Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
บัญญัติ 10 ประการ....สำหรับการเล่นหุ้น ติดต่อทีมงาน

นำบทความดีๆมาฝากครับ  

ตำราพิชัยยุทธ์ เล่มที่ 1

บัญญัติ 10 ประการ....สำหรับการเล่นหุ้น....ให้ท่านทั้งหลายที่เข้ามาในกระทู้นี้ได้นำ ไปพิจารณา....เชื่อมโยงกับกลยุทธของท่าน....เพื่อการตัดสินใจต่อการลงทุนต่อ ไปก็แล้วกันนะ....

1. เน้นการลงทุนให้เป็นไปตามแนวโน้มของตลาดรวม....อ่อนให้สงบ...แข็งให้สู้...ทรุดให้หนี...ดีให้เข้า

2. เล่นหุ้นให้มีกฏมีเกรณ....ต้องวิเคราะห์ได้....วิจัยเป็น...อ่านให้ขาดหุ้นตัวไหนเลว ตัวไหนดี.....สามารถประเมินมูลค่าราคาหุ้นได้

3. รู้จักการคาดการณ์ พฤติกรรมการเล่นหุ้นของมือใหญ่ ....หรือพวกที่เป็นผู้นำตลาด.....และพยายามมองอ่านเกมลึกไปถึงพฤติกรรมการ เคลื่อนไหวของหุ้นเป้าหมาย...หรือหุ้นที่นำตลาด...เพื่อมองภาพการเคลื่อนไหว ที่จะเชื่อมโยงไปถึงภาพรวมใหญ่ของตลาดได้

4. ควรจดจำไว้เสมอว่า....การเล่นหุ้นนั้นมีความเสี่ยง....ทุกย่างก้าวในการเล่น หุ้นจึงต้องใช้ความระมัดระวังให้มากๆ....และควรคิดเสมอว่า....การเล่นหุ้น นั้นคือ...เกม..

5. เมื่อเวลาซื้อหุ้นให้ประเมินว่ามีโอกาสจะทำกำไรได้หรือไม่....ถ้าคลุมเคลือ ไม่ชัดเจน ไม่มีความมั่นใจ อย่าได้ซื้อหุ้นเด็ดขาด....เพราะการซื้อหุ้นนั้นท่านต้องมองเห็นอนาตคให้ได้ ....ในเวลาเดียวกันการขายหุ้นก็ต้องเน้นขายเพราะท่านต้องมีจุดประสงค์.... กล่าวคือเพื่อเปลี่ยนตัวหุ้นที่ดีกว่า...เพราะเห็นว่าหุ้นของท่านเริ่มอืด อาดแล้ว...หรือมองแนวโน้มตลาดโดยรวมแย่

6. รู้จักการปรับพอร์ตให้เป็น.....อย่านิ่งเฉย...ปล่อยให้ความสูญเสียก้าวมาถึง จนไม่สามารถแก้ไขอะไรได้....ท่านต้องเป็นผู้ที่เล่นหุ้นได้ทั้งขาขึ้น และ ขาลง ปรับพอร์ตคงเงินสด ลดใบหุ้น หรือเพื่อหุ้น ลดเงินสด ตามจังหวะและโอกาสในช่วงนั้นๆ

7. ไม่เป็นผู้ที่ขาดสติ...เป็นคนใจร้อน....ขาดเหตุผล...และหวังคิดชนะตลาดอยู่ ร่ำไป....ซึ่งจะทำให้ท่านมีมุมมองที่ผิดเพี้ยน ....เช่นหุ้นยิ่งลงท่านยิ่งซื้อ ที่สุดก็ติดหุ้นอย่างแน่นอน....และบางครั้งการขาดสติ อาจทำให้ท่านเล่นหุ้นผิดจังหวะ เสียรอบ ที่ควรได้กับไม่ได้ ที่ไม่ควรเสียกับเสีย

8. เล่นหุ้นต้องรู้จักพึ่งตนเองเป็นสำคัญ....อย่าหูเบา...เชื่อคนง่าย...เพราะ เรื่องของหุ้นมันเป็นเรื่องของผลประโยชน์...เป็นเรื่องของภาพลวงตา....ดัง นั้นตัวของเราคือต้องเป็นที่พึ่งของเราเองอย่างแท้จริง

9. เสริมสร้างความรู้ในเรื่องหุ้นให้ต่อเนื่อง....รู้จักอ่าน...รู้จักฟัง... รู้จักพิจารณา.....ศึกษาให้ชัดเจน...ควรติดตามเรื่องราว...การเมือง... เศรษฐกิจ....สังคม...ทั้งภายในภายนอกประเทศ....ศึกษาความเป็นมาเป็นไปของตัว หุ้นให้ละเอียด

10. เมื่อประสบความสำเร็จในตลาดหุ้นแล้ว....ให้รู้จักเก็บออม...รู้จักบริหาร เงิน....รู้จักการลงทุนที่ถาวรทำธุรกิจส่วนตัว....และอย่าลืมบริจาคทำบุญทำ ทานกันบ้างก็แล้วกันนะ....เพราะเงินที่ได้จากตลาดหุ้นนั้น...ควรคิดเสมอว่า ส่วนหนึ่ง...ท่านจะได้จากผู้ที่สูญเสียในตลาดนั้นแหล่ะครับ......

ขอให้ทุกท่านที่เข้ามาอ่านในกระทู้นี้....ลองนำบัญญัติ 10 ประการนี้ค่อย ๆ ปรับปรุงให้เข้ากับกลยุทธของท่านที่มีอยู่เพื่อการลงทุนโดยมีเป้าหมายที่ ประสบความสำเร็จต่อไปครับ....โชคดีจงเป็นของท่านเสมอ.....สวัสดี


กลยุทธพิชิตหุ้น.....10 อย่า 10 ควร 20 ต้อง



ตำราพิชัยยุทธ์ เล่มที่ 2

กลยุทธพิชิตหุ้น 10 อย่า 10 ควร 20 ต้อง..........

10 อย่า

1.อย่าเล่นหุ้นด้วยอาการงงกับตลาดและงงตัวเอง
2.อย่าแห่ตามจนไร้สติ
3.อย่ามั่นใจกับภาวะตลาดจนเกินไป
4.อย่าตั้งเป้าทำกำไรไว้ตายตัว
5.อย่าเชื่อข่าวอินไซด์มากระวังจะถูกหลอก
6.อย่าเล่นหุ้นมากตัว
7อย่าเล่นหุ้นเกินกำลังตัวเอง
8.อย่าหูเบาเชื่ออะไรง่าย
9.อย่าประมาทกับตลาดหุ้นเด็ดขาด
10.อย่าเป็นผู้ที่ติดหุ้นในราคาสูง


10 ควร

1. ควรคาดหวังแต่ต้นเริ่มซื้อหุ้นว่าซื้อแล้วต้องไม่ขาดทุน
2.ควรรู้เขารู้เราอ่านกันให้ออก โดยเฉพาะแนวโน้มตลาด
3.ควรเล่นหุ้นที่มีพื้นฐานรองรับ หรือเป็นหุ้นติดตลาด
4.ควรติดตามค้นหาข้อมูล ทำการบ้าน
5.ควรเล่นหุ้นอย่างมีหลัก มีกติกา ไม่ใช้อารมณ์ตัดสิน
6.ควรเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อรองรับสิ่งที่เลวร้ายซะก่อน
7.ควรหลีกเลี่ยงหุ้นที่มีปัญหา
8.ควรบอกตัวเองเสมอว่าราคาหุ้นนั้นคือภาพลวงตา
9.ควรแยกแยะให้ออกหุ้นไหนเก็งกำไร หุ้นไหน ลงทุน
10.ควรซื้อหุ้นเพราะมองเห็นอนาคต


20 ต้อง

1. ต้องติดตามกระแสปัจจัยเกี่ยวพันตลาดฯ
2.ต้องศึกษาตัวหุ้นก่อนเข้าซื้อ หรือขาย
3.ต้องอ่านแรงซื้อแรงขายหุ้นที่เล่นด้วยให้ออก
4.ต้องรู้จักตัดขายแต่ต้นทาง
5.ต้องรู้จักอดทนรอคอย ในแต่จังหวะ ในแต่ละรอบ
6.ต้องรู้จักประเมินความเสี่ยง
7.ต้องปรับพอร์ตลดเพิ่มให้เป็น
8.ต้องรู้จักทิศทางแนวโน้มขาขึ้นขาลงของตลาดให้ได้
9.ต้องอ่านทางนักลงทุนรายใหญ่ พวกสถาบันให้ออก
10.ต้องรู้จักลักษณะเฉพาะตัวของหุ้นที่จะเล่นให้ได้
11.ต้องเล่นให้เป็นทั้งสั้นและยาว
12.ต้องรู้จักเล่นเก็งกำไรผสมผสานกับการลงทุน
13.ต้องไม่แก้ปัญหาจนกลายเป็นแย่
14.ต้องระวังอย่าเล่นผิดจังหวะ
15.ต้องไม่วาดฝันสวยหรูจนเกินไปโดยความจริงยังไม่เกิด
16.ต้องรู้จักพึ่งตนเองเป็นสำคัญ
17.ต้องไม่ซื้อถั่วเฉลี่ยหุ้นขาลงโดยเด็ดขาด
18.ต้องซื้อถั่วเฉลียขึ้น หรือแนวโน้มในระยะต่อไปดูดี
19.ต้องไม่รักหุ้นเป็นเด็ดขาด
20.ต้องรู้จักเก็บกำไรบ้างเผื่อไว้ขาดทุนภายหน้า

ความผิดมหันต์ 7 กระทง ของนักลงทุน(หุ้น)



ตำราพิชัยยุทธ์ เล่มที่ 3

ความผิดมหันต์ 7 กระทง ของนักลงทุน(หุ้น)
เนื้อหานี้ย่อและคัดใจความมาจาก MSN Money Central

หัวข้อ Careful Investor -- นักลงทุนผู้รอบคอบ
เรื่อง ความผิดมหันต์ 7 กระทง

ถ้าหากคุณเป็นผู้กระทำผิดตามนี้ คุณมีเพื่อนเยอะครับ นักลงทุนหลาย ๆ ท่านตกเป็นเหยื่อของความมั่นใจเกินเหตุ ซื้อ-ขายบ่อยครั้งเกินความจำเป็น และไม่เห็นความเสี่ยงอยู่ในสายตา และเราจะเสียใจกับความผิดพลาดเหล่านี้

เราทุกคน (ไม่มียกเว้น) ได้เคยตัดสินใจผิดพลาดในเรื่องการลงทุน สำหรับบางท่านแล้ว สิ่งที่แตกต่างระหว่างอดีตและปัจจุบันคือการที่อินเตอร์เน็ตเข้ามามีส่วน ช่วยเราในการตัดสินใจและให้อำนาจในการควบคุมมากขึ้น นักเก็งกำไรรายวันมีอยู่ทั่วทุกหนแห่ง คนเป็นหมื่นติดตามราคาหุ้นจากที่บ้านหรือสถานที่ทำงานทุกวัน ๆ เราสามารถตัดสินใจ(และซื้อ-ขาย)ได้ในทันทีทันใดซึ่งอาจจะก่อผลดีหรือผลเสีย ต่อเงินในบัญชีเราได้

ที่ว่ามานี้เป็นทั้งประโยชน์และโทษต่อเรา เพราะมันอาจจะทำให้เรากระทำผิดพลาดได้ง่ายกว่านักลงทุนรุ่นพ่อหรือรุ่นปู่ ของเรา แต่ข้อสำคัญคือ "อย่าให้เรากระทำผิดซ้ำสอง" ที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นความผิดพลาดอย่างรุนแรง 7 กระทง

1. Chasing Performance "ซื้อตามหุ้นแรง" นักลงทุนหลาย ๆ คนซื้อหุ้นตอนอยู่ยอดดอย หลังจากที่มันขึ้นไม่หยุด ดูจากตัวอย่างที่เกิดขึ้นที่ญี่ปุ่น กองทุนเช่น Fidelity Japan (FJPNX) พุ่งขึ้น 170% จากราคาเมื่อต้นปี และทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากใน chatroom ของ MSN MoneyCentral ว่าควรจะซื้อกองทุนนี้หรือไม่ เวลาที่ควรซื้อกองทุนนี้คือเมื่อมกราคมที่ผ่านมา!!! (ดูอีกตัวอย่างก็คือ KK ของบ้านเราตอนที่มันวิ่งไม่หยุดนั่นแหละ โน่น 80 ก่า ๆ หรือดู EFS เมื่อสามเดือนที่แล้ว)

2. Misunderstanding Risk "มีความเข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับความเสี่ยง" นักลงทุนบางท่านเลือกลงทุนแบบ "รวยหรือหมดตัวไปเลย" และเรียกตัวเองว่าเป็นคนชอบความเสี่ยง ที่จริงแล้วคนเราไม่ได้เกิดมาพร้อมกึ๋นและการรักความเสี่ยง

ในความเป็นจริงแล้ว "การบริหารความเสี่ยงที่ยอมรับได้" นั้นเป็นเหมือนกล้ามเนื้อ มันสามารถพัฒนาได้ด้วยความรู้ ประสบการณ์และการฝึกฝน ฝึกฝนมาก ๆ ด้วย ผมอยากให้นักลงทุนฝึกและทำความเข้าใจกับการบริหารความเสี่ยงมาก ๆ

เรื่องตลกคือนักลงทุนเป็นจำนวนมากไม่รู้สึกว่าหุ้นหรือกองทุนที่เป็นกระทิงวิ่งไม่หยุด นั้นมีความเสี่ยงมากต่อการสูญเสีย

การยอมรับความเสี่ยงมากนั้นหมายถึงการที่เราอาจจะหกล้มหัวฟาดพื้นได้ เราเห็นตัวอย่างจาก Fidelity Disciplined Equity (FDEQX) ที่ให้ผลตอบแทนมากกว่า S&P 500 อย่างเปรียบกันไม่ได้ และต่อมาไม่นานกองทุนนี้ก็เริ่มมีผลตอบแทนน้อยลงกว่า S&P 500 และนักลงทุนหลาย ๆ คนก็ช๊อค

3. Loss aversion. "ไม่ยอมเสีย(น้อย)" นักจิตวิทยาผู้ที่ทำการตรวจวัดเรื่องนี้ พบว่าคนทั่วไปไม่ชอบเสียเงิน เราจะรู้สึกเจ็บปวดกับการขาดทุน 1 บาท มากกว่าความยินดีจากการทำกำไร 1 บาท ความเจ็บปวดนั้นเทียบได้เป็นมากกว่าสองเท่าของความยินดี

ดังนั้นนักลงทุนจำนวนมากยอมเสี่ยงกับการสูญเสียมากขึ้นเพื่อจะมีโอกาส เท่า ทุนหรือกำไร นิดหน่อยในภายหลัง ซึ่งเป็นแนวคิดกลับตาลปัดกับที่เราควรจะทำ เราควรจะเสี่ยงกับผลกำไรที่จะเพิ่มขึ้น (เช่นไม่ยอมขายเมื่อหุ้นเป็นกระทิง) ไม่ใช่เสี่ยงเพื่อบรรเทาการสูญเสีย (ไม่ยอมขายเมื่อหุ้นปักหัวลง และเราขาดทุนเล็กน้อย) ความคิดเช่นนี้จะทำให้เราไม่ยอมขายหุ้นที่ขาดทุนถึงแม้ว่านั่นจะเป็นสิ่งที่ มีเหตุมีผลมากกว่า

4. Trading too much. "ซื้อ-ขายมากเกินเหตุ" สิ่งนี้เป็นปรากฏการณ์ที่เด่นชัดมากเนื่องด้วยการซื้อ-ขายทางอินเตอร์เน็ต โดยนักเก็งกำไรวันต่อวัน การซื้อ-ขายมากทำให้กำไรหด ศจ. Terrance Odean จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เดวิส ได้ศึกษาและแสดงให้เห็นจากการสำรวจบัญชี 150,000 บัญชีจากโบรคเกอร์แห่งหนึ่ง จากนั้นท่านได้แยกนักลงทุนแบ่งเป็น 5 กลุ่มจากพฤติกรรมการซื้อ-ขายของแต่ละบัญชี ผลปรากฏว่ากลุ่มที่มีการซื้อ-ขายมากที่สุดได้รับผลตอบแทนน้อยกว่ากลุ่มที่มี การซื้อ-ขายน้อยที่สุดถึง 7%

5. Ignoring expenses with mutal funds. "ไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายเนื่องด้วยการบริหารกองทุน" ค่าใช้จ่ายมีความสำคัญ การที่คิดถึงแต่ผลตอบแทนจากกองทุนโดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่เสียไปกับการ บริหารกองทุนเป็นเรื่องเหลวไหล

กองทุนที่มีค่าใช้จ่ายสูงนั้นถือเป็นการดูถูกและไม่ใส่ใจต่อนักลงทุน หรือผู้ ถือหุ้น ผู้จัดการกองทุนที่ดีจะยอมลงทุนกับกองทุนของเขาเอง และเขาจะไม่ยอมเสียค่าใช้จ่าย 2% จากผลกำไร เราก็ไม่ควรจะยอมเช่นกัน

6. Buying on tips/Not researching investments. "ซื้อหุ้นตามข่าว/ไม่วิเคราะห์การลงทุน" ความผิดสองกระทงนี้ใกล้เคียงกันและไปด้วยกัน อย่าซื้อถ้าไม่รู้เรื่องอะไรเลยเกี่ยวกับหุ้นตัวนั้น ปัญหานี้เป็นปัญหาที่มีมาแต่ปฐมกาล ในปี 1980 นักลงทุนทั้งหลายให้คำแนะนำกันที่ปาร์ตี้หรืองานสังคมต่าง ๆ ปัจจุบันนี้ข่าวหรือคำแนะนำมาทางอินเตอร์เน็ตตามห้องสนทนาหรือกระทู้ทั้ง หลาย อย่างไรก็ตามการซื้อ-ขายหุ้นตามข่าวทำให้การลงทุนเป็นกิจกรรมทางสังคมอย่าง หนึ่ง หากเราขาดทุนเนื่องจากการลงทุน"ตามข่าว" เราสามารถหาแพะหรือคนปลอบใจได้

ทำการวิเคราะห์ด้วยตัวของเราเอง ถ้ามีใครมาถามว่าเราซื้อหุ้นตัวนี้ด้วยเหตุผลอันใด เราต้องสามารถตอบได้ภายในสามหรือสี่ประโยค ใช้เครื่องมือต่าง ๆ ที่มีอยู่เพื่อตรวจสอบความแข็งแกร่งของสถาณะการเงินของบริษัท ค้นหาว่านักวิเคราะห์คิดอย่างไรกับหุ้นตัวนั้น ๆ อ่านข่าวต่าง ๆ ที่บริษัทแจ้งต่อคณะกรรมการบริหารหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

(สำหรับบ้านเรา ค้นหาข้อมูลได้จาก websites ต่าง ๆ ที่แนะนำกันบ่อย ๆ ที่โต๊ะสินธรครับ)

7. Overconfidence "มีความเชื่อมั่นเกินเหตุ" ผู้เขียนยอมตามความคิดเห็นของนักวิเคราะห์พฤติกรรม เขาว่าเมื่อเราตัดสินใจในเรื่องใดแล้ว เราจะมีทัศนะคติที่ดีเกี่ยวกับการตัดสินใจอันนั้น (เข้าข้างตัวเอง ว่างั้นดีกว่า) นักวิจัยอย่าง ศจ. Daniel Kahneman แห่งมหาวิทยาลัยพริ้นส์ตั้นบอกว่าการมีทัศนะคติที่ดีต่อการตัดสินใจของเรา นั้น เป็นจริงกับเรื่องเช่นการทายหัว-ก้อย หากเรา"เป่าและขอให้ออกหัวหรือก้อย"กับเหรียญก่อนทอยเหรียญ เราจะมีความมั่นใจสูงขึ้น 15% กับการทายของเรา

มีคนประเภทเดียวเท่านั้นที่ไม่มีความเชื่อมันเกินเหตุหลังจากที่เขา ตัดสินใจ คือผู้ป่วยทางจิตด้วยโรคซึมเศร้า เขามีความคิดเห็นที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงต่อการเสี่ยงทาย

แท้จริงแล้วการที่มีความเชื่อมั่นเกินเหตุนั้นดีกว่าการเป็นโรคซึม เศร้าเป็น ไหน ๆ เพียงแต่ให้เราใช้วิจารนญาณที่เหมาะสมเมื่อเราต้องลงทุน เมื่อตลาดหันหัวลงผู้ที่มีความเชื่อมั่นเกินเหตุ(เนื่องจากซื้อเต็มปอด)จะ กลัวว่าโชคของเขาจะหนี(ปอดแหก)และเริ่มขายแหลก

เราควรจะพึงพิจารณาตนเองว่ามีพฤติกรรมเช่นนี้หรือไม่ และพยายามแก้ไขให้ไม่กระทำผิดเช่นนี้ต่อไป

ป.ล. ถ้าจำไม่ผิด ตำรานี้เก็บไว้ตั้งแต่ต้นปี 2000 โน่น ตัวข้าเองก็เอามาอ่านทบทวนเพื่อตรวจสอบตัวเอง และเห็นว่าบางครังข้าเองก็ยังกระทำผิดทั้ง 7 กระทงเหมือนกัน ต้องฝากพี่น้องทั้งหลายให้เช่วยเตือนขุนศึกนักเก็งกำไรด้วยกันแล้วกัน

ความผิดพลาดสามัญ 19 ประการ ที่นักลงทุนส่วนมากกระทำ


ตำราพิชัยยุทธ์ เล่มที่ 4

ความผิดพลาดสามัญ 19 ประการ ที่นักลงทุนส่วนมากกระทำ (Nineteen Common Mistakes Most Investors Make)

(จาก How to Make Money in Stocks ของ William J. O Neil)

1. รั้นที่จะถือขาดทุนไว้เมื่อเป็นจำนวนเล็กน้อยและสมเหตุสมผล
(Stubbornly holding onto losses when they are small and reasonable.) ข้อนี้เป็นความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมากเป็นอันดับหนึ่ง (นาย O Neil มีกฏให้ทำ Cut loss ทันทีเมื่อขาดทุนไป 7-8%)

2. ซื้อตอนหุ้นตก นั่นคือการตอกย้ำความลำเค็ญ (Buying on the way down in price, thus ensuring miserable results.) หุ้นที่กำลังตกลงมาถูกกว่าเมื่อสัปดาห์ก่อนดูท่าว่าถูกดี -แต่ จะจ้องรับกริชที่กำลังหล่นไปไย

3. ซื้อเฉลี่ยตอนลงมากกว่าตอนขึ้น (Averaging down in price rather than up when buying.) นี่คือการเอาเงินดีไปปนเงินเลว เป็นกลยุทธแบบมือสมัครเล่นที่จะนำไปสู่การขาดทุนหนักๆ

4. ซื้อหุ้นราคาต่ำจำนวนมาก แทนที่จะซื้อหุ้นราคาสูงจำนวนน้อย (Buying large amounts of low-priced stocks rather than smaller amounts of higher priced stocks.) หุ้นคุณภาพดีราคาไม่มีต่ำ (ลองเทียบ SCC/1000++ กับ TMB/4++) ควรซื้อหุ้นที่ดีที่สุด (ไม่ใช่ถูกที่สุด)

5. อยากรวยเร็วไม่อยากออกแรง (Wanting to make a quick and easy buck.) โลภมากใจร้อนจี๋ มีโอกาสใจด่วนโดดเข้ากองไฟแล้วเสียดายไม่อยาก Cut loss เมื่อพลาด

6. ซื้อตามเขาว่า (Buying on tips, rumors, split announcements, and other news hear from supposed market experts on TV.)
หรืออีกนัยหนึ่ง เอาเงินที่ตนสะสมมาอย่างยากเย็นไปเชื่อตามคนอื่น แทนที่จะใช้เวลาฝึกศึกษาให้รู้ตัวว่ากำลังทำอะไร

7. เลือกหุ้นชั้นรองเพราะใด้ปันผลหรือ P/E ต่ำ (Selecting second-rate stocks because of dividends or low price-earnings ratios.)
มีปัจจัยข้อมูลอื่นๆอีกมากที่สำคัญกว่า เงินปันผล หรือ P/E (เช่นอัตราการเติบโต)

8. ไม่ยอมถอยแม้จะเลือกผิดและไม่รู้จริงในการหาบริษัทที่พบความสำเร็จ (Never getting out of the starting gate properly due to poor selection criteria and not knowing exactly what to look for in a successful company.) หลายคนหลงอยู่กับหุ้นปลายแถวที่มีข้อมูลคลุมเครือ

9. ซื้อหุ้นที่คุณคุ้นชื่อ (Buying old names you're familiar with.)
แค่ที่คุณเคยทำงานการบินไทยไม่จำเป็นต้องเป็นเหตุให้เป็นห้นดีที่คุณควรซื้อ มีหุ้นดีๆเกิดใหม่ขึ้นมาได้เสมอ

10. ไม่มีปัญญาจดจำทำตามข้อมูลคำแนะนำที่ดี (Not being able to recognize (and follow) good information and advice.)
ญาติ มิตร โบรกเกอร์ และ การบริให้คำแนะนำต่างๆ อาจเป็น -ต้นตอ- ของคำแนะนำที่เลว มีนักกีฬามืออาชีพเพียงน้อยนิดที่โด่งดังโดดเด่นจริงๆ

11. ดูกราฟไม่เป็นและไม่กล้าซื้อเมื่อเป็น "new high" (Not using charts and being afraid to buy stocks that are going into new high ground in price.) คนมากกว่า 98% คิดว่าราคาที่ new high แพงไป...แล้วก็ตกรถ

12. ชอบขายหมูแต่ชอบกอดของเน่า (Cashing in small, easy-to-take profits while holding the losers.) อีกนัยหนึ่ง ควรทำตรงกันข้าม คือ ให้โอกาสเวลา เพื่อทำกำไรและรู้จัก cut loss

13. เป็นกังวลเกินไปกับค่าภาษีและค่าคอม (Worrying too much about taxes and commissions.) (บ้านเราคงไม่เป็นนักเพราะไม่แพงอย่างเขา)

14. จดจ้องรู้แต่ตอนซื้อแต่ไม่รู้ตอนขาย (Concentrating your time on what to buy and once the buy decision is made, not undetrstanding when or under what conditions the stock must be sold.) ส่วนมากทำการบ้านแค่ครึ่งเดียว

15. ไม่เข้าใจความสำคัญของการซื้อหุ้นคุณภาพและการดูทางเท็คนิคเพื่อปรับปรุ งการเลือกของตน (Failing to understand the importance of buying quality companies with good institutional sponsorship and the importance of learning how to use charts to significantly improve selection and timing.)

16. ชอบเก็งกำไรหนักๆ พวก W/C เพราะเชื่อว่าเป็นทางลัดรวยเร็ว (Speculating too heavily in options or futures because they're thought to be a way to get rich quick.)
(คนที่ชนะคงค้าน -แต่มีกี่คนไม่รู้)

17. ไม่ค่อยทำตามตลาดแต่ชอบเคาะเพดาน (Rarely transacting "at the market" and preferring to put price limits on their buy and sell orders.) (เลยชวดขายชวดซื้อ)

18. ละล้าละลังไม่รู้เวลาลงมือ (Not being able to make up your mind when a decision needs to be made.) (หลายคนไม่รู้เวลาจะซื้อ จะขาย จะถือ ดูกระทู้ในสินธรก็ท่วมไปหมด)

19. ซื้อหุ้นอย่างไม่มีเป้าหมาย (Not looking at stocks objectively.)
ชอบซื้อตัวที่ชอบแล้วนั่งภาวนา แทนที่จะศึกษาสนใจทั้งตลาด

ตำราพิชัยยุทธ์ เล่มที่ 5

พร้อมที่จะผิดพลาดหรือยังครับ

ชีวิต12 ปีในการเล่นหุ้น

9ปีแรกเอาเงินที่หามาใด้แต่ละปีเล่นหุนเสียประมาณ500000บาท ตอนscb-c1 และ tisco-c1เข้าเล่น2ตัวนี้ใด้ประมาณ1000000บาท ต่อมาซื้อscb-c1ราคา16บาทใช้เงิน3000000บาท ติดหุ้นตั้งแต่นั้นมา วันแรกที่tmb-c1เข้าก็เปลียนscb-c1ราคา5.70บาทเข้าtmb-c1หมดราคา1.80บาท เพราะเห็นว่าอายุนานก่วา ก่อน11ก.ย.เปลี่ยนtmb-c1ราคา1.70บาทหมดเข้าgencoหมดราคา12บาทเพราะข่าวซื้อ หุ้นคืนและแตกพาร์ ขายgencoราคา1.20บาทเข้าqh-w3หมดราคา1.18บาทวันแรกที่เข้าซื้อขาย เดือนมี.ค.ขายqh-w3ราคา3.50บาทใด้ทุนscb-c1หมด3000000บาท ต่อมาซื้อkk-w4ใด้กำไร850000บาท ต่อมาใด้ซื้อtisco-c1ด้วยเงินทั้งหมดของครอบครัว5000000บาทราคา6.70บาท อาทิตย์เดียวราคาลงเหลือ4.80บาทขาดทุน950000บาท วันที่19เม.ย.ใด้ขายtisco-c1หมดราคา6.70บาท สรุป12ปีที่เล่นหุ้นใด้กำไร1350000บาทโดยภรรยาผมร้องไห้นับครั้งไม่ถ้วน ภรรยาบอกผมเสมอว่าการค้าที่ทำอยู่ก็ไปได้สบายโดยไม่ต้องเล่นหุ้น วันนี้สัญญากับตัวเองและภรรยาว่าจะเล่นหุ้นไม่เกิน1000000บาท ยอมรับว่าช่วงที่ติดหุ้นแต่ละครั้งผมและภรรยาเครียดมาก ภรรยาบอกผมว่า12ปีที่กำไร1350000บาทไม่ค้มกับที่ต้องร้องไห้นับครั้งไม่ถ้วน และอาจหมดตัวทำให้ลูกเมียต้องลำบาก เป็นครั้งแรกที่เข้ามาในห้องนี้ พิมพ์ไม่เก่งใชเวลานานมาก ทุกท่านคิดอย่างไรกับ12ปีในการเล่นหุ้นของผม

วิชาเล่นหุ้น จาก น้ำตา จริง ๆ


ตำราพิชัยยุทธ์ เล่มที่ 6

วิชาเล่นหุ้น จาก น้ำตา จริง ๆ

1. ต้องมีเงินเย็น ๆ เท่านั้น ห้ามยืมเงินมาหุ้นอย่างเด็ดขาด
2. ต้องมี Plan B and C เสมอ
3. ต้องตั้ง IF Clause เก่ง เฃ่น ถ้า หุ้น ....., มี ถ้า ให้เยอะ ๆ
4. ซื้อ หุ้นตัวนั้นแล้ว ต้องคุ้มกว่า ฝาก bank
5. ต้องทำใจได้ ถ้า เสีย & อย่ามองโลกในแง่ ดี ตลอด ๆ เวลา
6. หุ้น ขึ้น ต้อง กล้า อม
7. หุ้น ลง ต้อง กล้าขาย

ยาวนิดแต่มีสาระประโยชน์มากครับ และต้องขอขอบคุณและขออภัยท่านผู้เรียบเรียงที่ผมหาชื่อท่านไม่พบครับ จึงไม่สามารถระบุได้

แก้ไขเมื่อ 17 มิ.ย. 55 07:34:20

 
 

จากคุณ : ทองเนื้อเก้า
เขียนเมื่อ : 17 มิ.ย. 55 07:14:31




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com