เรื่อง VGI ครับต่อเนื่องจากกระทู้I12875080
|
|
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I12875080/I12875080.html
พอดีผมจะตอบคุณ lunch แต่ยาวไปหน่อย บวกกับผมคิดว่า ข้อมูลที่ผมจะตอบมีประโยชน์ค่อนข้างมาก จึงตั้งกระทู้ใหม่ดีกว่าครับ
ความคิดเห็นที่ 4 [ถูกใจ] [แจ้งลบ] ติดต่อทีมงาน
ตัวนี้จะเป็นอีกตัวที่บิ๊วกันฝันหวานเกินจริง ทำได้อยู่แค่ใน BTS กับ Modern Trade ไม่กี่เจ้านี่แหละ คนอื่นแข่งไม่ได้ แต่ก็ออกไปแข่งข้างนอกไม่ได้เหมือนกัน BTS ไทยก็รอไป 5 ปีกว่าจะขยายพื้นที่ทีนึง โตน้อยกว่า GDP ด้วยซ้ำ
เทียบกับ MACO ก็มีทั้งตรง BTS ตามถนนหนทาง คนเดิน ทางด่วนต่างๆ ป้ายเล็กป้ายใหญ่ โอกาสเติบโตสูงกว่าเยอะเลย กลับมีราคาถูกกว่ามาก อิอิ
จากคุณ : lunch [Bloggang] เขียนเมื่อ : 3 พ.ย. 55 03:10:28 [แก้ไข]
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
Modern Trade แค่ไม่กี่เจ้า??? เอาแค่ BigC กับ Tesco Lotus ทุกสาขาทุกขนาด(ถ้าsizeใหญ่ก็คือ ไฮเปอร์มาเก็ต)ทั่วประเทศ มันก็ไปเท่าไหร่แล้วครับ? พื้นที่ทางการตลาดทั้ง Sale Floor และ Non-Sale Floor มหาศาล แถมขยายสาขากันทุกปี(ทั้ง2เจ้าแข่งกันขยายสาขา)
ยกตัวอย่างข่าวของ BigC
"นายกุฎาธาร นาควิโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ BIGC กล่าวว่า ในปี 55 บริษัทจะเปิดสาขาใหม่รวม 135 สาขา จากปี 54 ที่มี 210 สาขา ทำให้สิ้นปีนี้มีสาขารวม 345 สาขา เป็นไฮเปอร์มาร์เก็ต 112 สาขา บิ๊กซีมาร์เก็ต 18 สาขา มินิบิ๊กซี 125 สาขา และเพียว 90 สาขา และในปี 59 ตั้งเป้าที่จะมีสาขาไฮเปอร์มาร์เก็ต 303 สาขา บิ๊กซีมาร์เก็ตและมินิบิ๊กซี 950 สาขา"
อันนี้คือ เป้าการขยายสาขาของ BIGC ว่าปี 59 จะมีสาขาไฮเปอร์มาเก็ตโตเป็นเกือบ 3 เท่าของปี55 และสาขาขนาดกลาง+เล็กโตเป็น 4 เท่าของปี 55 และก็นับเป็นเวลา 4 ปีครับจากปี55 นับว่าเป้านี้ aggressive อยู่ครับ แต่เค้าอาจจะทำได้หรือไม่ได้ตามเป้าก็ได้ครับ แล้วทีนี้คิดว่าฝั่ง Tesco Lotus จะทำยังไงครับ? เค้าก็ขยายสู้อยู่แล้วครับไม่ให้แพ้กันง่ายๆหรอก ซึ่งเป็นผลดีต่อ VGI ทั้งคู่ และเป็นผลอย่างมหาศาลด้วยครับ พูดง่ายๆคือ VGI มันเติบโตตาม Tesco Lotus และ BIGC ครับ ซึ่งทั้ง 2 บริษัทล้วนแล้วแต่ต้องใช้เงินขยายสาขาไปเรื่อยๆ ในขณะที่ VGI ไม่ต้องลงทุนอะไรมาก มีหลายอย่างที่ผลักภาระไปให้เจ้าของสินค้าและบริการลงทุนเอง ส่วนโครงการประตูรั้วบนสถานีหลัก 23 สถานีนั้น VGI ไม่จำเป็นต้องลงให้มันครบทั้ง 23 สถานีก็ได้ครับ มันไม่ได้อยู่ในสัญญาสัมปทานครับเรื่องประตูรั้ว เพราะอันนี้ BTSC เค้าอยากทำเองเนื่องจากผู้โดยสารบางสถานีนั้นมีจำนวนหนาแน่นมากเกรงจะเกิดอันตรายครับ เพราะงั้นเค้าจะทำ 9 สถานีก่อนครับ(ขอย้ำครับ ไม่จำเป็นต้องทำให้ครบทั้ง 23 สถานี) และสัญญาค่าสิทธิบริหารพื้นที่ฉบับใหม่ระหว่าง VGI กับ BTSC นั้นก็เป็นโครงการที่ลงทุนแล้วส่งผลกำไรกลับมาทันทีไม่ต้องรอนานอย่างพวกสร้างคอนโดขายที่กว่าจะสร้างคอนโดเสร็จหรือการสั่งซื้อเครื่องบินใหม่(กว่าจะส่งมอบเครื่องบินใหม่) เพราะสัญญามันเป็นลักษณะส่วนแบ่งรายได้ไงครับ คือ BTSC ให้ VGI เป็นคนลงทุนประตูรั้ว(มีเหตุผลเรื่องการบดบังสื่อ Train Body Wrap Media จึงให้ VGI ทำเองจะดีกว่าเพื่อประโยชน์ของบริษัทย่อยอย่าง VGI ไงครับ)แลกกับส่วนแบ่งรายได้ที่ลดลงอย่างมาก ซึ่งส่งผลให้ VGI เป็นบริษัทนึงที่โบรกหลายโบรกคาดการณ์ว่าสามารถจะจ่ายปันผลได้สูงมาก ในระดับ 70% ของกำไรสุทธิหรืออาจสูงกว่านั้นก็อาจเป็นไปได้ และเพราะ BTS กรุ๊ปเองก็อยากได้เงินปันผลจาก VGI เหมือนเดิมครับ
ส่วนเรื่องออกไปข้างนอกประเทศ ไม่ใช่ไปไม่ได้ครับ
ยกตัวอย่างบางส่วนของข่าว
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=151824:vgi-----253---162&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524
"“บริษัทไม่เคยหยุดนิ่งในการคิดและพยายามมองหาโอกาสใหม่อยู่เสมอ ทั้งในประเทศไทยและตลาดต่างประเทศ โดยเป้าหมายที่ละเลยไม่ได้คือประเทศในประชาคมอาเซียน ซึ่งจะรับกับ AEC ในปี 2558 โดยเฉพาะประเทศลาว พม่า และกัมพูชา ที่สื่อนอกบ้าน (Out of Home Media) ยังมีศักยภาพในการเติบโตได้อีกมาก” มารุต กล่าว"
และจริงๆแล้ว VGI นั้นมีบริษัทลูก VGI Ad China ซึ่งได้รับสิทธิในการบริหารสื่อโฆษณาวิทยุ ณ จุดขายในทุกสาขาของ CP Lotus สาธารณรัฐประชาชนจีนอีกด้วยครับ(CP Lotus มี 73 สาขาทั่วประเทศจีน : ข้อมูลต้นปี 2555)
ส่วนเรื่องของ BTS ขยายพื้นที่นั้น ยกตัวอย่างครับ VGI นั้นสามารถเพิ่มรายได้จากการเพิ่มจำนวนตู้ของรถไฟฟ้าและขบวนรถไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นก็ได้ครับ ตอนแรกรถไฟฟ้ามี 3 ตู้ ตอนหลังเขาจะปรับเป็น 4 ตู้หมด หรือจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นก็ได้ครับก็ขึ้นค่าโฆษณาได้เหมือนกันแถมมีผลอย่างมีนัยยะในการที่เอเจนซี่โฆษณาต่างๆจะให้ความสนใจเพิ่มด้วยก็คือยอดจำนวนผู้โดยสารนี่แหละครับ สถิติจำนวนผู้โดยสารระบบรถไฟฟ้า BTS มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องจาก 161,150 เที่ยวคน/วัน ในปีบัญชีสิ้นสุด 31 มีนาคม 2544 กลายมาเป็น 482,270 เที่ยวคน/วัน ในปีบัญชีสิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2555 ครับ ซึ่งมันคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 10.48% ต่อปีครับ แล้วทีนี้ ส่วน GDP Growth ของประเทศไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 4.5 - 5.0% เท่านั้นครับ พูดง่ายๆคือ จำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยของ BTS นั้นมันโตกว่า GDP ประเทศไทย 2 เท่าครับ แต่เรื่องพื้นที่นั้น ตอนนี้ของ VGI ได้แต่เฉพาะบน 23 สถานีหลัก ของ BTSC ที่ได้สัมปทานกับทางกทม.ซึ่งจะหมดสัมปทานก็อีก 17 ปีครับ(แต่ถ้า BTSC ต่อสัญญาสัมปทานได้ VGI ก็ได้ไปด้วยครับ) แต่อีก 7 สถานีที่เป็นของกทม.เป็นผู้ลงทุนเองนั้น กลับส่งผลบวก ให้ผู้คนจาก 7 สถานีดังกล่าวเดินทางเข้ามายัง 23 สถานีหลักซะอีกด้วย ทำให้จำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยของ BTS เพิ่มขึ้นอีก ขอยกตัวอย่างส่วนต่อขยายในอนาคตอย่างเช่น ข่าวนี้ครับ
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=151411:2012-10-31-02-39-01&catid=85:2009-02-08-11-22-45&Itemid=417
ข่าวนี้ก็เป็นผลดีเช่นกัน เพราะการที่จะมีรถไฟฟ้าสายสีชมพูเข้ามาในเมืองทองธานี จะทำให้คนแถวนั้นซึ่งมีจำนวนมากเดินทางเข้ามาในย่านใจกลางเมืองมากยิ่งขึ้นไปอีก หรือในทางกลับกันคนในย่านใจกลางเมืองจะไปอิมแพ็คเมืองทองธานี ก็ต้องผ่าน 23 สถานีหลักดังกล่าวทั้งสิ้น ซึ่งถ้าทำเสร็จเร็วก็ดีไปครับ และการที่จำนวนสถานีเพิ่ม ก็ต้องไปเพิ่มขบวนรถไฟฟ้าอีกเยอะครับ ขบวนละ 4 ตู้ด้วย
และเดี๋ยวนี้พฤติกรรมของ เอเจนซี่โฆษณาเริ่มเปลี่ยนไปมองสื่อนอกบ้านมากขึ้นครับ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1350881305&grpid=00&catid=11&subcatid=1100
“ผู้บริหารวีจีไอกล่าวเพิ่มเติมว่า ความนิยมของสื่อนอกบ้านทำให้สินค้าหันมาเทงบฯ หลายค่ายใช้สื่อนี้เป็นสื่อหลัก เพราะราคาถูกกว่าทีวีที่ราคาโฆษณาต่อนาที 5-6 แสนบาท อีกทั้งด้วยความหลากหลาย เจาะกลุ่มบน, กลาง และล่าง อาทิ ในบีทีเอสจะเป็นคนชั้นกลาง, อินสโตร์มีเดียจะเป็นกลุ่มแมส ทำให้เจ้าของสินค้าสื่อตรงไปยังกลุ่มเป้าหมายได้
ปัจจุบันมีเดียเอ เยนซี่หลายแห่งเริ่มให้ความสำคัญมากขึ้น ด้วยการตั้งบริษัทใหม่ดูแลและให้บริการด้านการวางแผนกลยุทธ์การใช้สื่อนอก บ้าน โดยรายแรก ๆ คือ "มายแชร์" ที่ตั้งบริษัท คินเนติค เวิลด์ไวด์ (ประเทศไทย) หรือเครืออีจิส มีเดีย ที่ตั้งบริษัท โปสเตอร์ สโคป เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา "ปีหน้าเชื่อว่าจะเห็นเอเยนซี่ต่าง ๆ แยกบริษัทดูแลสื่อนอกบ้านโดยเฉพาะมากขึ้น"
นอกจากนี้ ผลการสำรวจวิจัยของบริษัท คินเนติค เวิร์ดไวด์(ประเทศไทย) จำกัด ก็พบว่า ปัจจุบัน Hypermarket เป็นที่ๆจะไปนอกเหนือจากที่ทำงานหรือโรงเรียน สูงถึง 69% ครับ ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีพฤติกรรมที่จะใช้เวลาอยู่นอกบ้านในวันทำงานเฉลี่ยวันละ 9.7 ชั่วโมง และอยุ่นอกบ้านในวันหยุดเฉลี่ย 7.4 ชั่วโมง แปลว่า โมเดิร์นเทรดไม่ได้เป็นเพียงสถานที่ๆไปเพื่อซื้อสินค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งพักผ่อน+นัดพบ+ใช้เวลาว่างของผู้บริโภค อีกด้วยครับ
แล้วเรื่องการเติบโตอ่ะครับ ดูนี่เลยครับ MACO เค้าอยู่ Outdoor ครับ ส่วน VGI เป็นผู้นำส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดใน สื่อประเภท Transit กับ In-Store ด้วยส่วนแบ่งการตลาด Transit 61% และ In-Store 66%
จากคุณ |
:
Dr. Manhattan
|
เขียนเมื่อ |
:
3 พ.ย. 55 07:29:17
|
|
|
|