้บริหาร ในการทำข่าวการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 6 มกราคม 2544 ซึ่งเป็นการรายงานร่วมระหว่าง ไอทีวี และเครือเนชั่น ดังนี้ ... ...
3 มกราคม พ.ศ. 2544 กลุ่มผู้สื่อข่าวไอทีวี ออกแถลงการณ์ถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ขอให้ยุติการแทรกแซงการทำงานของฝ่ายข่าว โดยเชื่อว่าการแทรกแซงจะทำให้ไม่สามารถเสนอข่าวอย่างเป็นกลางและไม่สามารถรักษาความน่าเชื่อถือของสถานีโทรทัศน์ไอทีวีไว้ได้
7 กุมภาพันธ์ ผู้บริหารไอทีวี มีคำสั่งเลิกจ้างพนักงาน 23 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนที่ร่วมเคลื่อนไหว
9 กพ.2544 ทักษิณเป็นนายก
กลุ่มนักข่าวจำนวน 21 คน (มี 2 คนไม่ยื่นฟ้อง) ที่ถูกเรียกว่า กบฏไอทีวี ได้นำเรื่องการเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรมยื่นคำร้องไปยังคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ (ครส.) ว่าบริษัทกระทำการอันไม่เป็นธรรม ตามมาตรา 121 ของพ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
ครส.วินิจฉัยว่าการกระทำของไอทีวีไม่เป็นธรรมต่อผู้ถูกเลิกจ้าง และมีคำสั่งเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2544 ให้บริษัทไอทีวีรับพนักงานทั้ง 21 คนกลับเข้าทำงานเช่นเดิม แต่บริษัทกลับปฏิเสธและได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลแรงงานกลาง ขอให้เพิกถอนคำสั่ง ครส.
ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานได้พิพากษายืนตามคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2548
จากคุณ |
:
ช า ติ
|
เขียนเมื่อ |
:
วันจักรี 55 22:01:53
|
|
|
|
|