Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com  


 
มหากาพย์ วิกฤติซับไพร์ม ติดต่อทีมงาน

บทความนี้ผมเขียนเอง ยาวนิดหน่อยนะครับ  เขียนไม่รู้เรื่องยังไงบอกได้นะครับ

==================================================

สมัยก่อนสินเชื่อบ้านถูกปล่อยออกมาจากธนาคาร  และ Savings and Loan association  การกู้สินเชื่อบ้านจะเป็นแบบระยะสั้นอายุ 5 ปี  และจ่ายเงินต้นครั้งเดียวเมื่อครบกำหนดชำระ  ยกเว้นว่าจะรีไฟแนนซ์ได้  และไม่ปล่อยกู้เกิน 50% ของราคาบ้าน
 
ต่อมาในปี 1930  เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่   สงสัยว่าเป็นจาก Multiple factor อ่ะ  สาเหตุอันดับหนึ่งและสองก็คือ  Stock Market Crash of 1929 กับ  Major Bank failure แล้วทำให้เกิดการจับจ่ายน้อยลงทั่วประเทศ
 
ราคาบ้านตกต่ำลงฮวบๆ  โอกาสที่เจ้าของบ้านจะรีไฟแนนซ์ได้ ก็น้อย     เจ้าของบ้านเริ่มผิดนัดชำระหนี้    ช่วงนั้นบ้าน 1/10 ถูกยึดเนื่องจากเจ้าบ้านไม่สามารถชำระหนี้ได้
 
รัฐบาลอเมริกาในขณะนั้นก็เลยตั้งHOLC  (Home Owner’s Loan Corporation) และ FHA (Federal Housing Administration)
 
HOLC ก็ซื้อบ้านที่ผิดนัดชำระหนี้จาก Saving and Loan association แล้วเปลี่ยนโครงสร้างให้กลายเป็นสินเชื่อจาก 5 ปี เป็น 30 ปี   อายุที่ยาวนานก็จะทำให้เจ้าของบ้านไม่ต้องเผชิญกับวิกฤติทางการเงินอย่างหนั ก แล้วค่อยๆทยอยจ่ายเงินต้น
 
ส่วน FHA ก็คือจะเป็นการรับประกันความเสี่ยงของการผิดนัดชำระหนี้  ถ้าเจ้าของบ้านผิดนัด  FHA ก็จะจ่ายให้  แต่ก็จะคิดค่าธรรมเนียมประกันสินเชื่อ  เหมือนเจ้าของบ้านทุกหลังก็จะต้องเบี้ยจ่ายประกันให้ FHA
 
แล้วจากนั้นดึงดูดเจ้าหนี้เอกชนให้เป็นเจ้าของหนี้  เนื่องจากว่ารัฐบาลในขณะนั้นไม่ต้องการทำธุรกิจสินเชื่อในระยะยาว  ก็เลยให้เอกชนรับลูกหนี้ไปดูแลต่อ  โดยที่ FHA จะรับประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระเงิน
 
ซึ่งเท่ากับว่า HOLC ก็จะรับความเสี่ยงแค่ความผันผวนอัตราดอกเบี้ย  ส่วน FHA ก็จะรับความเสี่ยงเมื่อเจ้าของบ้านผิดนัดชำระหนี้
 
รัฐบาลก็ค่อยๆลดบทบาทของ HOLC ไป และยกเลิกไปในปี 1936  หลังจากนั้นก็ตั้ง FNMA (Federal National Mortgage Association)หรือเรียกสั้นๆว่าแฟนนีเม
 
ทีนี้ แฟนนิเม นี่แหละมีบทบาทสำคัญในการก่อให้เกิดวิกฤติครั้งใหม่ครับ
 
แฟนนิเมก็เป็นทางเลือกในการไฟแนนซ์สำหรับธนาคารครับ  และซื้อสินเชื้อที่อยู่อาศัยซึ่ง FHA ประกัน  แล้วออกหุ้นกู้ระยะยาวให้กับนักลงทุนเอกชน  หรือ บริษัทประกัน หรือ กองทุนบำนาญเอาไปลงทุนต่อ  
 
เหมือนกับ แฟนนิเม ทำหน้าที่  กระจายหนี้  ให้กลายเป็นกองทุนหนี้บ้านและที่อยู่อาศัย ให้นักลงทุนซื้อหน่วยลงทุนไว้  แล้วนักลงทุนก็จะได้ดอกเบี้ย จากเจ้าของบ้านที่กำลังผ่อนบ้านอยู่
 
ระบบนี้ก็ยังอยู่ได้ดีจนเมื่อ ดอกเบี้ยสูงขึ้นในปี 1960 ทำให้เเงินฝากไหลออกจากธนาคาร   (อัตราดอกเบี้ยที่มีอยู่เดิมกำหนดไว้ตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ เพื่อไม่ให้มีอัตราการแข่งขันที่สูงเกินไป  ต่อมาดอกเบี้ยสูงขึ้นก็เลยเป็นเหตุทำให้ แฟนิเม ไม่สามารถดึงดูดนักลงทุนได้  เป็นไปตามกฎ เงินไหลออก ไปสู่ที่ๆที่มีผลตอบแทนสูงกว่า )  
 
รัฐบาลก็เลยอัดเงินทุนเข้าไปในตลาดโดยตรงเลย  แบ่งส่วนหนึ่งของ แฟนนิเม เดิมมาตั้งองค์กรอิสระใหม่  เรียก GNMA (Government National Mortgage Association) หรือเรียกสั้นๆ จินนิเม ขึ้นมาแปลงสินเชื่อบ้านเป็นหลักทรัพย์  และแปรรูป แฟนนิเมให้กลายเป็นสถาบันเอกชน  ด้วยการเสนอขายหุ้นกู้ต่อประชาชนโดยตรง
 
หลังจากแฟนนิเมเป็นสถาบันเอกชนแล้ว  ก็ถูกไม่นับเป็นหนี้สาธารณะอีกต่อไป  งบของรัฐบาลก็เลยดูดีขึ้นมากๆ
 
ต่อมาเฟรดีแม็ค (Federal Home Loan Mortage Corporation ) ก็เลยถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อแปลงสินเชื่่อบ้านให้กลายเป็นหลักทรัพย์  ต่อมาก็ถูกแปรรูปให้กลายเป็นเอกชน
 
1970-1980  พอล  โวลเกอร์  ประธานเฟดในสมัยนั้น  พยายามปรับเงินเฟ้อ  ด้วยวิธีการขึ้นดอกเบี้ย    พอร์ตการลงทุนในสินเชื่อบ้านและที่อยู่อาศัยซึ่งถูกปล่อยตั้งแต่ตอนที่อัตร าดอกเบี้ยยังต่ำ  ต่อดอกเบี้ยระยะสั้นก็พุ่งสูงเสียดฟ้า  ดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อซื้อบ้านและที่อยู่อาศัยระยะยาวนั้นต่ำกว่าสู้ไม่ได้   (คือมีการกู้เงินระยะสั้นมาลงทุน  ทีนี้พอดอกเบี้ยระยะสั้นสูงมากขึ้น  แต่เงินได้จากดอกเบี้ยระยะยาวมันไม่พอจ่ายดอกระยะสั้น  ก็เลยไม่มีเงินจ่ายดอกเบี้ยระยะสั้น)  สถาบันของบริษัทสินเชื่อที่มีไฟแนนซ์ที่ผูกติดหนี้ระยะสั้นก็เลยล้มละลาย
 
แต่ว่าเรื่องของที่อยู่อาศัย  สำคัญเกินไป  และเรื่องนี้ก็ใหญ่เกินไป และการจะเอาเงินของผู้เสียภาษีไปถมหลุมนี้ก็ใช้เงินจำนวนมาก
 
ระบบการเมืองก็เลยรับมือด้วยการออกกฎหมาย Depository Institutions Deregulation and Monetary Control Act (1980) และ Garn-St. Germain Depository Institution Act (1982)  เปิดเสรีอุตสาหกรรมบริษัทสินเชื่อ  เพื่อช่วยหารายได้ให้กับอุตสาหกรรมนี้กลับมาดังเดิม  แต่น่าเศร้าที่ผลขาดทุนที่มหาศาลของบริษัทอำนวยสินเชื่อ  ผู้เสียภาษีต้องรับภาระไว้

จากคุณ : counsellor
เขียนเมื่อ : 22 ก.ค. 55 23:36:35




ข้อความหรือรูปภาพที่ปรากฏในกระทู้ที่ท่านเห็นอยู่นี้ เกิดจากการตั้งกระทู้และถูกส่งขึ้นกระดานข่าวโดยอัตโนมัติจากบุคคลทั่วไป ซึ่ง PANTIP.COM มิได้มีส่วนร่วมรู้เห็น ตรวจสอบ หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ ทั้งสิ้น หากท่านพบเห็นข้อความ หรือรูปภาพในกระทู้ที่ไม่เหมาะสม กรุณาแจ้งทีมงานทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป



Pantip-Cafe | Pantip-TechExchange | PantipMarket.com | Chat | PanTown.com | BlogGang.com