*** หม่อมฯ_เสียฅน ; โดนสวน >> เอกชนจวก กทม.เซ็น เอื้อ... BTS
|
|
เดลินิวส์ (จ. 14 พค. 55 ; 07.43น.) : เอกชนจวก กทม.เซ็น เอื้อ "BTS" ชี้อนาคต มีอำนาจต่อรองได้มากกว่า จากกรณี ที่กทม. โดยบริษัทกรุงเทพธนาคม หรือ KT ได้ลงนามสัญญาว่าจ้าง บ.มจ BTSC ผูกขาดเดินรถไฟฟ้าล่วงหน้า 30ปี วงเงินเกือบ 190,000ล้านบ.
แหล่งข่าว จากวงการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ กล่าวว่า... การดำเนินการครั้งนี้ ส่อเจตนาไปทาง เอื้อให้... BTSC ได้รับผลประโยชน์_อย่างเต็มที่ , ในขณะที่ เหตุผลชี้แจงโดยเฉพาะเรื่อง สาเหตุที่ต้องรีบลงนามในสัญญาว่าจ้าง ก่อนที่สัญญาสัมปทานเดิมจะหมดหลายปีนั้น " ฟั ง ไ ม่ ขึ้ น " แถม ทำให้ กทม. ... เสียประโยชน์ อีกต่างหาก เพราะ ราคาที่ว่าจ้างนี้ กทม. ได้ราคา ที่ถูกจริงหรือไม่? & ที่สำคัญ ทำไมๆ ต้องรีบเซ็นก่อนหมดอายุสัมปทานถึง 17ปี , ถ้าเซ็นหลังจากนี้ จะแพงมากหรือยังไง? เพราะ แทบไม่เคยเห็น การเซ็นจ้างล่วงหน้าก่อนหมดสัญญาสัมปทาน นานขนาดนี้ หาก กทม. รอถึงช่วงใกล้หมดอายุสัมปทาน , แล้วค่อยทำการเจรจาว่า จ้าง BTSC มาเดินรถจะทำให้ กทม.มีอำนาจต่อรองสูงกว่า เพราะในช่วงนั้นจะมีโครงข่ายรถไฟฟ้า มากกว่า... ในปัจจุบันมาก *
อย่างน้อย ภายใน 4 - 5ปีนี้จะมีโครงข่ายรถไฟฟ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) 1) สายสีม่วง บางใหญ่–บางซื่อ 2) สายสีน้ำเงิน บางซื่อ-ท่าพระ หัวลำโพง-บางแค หรือ... 3) สายสีเขียว ส่วนต่อขยาย แบริ่ง-สมุทรปราการ หมอชิต-สะพานใหม่
หากรอเจรจาในตอนนั้น กทม. จะมีอำนาจต่อรอง สูงกว่า... แน่นอนเพราะมีโครงข่ายที่จะมาสนับสนุนโครงข่าย ของBTSC โดยเฉพาะปริมาณผู้โดยสาร ที่จะสูงขึ้นมาก , ขณะที่ BTSC จะหมดสัญญาสัมปทาน ไม่มีงานทำแล้ว ด้วย
นอกจากนี้แล้ว ในอนาคต ยังจะมี... บริษัท ที่เข้ามาแข่งขันมากขึ้น! เพราะ จะมีบริษัทที่มีความสามารถเดินรถ ได้มากกว่าปัจจุบัน เนื่องจาก มีโครงข่ายรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ซึ่งตามหลักการสากล การเปิดการประมูลย่อมเป็นผลดีด้านราคาว่าจ้าง แก่ภาครัฐมากกว่าอยู่แล้ว เพราะมีการแข่งขันกันด้านราคา & ความสามารถ อยู่แล้ว ส่วนเหตุผลที่ กทม. อ้างว่า เซ็นจ้างตอนนี้ จะเป็นการประกันว่า BTSC จะต้องมีการเพิ่มจำนวนรถไฟฟ้าในอนาคต & จะต้องรักษาสภาพรถให้อยู่ในสภาพดี ตลอดอายุว่าจ้าง 30ปี_นับจากนี้ หากเซ็นตอนหมดอายุสัมปทานอีก 17ปี รถไฟฟ้าก็จะอยู่ในสภาพไม่ดีนั้น เท่าที่ทราบมาการลงนามสัญญาสัมปทานที่ผ่านมานั้นเป็นระบบ BOT (Build-Operate-Transfer) , BTSC มีหน้าที่ ต้องเพิ่มจำนวนรถตามปริมาณผู้โดยสาร & ถึงเวลาหมดอายุสัญญาสัมปทานก็จะต้องส่งมอบตัวรถไฟฟ้า ที่อยู่ในสภาพใช้งานได้อยู่แล้ว ที่ผ่านมา ตอน กทม.เซ็นว่าจ้าง BTSC เดินรถไฟฟ้า ส่วนต่อขยายเส้นทางตากสิน-วงเวียนใหญ่ กับ อ่อนนุช-แบริ่ง ก็ได้ให้เหตุผลของภาระที่จะต้องซื้อรถไฟฟ้าเพิ่ม เพื่อมาวิ่งบริการส่วนนี้ จึงบวก(+) ค่าซื้อรถไฟฟ้าอยู่ในค่าจ้างเดินรถด้วย เท่ากับ เป็นการผลักภาระค่าซื้อรถ ให้กับ กทม.ไปด้วย
แหล่งข่าวจาก วงการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่กล่าว ประเด็นที่ กทม. บอกว่า ป้องกัน การที่รัฐบาล_กลาง จะมาฮุบกิจการรถไฟฟ้า BTS ในอนาคตนั้น ก็ฟังไม่ขึ้น เช่นกัน เพราะ การที่รัฐบาล จะมาฮุบกิจการในช่วงนี้นั้น ก็ต้องเจรจาเรื่อง ราคาหุ้นของBTSC ซึ่งหากรัฐบาล ให้ผลประโยชน์ไม่ตรงกับความพอใจของBTSC ทางบริษัทฯ ก็ย่อมไม่ขายกิจการให้รัฐ รัฐบาลจะไปบังคับภาคเอกชนได้อย่างไร? ดูแล้วเรื่องนี้ กทม. มีเจตนาเอื้อประโยชน์ต่อBTSC อย่างชัดเจน & ยังให้ KT มีอำนาจลงนามว่าจ้าง บริษัทเอกชนมาดำเนินกิจการแทน กทม. ได้
* ยิ่งบอกว่า เตรียมการมาแล้วถึง 2ปี ก็ยิ่ง พลอยชี้ให้เห็นว่า มีเจตนาจ้างBTSC โดยไม่รอให้มีการเปิดประมูลแข่งขัน ในอนาคต ซึ่งเรื่องนี้จะสร้างปัญหาให้กับ กทม. ตลอดไป จนถึง พรรค ปชป.ที่เป็นต้นสังกัดของผู้ว่าฯ กทม. เพราะ มีอย่างที่ไหน กทม.ลงทุนเอง ในส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า + ภาครัฐ ก็ลงทุนโครงข่ายรถไฟฟ้าอื่นๆ มาเชื่อมต่อในอนาคตทุกอย่าง โดยที่ BTSC ไม่ลงทุนแล้ว แต่พอมีกำไรถึง 300,000ล้านบ. BTSC รับไปคนเดียว เกือบ 200,000ล้านบ. มันยุติธรรมหรือไม่ ?
จากคุณ |
:
ศิษย์ซุนวู
|
เขียนเมื่อ |
:
14 พ.ค. 55 23:24:46
|
|
|
|