|
CPF Innovation RTE ตอบโจทย์ Convenience CPF มุ่งมั่นทำเรื่องของ Innovation ไม่ว่าจะเป็น Product Innovation, Process Innovation, Machine Innovation, Marketing Innovation, Packaging Innovation เรื่องเหล่านี้ เรารณรงค์ในองค์กร CPF ให้ทุกคนต้องคำนึงถึงความคิดสร้างสรรค์ที่จะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น ทำให้ต้นทุนลดลง คุณอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) เล่าถึงการให้ความสำคัญกับ Innovation ถือเป็น 1 ใน 6 กลยุทธ์มุ่งสู่การเป็นครัวของโลกของ CPF (อีก 5 กลยุทธ์ ได้แก่ Food Safety, Branding, ช่องทางการจำหน่าย, บุคลากร, CSR) นวัตกรรม ได้ถูกนำมาใช้พัฒนากลุ่มสินค้าแช่แข็งพร้อมรับประทาน หรือ Ready to Eat ซึ่งเป็นทิศทางการดำเนินธุรกิจของ CPF ที่ต้องการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าประเภท Raw Material อย่างเนื้อสัตว์ต่าง ๆ เช่น หมู ไก่ กุ้ง สร้างสรรค์ออกมาเป็นอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน และผลักดันให้แบรนด์ CP เป็นผู้นำตลาด Ready to Eat... ที่สำคัญนวัตกรรม เป็นหัวใจต่อการสร้างตลาด และพฤติกรรมการรับประทาน Ready to Eat ของผู้บริโภคไทย สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของวิถีการดำรงชีวิตของผู้บริโภคในยุคนี้ ที่ในชีวิตประจำวัน มีแต่ความเร่งรีบ จึงต้องการสินค้าหรือบริการ ที่ตอบโจทย์ด้านความสะดวกสบาย คุณสุพัฒน์ ศรีธนาธร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโสด้านการตลาด เคยให้สัมภาษณ์ถึงแนวโน้มของตลาด Ready to Eat ในประเทศไทยว่า ตลาดอาหารแช่แข็งพร้อมรับประทานมีอัตราการเติบโตสูงขึ้น เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนไป เราจะเห็นภาพคอนโดมิเนียม, อพาร์ตเมนต์ เกิดขึ้นจำนวนมาก และทั้งคอนโด หรืออพาร์ตเมนต์ ไม่มีครัวหนัก มีแต่ครัวเบา ที่มีไมโครเวฟ กับเตาอบ ประกอบกับเสาร์ อาทิตย์ ผู้บริโภคไม่นิยมทำอาหาร เพราะเขารู้สึกว่าเสียเวลาในการทำ 2 ชั่วโมง ทานแค่ครึ่งชั่วโมง และต้องล้างจาน ซึ่งแนวโน้มอย่างนี้มีมากขึ้น ส่งผลให้อาหารพร้อมรับประทาน รวมถึงสแน็คที่อยู่ในประเภทนี้ มีแนวโน้มที่ดีขึ้น เติบโตมากขึ้น ขณะเดียวกันมาตรฐานการผลิตของแต่ละค่ายทำได้ดีขึ้นมาก จากในอดีต Perception ของผู้บริโภคมองว่า Frozen Food ในเชิงของ Negative Image ว่าไม่สด ไม่อร่อย แต่ขณะนี้ไม่ใช่อย่างนั้นแล้ว และตอนที่เราทำแบรนด์ CP ก็มุ่งเน้นความสด ความอร่อยเป็นหลัก ปัจจุบันมูลค่าตลาด Ready to Eat ในไทย เฉพาะช่องทางค้าปลีกรายใหญ่ 5 ราย ได้แก่ เทสโก้ โลตัส, บิ๊กซี, คาร์ฟูร์, ท็อปส์ และซูเปอร์มาร์เก็ตในเครือเดอะมอลล์ อยู่ที่ 3,000 ล้านบาท แต่ถ้ารวมช่องทางคอนวีเนียน สโตร์ จะมีมูลค่ากว่า 5,000 ล้านบาท และคาดว่าภายใน 5 ปีข้างหน้า มูลค่าตลาด Ready to Eat จะเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 ล้านบาท ! แต่หากย้อนกลับไปเส้นทางกว่าที่ตลาด Ready to Eat ไต่ทะยานขึ้นมามีมูลค่าหลักพันล้าน เดิมทีตลาดอาหารพร้อมรับประทาน เป็น Niche Market จำหน่ายในราคาสูง และโฟกัสเฉพาะกลุ่มระดับบน ทว่าเป็นการเข้าตลาดเร็วเกินไป อีกทั้งไม่มีการทำตลาดมากนัก ทำให้ตลาด Ready to Eat ถูกจำกัดอยู่ในวงแคบ เมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนไป เมืองขยายตัว ครอบครัวมีขนาดเล็กลง ผู้คนใช้ชีวิตบนความเร่งรีบ หลายคนทานอาหารบนโต๊ะทำงาน หรือหน้าจอคอมพิวเตอร์ ขณะที่ผู้ผลิตสินค้าประเภท Raw Material เนื้อสัตว์ รวมถึงผู้ประกอบการในแวดวงธุรกิจอาหารหลายราย เริ่มเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของสังคม และพฤติกรรมผู้บริโภค จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปพร้อมรับประทานออกสู่ตลาด โดยวางระดับราคาให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น เพราะนอกจากเรื่อง Convenience เป็นสิ่งที่ผู้บริโภคยุคนี้มองหาแล้ว Value for Money ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เขาให้ความสำคัญในการพิจารณาเลือกซื้อสินค้า/บริการเช่นกัน ตรงนี้เอง ได้สร้างจุดเปลี่ยนให้ตลาด Ready to Eat กลายเป็น Mass Market และสามารถขยายออกไปวงกว้างมากขึ้น โดยในช่วงแรกของการปลุกตลาด Ready to Eat มาจาก Market Driven ที่บรรดาผู้ผลิตค่ายต่างๆ สร้างตลาดด้วยวิธีการ Educate พร้อมปรับเปลี่ยนทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่ออาหารพร้อมรับประทาน ถึงเวลานี้ ตลาดได้ก้าวข้ามผ่านการเอาอาหารแช่แข็งพร้อมรับประทานไปเปรียบเทียบกับอาหารปรุงสดใหม่ ๆ แล้ว และเชื่อว่าปัจจัยหลักที่ทำให้ตลาด Ready to Eat เติบโตได้ต่อเนื่อง เป็นผลมาจากการขับเคลื่อนของ Consumer Behavior ควบคู่กับการทำตลาดของผู้ผลิตแบรนด์ต่างๆ... แบรนด์ CP ถือเป็นผู้เล่นรายหลักของตลาด Ready to Eat และรุกตลาดหนักที่สุดก็ว่าได้ โดย CPF วางนโยบายการทำตลาด Ready to Eat จะใช้วิธีการแตกไลน์ผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมในทุกเซ็กเม้นต์ เพื่อเข้าไปอยู่ในทุกมื้อ และทุกช่วงเวลาของการทานอาหารของผู้บริโภค ทั้งทานเป็นมื้ออาหาร และทานเป็นของว่าง หรือ CP Appetizer การคิดค้นโปรดักต์ใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง เป็นกลยุทธ์สำคัญของการทำตลาดอาหาร เนื่องจากทำให้แบรนด์นั้น ๆ มีความแปลกใหม่มานำเสนอผู้บริโภค ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ มีความสำคัญ เพราะในหนึ่งอาทิตย์ มี 21 มื้อ (7X3) ใน 21 มื้อ ต้องมีความแตกต่างในการบริโภค ไม่อย่างนั้นผู้บริโภคจะรู้สึกเบื่อ ดังนั้นแบรนด์ไหน สามารถ Capture ส่วนแบ่งใน 21 มื้อนี้ได้มากกว่า และมี Excitement ของแบรนด์ผ่านโปรดักต์ ก็น่าจะเป็นผู้ที่ชนะได้ ซึ่งการออกสินค้าใหม่ต้องทำต่อเนื่อง เพราะเป็นสิ่งที่ผู้บริโภคให้ความสำคัญมาก บางทีผู้บริโภคซื้อครั้งหนึ่ง อาจจะซื้อหลายๆ รสชาติ หลายๆ แบบ คุณสุพัฒน์ อธิบาย คุณประเดิม โชติศุภราช รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและระบบงาน เคยให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่า CPF ลงทุนด้าน IT อย่างต่อเนื่องทุกปี ไม่ได้คำนึงถึงสภาพเศรษฐกิจ โดยในแต่ละปี บริษัทมีงบลงทุน IT ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท และเปิดกว้างทุก ๆ เทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้ระบบบริหารจัดการคล่องตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงนำไปใช้ในการผลิต การคิดสูตรอาหาร เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้เร็ว ทางด้านกิจกรรมการตลาด เพื่อสร้างการรับรู้ในแบรนด์ และผลิตภัณฑ์ CP ตลอดจนการนำมาสู่การทดลองรับประทาน ในแต่ละปี CPF ใช้เม็ดเงินทำตลาดไม่ต่ำกว่า 180 200 ล้านบาท สื่อสาร Above the Line ผ่านทั้งช่องทาง Mass Media และช่องทาง Internet รวมถึงใช้กลยุทธ์ Music Marketing เช่น สนับสนุนการแข่งขัน AF พร้อมกับ Tie-in และ Product Placement เข้าไปในรายการ โดยให้ผู้แข่งขันที่อยู่ในบ้าน AF รับประทาน CP Ready Meal นับเป็นวิธีการหนึ่งที่กระตุ้นให้ผู้ชมทางบ้านเกิดความรู้สึกอยากทดลองทาน นอกจากนี้ CPF ได้ใช้กลยุทธ์ Sport Marketing สนับสนุนด้านกีฬา ทั้งมวยไทย มวยสากล กีฬาฟุตบอล โดยล่าสุดได้ให้การสนับสนุนสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ พีอีเอ อย่างเป็นทางการตลอดกิจกรรมการแข่งขันประจำปี 2554 เนื่องจากเป็นสโมรสรที่ติด Top 3 ของฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก ที่มีแฟนบอลมากถึง 65,000 คน CPF คาดว่าจะสามารถขยายฐานลูกค้า และเพิ่มความถี่ในการบริโภคอาหารแปรรูปจาก 1 1.5 ครั้งต่อสัปดาห์ มาเป็น 2 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และตอกย้ำความเป็นผู้นำผลิตภัณฑ์อาหารปลอดภัย ตามมาตรฐานสากล คุณสุพัฒน์ กล่าวถึงผลจากการเป็นผู้สนับสนุนสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ พีอีเอ Marketing Platform ทั้ง Sport Marketing และ Music Marketing เป็นแนวทางที่ CPF เชื่อว่าจะสามารถเข้าถึงไลฟ์สไตล์กลุ่มผู้บริโภคในทุกระดับชั้นได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกัน CPF ให้ความสำคัญกับการทำกิจกรรม Below the Line โดยเฉพาะการ Road Show ไปตามย่านที่กลุ่มเป้าหมายใช้ชีวิตประจำวัน เช่น อาคารสำนักงาน รวมทั้งทำกิจกรรมส่งเสริมการขายในรูปแบบ In-Store Marketing และ In-Store Promotion เพื่อสร้างพฤติกรรมให้เกิดการบริโภคสินค้า Ready to eat ผลของการส่งเมนูใหม่ลงสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง บวกกับสื่อสารการตลาด และทำโปรโมชั่น ทำให้เกิดการ Repeat Purchase โดยที่ผ่านมา CPF ได้ทำการสำรวจพบว่า ในจำนวนกลุ่มลูกค้าใหม่ที่เข้ามาทาน Ready to Eat ของ CP มี 50 60% กลับมาซื้อซ้ำ อีกภาพหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มการเติบโตของตลาด Ready to Eat คือ การขยายตัวของจำนวนเอาต์เลตสินค้า Ready to eat โดยเฉพาะในช่องทาง Modern Trade ได้เพิ่มจำนวนตู้แช่แข็งมากขึ้น เพื่อขยายพื้นที่ขายให้กับผลิตภัณฑ์ Ready to Eat ที่หลายแบรนด์พยายามช่วงชิงพื้นที่ขายในตู้แช่ การปูพรมสินค้า Ready to Eat ครอบคลุมทุกช่องทางเช่นนี้ ยิ่งกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการบริโภคอาหารสำเร็จรูปพร้อมทาน วันนี้ลองไปสังเกตพื้นที่ในซูเปอร์มาร์เก็ต จะมีพื้นที่ของตู้แช่แข็งมากขึ้น เมื่อเทียบกับในอดีต ที่ตู้แช่แข็ง จะเห็นไอศกรีม และสินค้านำเข้า แต่ปัจจุบันในตู้แช่มีสินค้า Ready to Eat จำนวนมาก และมี Player ในตลาดมากขึ้น ซึ่งเรามองว่าดี เพราะทำให้เวทีกว้างออกไป และผู้บริโภคมีทางเลือกมากขึ้น คุณสุพัฒน์ ฉายภาพการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ขาย Ready to Eat นอกเหนือจากการกระจายเข้าสู่ช่องทาง Modern Trade ของผลิตภัณฑ์ CP แล้ว ความได้เปรียบทางการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ CP คือ การสร้างช่องทางจำหน่ายของตนเองขึ้นมา ภายใต้ชื่อ CP Fresh Mart การมีช่องทางจำหน่ายเอง ทำให้ CPF สามารถควบคุม บริหารจัดการสินค้าได้ตั้งแต่ต้นทางกระบวนการผลิต ไปจนถึงปลายทาง โดยในปัจจุบัน CP Fresh Mart มีสาขากว่า 500 แห่งทั่วประเทศ และปีนี้เตรียมขยายให้ได้ 1,000 สาขา ขณะที่ภายใน 3 5 ปีข้างหน้า ตั้งเป้า 3,000 สาขา ความแข็งแกร่งทั้งด้านการวิจัย - พัฒนาผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีการผลิต การตลาด และช่องทางจำหน่าย เชื่อว่า Ready to Eat ของ CP จะเป็นคำตอบของผู้บริโภคยุค Convenience Lifestyle ที่นับวันรูปแบบการใช้ชีวิตในลักษณะเช่นนี้ จะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ...
จากคุณ |
:
ทำดีกว่าพูด
|
เขียนเมื่อ |
:
20 ส.ค. 55 00:00:43
|
|
|
|
|