|
ก่อนอื่นกฤษฎีการไม่มีอำนาจชี้ถูกผิดได้ เป็นเพียงหน่วยงานที่ปรึกษาทางกฎหมายของรัฐ มีหน้าที่ให้ความเห็นเท่าที่หน่วยงานของรัฐตั้งคำถาม หน่วยงานของรัฐที่ไปดำเนินการนอกเหนือจากกรอบคำถามย่อมต้องรับผิดชอบต่อการกระทำเอง
ดังนั้นที่ว่า .....การดำเนินการของ กทม. ได้ทำตามกฤษฎีกาที่เคยตีความว่าการว่าจ้าง O&M ในส่วนต่อขยายไม่ได้เป็นการร่วมทุน จึงไม่ต้องเข้า พรบ.ร่วมทุนฯ จึงได้ดำเนินการว่าจ้างในส่วนของเส้นทางหลักและเซ็นสัญญาไปเมื่อ 3 พ.ค. 2555 ...... สรุปว่าที่จ้างในส่วนต่อขยายที่กทมลงทุนเองทั้งหมดไม่ได้เป็นการร่วมทุน แต่สัญญาจ้างครั้งนี้ไปจ้างเดินรถในส่วนเดิมที่ BTS ลงทุนเป็นสัมปทาน ตรงนี้ ทั้งขัดเรื่องร่วมทุน ขัดเรื่องการจัดจ้าง ขัดเรื่องการผูกพันงบประมาณ
และที่สำคัญ การมีระเบียบ ข้อบัญญัติที่ไปแก้เพื่อรองรับให้เกิดการเอื้อเอกชน การพิจารณษเขาดูเจตนาไม่ใช่เอกสารที่ไปแก้ไขเพื่อรองรับให้ถูกกฎหมาย
ถึงแม้ในส่วนต่อขยายก็ยังไม่ชัดว่าขัดร่วมทุนหรือไม่ เพราะการเช้าไปดำเนินการบนทรัพย์สินของรัฐที่เกิน 1,000 ล้าน ก็ปปช เพิ่งชี้มูลว่าขัดร่วมทุน ก็กรณี กสท ไปจ้างทรูดำเนินการ 3G บนระบบฮัทช์ที่ซื้อมาเพราะระบบฮัทช์นั้นเป็นระบบสัมปทานที่ได้ไปจาก กสท อีก 7 ปีจะหมด แค่นี้ยังถูก ปปช ชี้มูลว่าขัดแล้ว
จากคุณ |
:
คุณนายสะอาด
|
เขียนเมื่อ |
:
16 พ.ค. 55 10:40:43
|
|
|
|
|