|
ไม่ต้องชดเชบเลย หากว่าทางกองทุนพิจารณาค่าnavใหม่และประกาศใช้ แต่อยากบอกว่ากองทุนฯผู้บริหารประสบการณ์ไม่พอ หรืออาจมีข่อติดขัดต่างๆที่ไม่อยากบอกผู้ลงทุน ทำให้พิจารณาผิดพลาด ใช้ราคาที่ผิดปรกติมาใช้ จึงเกิดเหตุการที่ต้องเรียกร้องให้ชดใช้ขึ้น
ที่ผมไม่ชอบคือ การที่ยอมรับว่าราคานั้นผิดปรกติ แต่ยังฝืนใช้ราคานั้นมาคำนวณครับ แทนที่จะพิจารณาใช้ราคาที่เ้ปิดช่องไว้อีกทางคือการที่ สามารถใช้ดุลยพินิจร่วมกับผู้ดูแลผลประโยชน์ในการกำหนดราคาที่เหมาะสมได้ แต่ไม่มี บลจ. ใดใช้ช่องทางดังกล่าว
ข่าวต่อเนื่องครับ
กองทุนอีทีเอฟทองคำปั่นป่วน นักลงทุนที่ได้รับความเสียหายร่วม 1,000 คน มีทั้งเจ้าของกิจการ แพทย์ อาจารย์ เดินหน้าพึ่งศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค นัดรวมพล 16 พฤษภาคมนี้ เรียกร้องให้ 8 บลจ.ชดเชยค่าเสียหาย จากกรณีราคาทองในตลาดสิงคโปร์ปรับตัวขึ้นผิดปกติ 10 % เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2554 ส่งผลให้ต้องใช้เงินลงทุนสูงขึ้น ทำให้ขาดทุนบาทละ 2,500 บาท ด้านสมาคมบลจ.เพิ่งตื่นนัดสมาชิกหารือสัปดาห์นี้เพื่อหาข้อสรุป จากกรณีราคาทองคำในตลาดสิงคโปร์ ปรับตัวสูงขึ้นผิดปกติถึง 10% เมื่อวันส่งท้ายปี 30 ธันวาคม 2554 และได้ส่งผลกระทบต่อกองทุนรวมทองคำในประเทศไทย ที่ลงทุนในกองทุนอีทีเอฟทองคำในประเทศสิงคโปร์ ผ่านกองทุนยักษ์ของโลก SPDR ส่งผลให้นักลงทุนในประเทศ ที่ลงทุนในกองทุนทองคำได้รับความเสียหาย จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาทองคำ โดยทำให้ต้องใช้เงินลงทุนที่สูงขึ้นกว่าปกติถึง 10% นั้น ล่าสุดผู้ที่ได้รับความเสียหาย ยื่นหนังสือถึงศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม ขอให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.) ชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ***นัดเผชิญหน้านักลงทุน-บลจ. -ก.ล.ต. นายคงศักดิ์ ชื่นไกรลาส เจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิเพื่อผู้บริโภค มพบ. เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า มูลนิธิได้รับหนังสือร้องเรียน จากกลุ่มผู้เสียหายจากการลงทุนในกองทุนทองคำ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2554 โดยมีราคาปรับขึ้นไปผิดปกติ ซึ่งผู้ลงทุนมีทั้งเจ้าของกิจการ นายแพทย์ และอาจารย์ เป็นต้น ทั้งนี้ มพบ.จึงอาสาเป็นสื่อกลางในการจัดประชุมผู้ที่ได้รับความเสียหาย ในวันที่ 16 พฤษภาคมนี้ และยังเชิญผู้ที่เกี่ยวข้อง อาทิ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) ตลอดจนบลจ.ทั้ง 8 แห่ง ที่มีการออกกองทุนอีทีเอฟทองคำ ที่มีการซื้อขายในตลาดสิงคโปร์ผ่านกองทุน SPDR ซึ่งเป็นกองทุนทองคำยักษ์ใหญ่ของโลก รวมถึงตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อไกล่เกลี่ยหาทางออก โดยศูนย์พิทักษ์สิทธิเพื่อผู้บริโภค ได้ส่งหนังสือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ แล้ว ***มพบ. เล็งฟ้อง นายคงศักดิ์ กล่าวอีกว่า หลังจากสมาคมบลจ.ได้รับหนังสือจากมพบ.แล้ว ได้ตอบกลับมาว่า จะขอหารือกับสมาชิก ซึ่งเป็นบลจ.ก่อน แล้วจะนำผลสรุปในที่ประชุมมาชี้แจงความคืบหน้าต่อไป ส่วนแนวทางหลังจากนี้ ทาง มพบ. ขอรอฟังผลสรุปจากผู้เสียหายก่อนว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ทั้งนี้ มพบ.ถือเป็นองค์กรเอกชน และทำหน้าที่ในการรับเรื่องร้องเรียน ผู้ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม รวมทั้งยังมีหน่วยงานศูนย์ทนายอาสา เพื่อช่วยเหลือในด้านจัดเตรียมหาทนาย เพื่อดำเนินการฟ้องร้องด้วย และหากเป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อภาพรวมในวงกว้าง ทางมพบ.จะดำเนินการร่วมฟ้องร้องด้วย อย่างไรก็ตามนายคงศักดิ์ยังกล่าวต่อว่า ที่ผ่านมามีเพียงบลจ.ทหารไทยแห่งเดียว ที่ได้ชดเชยส่วนต่างที่นักลงทุนได้รับความเสียหายแล้ว ***ขาดทุนบาทละ 2,500 บาท ด้านผู้ที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งเป็นนักธุรกิจเจ้าของโรงงานผลิตพลาสติกรายหนึ่ง ซึ่งเป็นตัวแทนที่จะไปร่วมเรียกร้องที่ มพบ.ในวันที่ 16 พฤษภาคมนี้ เวลา 13.00 น. กล่าวว่า ตนเองเป็นหนึ่งในผู้ที่ได้รับความเสียหาย จึงอยากจะออกมาเรียกร้อง ให้บลจ.ชดใช้ความเสียหายจากส่วนต่างที่เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2554 ซึ่งเป็นวันที่ราคาทองคำ ณ สิ้นวัน เปลี่ยนแปลงผิดปกติช่วงปิดตลาด โดยราคาปรับขึ้นไปช่วง 15 นาทีสุดท้ายก่อนปิดตลาด ซึ่งมีเพียง 1 ออร์เดอร์เท่านั้นที่สั่งซื้อราคาที่กว่า 160 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อออนซ์ หากแปลงเป็นเงินบาท ราคาจะอยู่ที่บาทละ 27,500 บาท หรือปรับขึ้น 10% จากวันก่อนหน้า ที่ระดับราคา 152 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อออนซ์ หรือเป็นเงินบาทที่บาทละ 25,000 บาท ราคาต่างกันถึงบาทละ 2,500 บาท โดยมีทั้งสิ้นจำนนวน 8 บลจ.ที่มีการอ้างอิงราคาในสิงคโปร์ แหล่งข่าวจากผู้ได้รับความเสียหายรายเดิมกล่าวอีกว่า ต่อมาเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2555 ราคาทองคำในตลาดสิงคโปร์ ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับปกติ คือ 152 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อออนซ์ นักลงทุนที่ลงทุนในวันที่ 30 ธันวาคม 2554 คือผู้ที่ขาดทุน บาทละ 2,500 บาท ยิ่งกว่านั้นบางกองทุนมีนโยบายลงทุนระยะยาว ในรูปแบบกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เพื่อหวังใช้เงินหลังเกษียณ ซึ่งบางรายมีกำลังออมเงินไม่สูงประมาณ 20,000 บาท ดังนั้นเมื่อราคาปรับลงมาประมาณ 10% และขาดทุนประมาณ 2,000 บาท เงินออมก็ลดลงด้วย ทั้งนี้สำหรับส่วนตัวเป็นผู้ที่ลงทุนทองคำเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2554 มูลค่า 2 ล้านบาท ***โวยบลจ.เมิน ผู้ได้รับความเสียหายรายนี้กล่าวต่อว่า ที่ผ่านมาได้ส่งหนังสือให้กับสมาคมบลจ. และได้โทรศัพท์ไปร้องเรียนต่อสำนักงานก.ล.ต. แม้ว่าจะมีการปรับปรุงแก้ไขการคำนวณราคาเอ็นเอวีใหม่ โดยเฉพาะวันที่ราคาซื้อขายไม่ปกติแล้วก็ตาม แต่ยังไม่มีแนวทางที่จะเยียวยาผู้ที่เสียหาย จากราคาปิด ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2554 เหตุการณ์ครั้งนี้ไม่ใช่ครั้งแรก เคยเกิดขึ้นมาแล้วเมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2554 แต่ครั้งนั้นมูลค่าการซื้อขาย หรือโวลุ่ม ไม่มากเท่าครั้งนี้ และราคาก็ปรับขึ้นไปเพียง 4% เท่านั้น จึงมีการชดเชยค่าเสียหายที่เป็นส่วนต่างให้นักลงทุน แต่ครั้งนี้กลับไม่ดำเนินการเหมือนเช่นเคย ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะมีโวลุ่มสูง และจำนวนนักลงทุนที่เข้ามาซื้อขายมากกว่าครั้งก่อน ***คาดนักลงทุนเสียหายร่วม 1,000 ราย อนึ่ง รายงานการวิจัยของดร.ชนวีร์ สุภัทรเกียรติ นักวิจัยและอาจารย์ประจำสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง "ช่องโหว่ของกองทุนทองคำไทย" ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2555 ระบุว่า มูลค่าการซื้อขายกองทุนทองคำในวันที่ 30 ธันวาคม 2554 มีประมาณ 850 ล้านบาท และคาดว่าจะมีผู้ที่เสียหายร่วม 1,000 คน ขณะที่ดร.ชนวีร์ กล่าวยอมรับว่า ตนเองเป็นอีกผู้หนึ่ง ที่ได้รับความเสียหายจากการลงทุนในครั้งนี้ และแม้มีมูลค่าไม่สูงมาก แต่ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก จึงได้รวบรวมข้อมูลและเขียนเป็นรายงาน เรื่อง "ช่องโหว่ของกองทุนเปิดทองคำในไทย" พร้อมแสดงความเห็นว่า ไม่เป็นธรรมกับนักลงทุน ดร.ชนวีร์ ยังเปิดเผยข้อมูลกองทุนทองคำไทย ที่ราคาหน่วยลงทุนสูงเกินไปถึง 9.42% ซึ่งเป็นกองทุนที่อ้างอิงราคากองทุนทองคำสิงคโปร์ (SPDR GLD 10 US$) คือ บัวหลวงโกลด์ฟันด์, บัวหลวงโกลด์เพื่อการเลี้ยงชีพ, เค โกลด์, เค โกลด์เพื่อการเลี้ยงชีพ, กรุงศรีโกลด์, กรุงศรีโกลด์เพื่อการเลี้ยงชีพ, เคแทม โกลด์ ฟันด์, เคแทม โกลด์ เพื่อการเลี้ยงชีพ, วรรณโกลด์ เพื่อการเลี้ยงชีพ, ไทยพาณิชย์โกลด์, ไทยพาณิชย์โกลด์ THB เฮดจ์, ไทยพาณิชย์โกลด์ THB เฮดจ์ เพื่อการเลี้ยงชีพ, ทหารไทย โกลด์ สิงคโปร์, ทหารไทย โกลด์ สิงคโปร์ เพื่อการเลี้ยงชีพ และ ยูโอบี โกลด์ เพื่อการเลี้ยงชีพ เป็นต้น ***สมาคมบลจ.นัดถกด่วน ด้าน ดร.สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บลจ.ทหารไทยฯ ในฐานะนายกสมาคมบลจ. กล่าวว่า สมาคมบลจ.ได้รับหนังสือร้องเรียนแล้ว และภายในสัปดาห์นี้ (14-18 พ.ค.55) จะเรียกประชุมสมาชิกเพื่อหารือ ซึ่งได้ข้อสรุปอย่างไรก็จะแจ้งให้ผู้ที่ยื่นหนังสือ และนำเสนอศูนย์พิทักษ์สิทธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.)ต่อไป อนึ่ง เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2555 ก.ล.ต.ได้ประชุมร่วมกับสมาคมบลจ. โดยได้ข้อสรุปในการคำนวณราคาต่อหน่วย (เอ็นเอวี) ของกองทุนทองคำ โดยนายวรพล โสคติยานุรักษ์ เลขาธิการ ก.ล.ต.เปิดเผยว่า กรณีที่เห็นว่าราคาปิดผิดปกติ บลจ. จะใช้ราคาที่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของโกลด์อีทีเอฟ เช่น อินดิเคทีฟเอ็นเอวี (Indicative NAV) ของโกลด์อีทีเอฟ ซึ่งคำนวณจากราคาทองคำในตลาดซื้อขายทองคำ มาใช้ในการคำนวณ เอ็นเอวีของกองทุนไทย ส่วนในกรณีที่ราคาปิดเป็นปกติ บลจ. ยังคงใช้ราคาปิดของ โกลด์อีทีเอฟ มาคำนวณเอ็นเอวีของกองทุนไทยตามปกติเช่นเดิม ซึ่งเป็นผลจากกรณีที่ราคาปิดของกองทุนรวมทองคำ ที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ มีความผิดปกติ เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2554 ส่งผลกระทบต่อการคำนวณเอ็นเอวี ของกองทุนรวมทองคำในไทย ซึ่งแม้ว่าประกาศสมาคมบลจ.ในปัจจุบัน จะเปิดช่องให้บลจ. สามารถใช้ดุลยพินิจร่วมกับผู้ดูแลผลประโยชน์ในการกำหนดราคาที่เหมาะสมได้ แต่ไม่มี บลจ. ใดใช้ช่องทางดังกล่าว ***ลงทุนโกลด์อีทีเอฟสิงคโปร์ 3.7 หมื่นล้าน จากการรวบรวมข้อมูลของ"ฐานเศรษฐกิจ" พบว่า ณ วันที่ 4 เมษายน 2555 มีกองทุนทองคำในประเทศทั้งระบบ 31 กองทุน บริหารโดย 16 บลจ. มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ(เอ็นเอวี) รวม 48,398 ล้านบาท ในจำนวนดังกล่าว มีกองทุนทองคำที่ลงทุนในกองทุนอีทีเอฟทองคำสิงคโปร์ รวม 15 กองทุน มีเอ็นเอวีรวม 37,320 ล้านบาท (ดูตารางประกอบตัวอย่างกองทุนทองที่ลงทุนในกองทุนอีทีเอฟทองคำสิงคโปร์)
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,740 17-19 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
จากคุณ |
:
ฮะ ว่าไงนะ
|
เขียนเมื่อ |
:
18 พ.ค. 55 06:21:00
|
|
|
|
|