อย่างที่เรารู้ๆ กันครับ ว่าภายใน 5 ปีนี้จะไม่มีฟองสบู่ใหม่แน่นอน ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นจะเรียกวา "ฟองแชมพู" ผมคิดว่าโลกตกอยู่ในภาวะฟองสบู่แห่งการเก็งกำไร โดยผู้ที่เป็นจำเลยหลัก 2 คน คือ นายอลัน กรีนสแปน และ นายบุช ที่เป็นผู้ดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่ผิดพลาดของอเมริกา 1. นายอลัน กรีนสแปน ประธาน FED ผู้ที่น่าจะมีอิสระในการดำเนินนโยบายการเงิน การที่กดดบ.ให้ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อเป็นระยะเวลานานเกินไป ทำให้เกิดการจัดสรรทรัพยากรที่ผิดพลาด เงินทุนจำนวนมากไหลเข้าไปเก็งกำไรในหุ้นและอสังหาฯ ก่อให้เกิดฟองสบู่ที่ยากจะควบคุมได้ นอกจากนี้เนื่องจากปัจจุบันนโยบายการเงินเป็นแบบเสรี ประเทศอื่นๆ ไม่มีทางเลือกนอกจากดำเนินนโยบายการเงินตาม FED (ประเทศไทยไม่มีทางขึ้น ดบ.ได้ในยามที่ FED ลดดบ. และ ไม่มีทางลด ดบ.ได้ในยามที่ FED ขึ้น ดบ.) ฟองสบู่ในตลาด NADDAQ นั้นพอจะยกขึ้นมาก็เช่น YAHOO วิ่งจากราคาต่ำสุด 4 เหรียญ ไปเกือบๆ สูงสุดที่เกือบๆ 40 เหรียญ ขณะที่ AMAZNON ก็วิ่งจาก 6 เหรียญไปสูงสุดที่เกือบๆ 60 เหรียญ และแม้ว่าผลประกอบการจะดีขึ้นอย่างมาก และราคาหุ้นได้ตกลงมากว่า 25% แล้วก็ตาม P/E ของ YAHOO ยังยืนที่ 110 เท่า ฟองสบู่ NASDAQ ได้ก่อตัวกลับคืนมาอย่างเร็ว ด้วยแรงส่งของต้นทุนที่เกือบเป็นศูนย์ที่กำหนดโดย FED และ แรงเก็งกำไรจากเฮดจ์ฟันด์ ซึ่งจะต้องเลือกหุ้นที่มี beta สูงในยามตลาดขาขึ้น ฟองสบู่อสังหาฯ เป็นเรื่องที่น่ากลัวกว่านั้น ยอดสินเชื่อบ้านได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึงระดับ 90% ยอดหนี้สินต่อรายได้ของประเทศนี้สูงถึง 115% หลักๆ แล้วก็เพราะราคาบ้านที่สูงขึ้นนี่เอง นอกจากนี้คนยังสามารถกู้เพิ่มนำเงินมาใช้จ่ายเพิ่มได้ในลักษณะของ Home Equity Loan เมื่อมูลค่าของบ้านเพิ่มขึ้นอีก สิ่งต่างๆ เหล่านี้สามารถดำเนินไปได้ตราบเท่าที่ราคาบ้านยังสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่จะเกิดอะไรขึ้นหากดบ.ตีกลับ และ ราคาบ้านเริ่มลดลง ด้วยภาระหนี้สินเช่นนี้ ฟองสบู่อสังหาฯ แบบนี้ คิดว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวลมาก 2. นายบุช ผู้สร้างกระแสสงครามไปทั่วโลก นอกจากนี้ยังเห็นแก่การเติบโตของศก.มากกว่าความสมดุล ด้วยการลดภาษีลงอีก ทำให้อเมริกาเสียสมดุลทางศก.อย่างรุนแรงยิ่งขึ้น หนี้สินสุทธิราวๆ 25% ของ GDP (ปี 2002) ดังนั้นตอนนี้หนี้สินสุทธิคงเกิน 30% GDP หนี้สินส่วนนี้ต้องเสียดบ.อีกด้วย ยามดบ.ขาขึ้นยิ่งต้องเป็นภาระหนักหนาสาหัส การขาดดุลงบประมาณส่งผลโดยตรงต่อการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด และผลักดันเงินดอลลาร์ให้กระจายออกไปทั่วเอเชียด้วยแรงส่งทั้ง 2 นี้เอง ทำให้สภาพคล่องล้นโลก เกิดการเก็งกำไรในอสังหาฯ ทั่วโลกอย่างเห็นได้ชัด ราคาอสังหาฯ วิ่งสูงเกินปกติทั้งในออสเตรเลีย อังกฤษ เกาหลีใต้ อเมริกา จีน และน่าจะรวมถึงไทยด้วย.. ยกเว้นก็เพียงญีปุ่นและเยอรมันเท่านั้น ตอนนี้หลังจากออสเตรเลีย และ อังกฤษ ขึ้นดบ.ไป 3-4 ครั้งแล้ว ก็ส่อแววว่าราคาอสังหาฯ เริ่มอ่อนตัวลงมาบ้าง สำหรับจีนแล้ว ศก.ชะลอตัวอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่เดือน เม.ย.เป็นต้นมา โดยดูจากยอดขายรถยนต์ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง และ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์หลายตัวก็ลดลงมาแล้ว ปัญหาที่ยิ่งใหญ่ก็คือ จีนจะสามารถทำ soft landing ได้ง่ายๆ หรือ ในเมื่อผลจากดบ.ที่ต่ำเกินและสภาพคล่องที่ล้นเกินจึงมีการสร้างตึกจำนวนมากที่ราคาแพงเกินจะเอื้อมถึงมากมาย มีการลงทุนในสินทรัพย์คงทนที่เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจถึงกว่า 40% ต่อปี สินเชื่อที่ขยายตัวต่อเนื่องกว่า 20% ทุกปี ยอดสินเชือต่อ GDP ก็สูงถึง 140% แม้หลายคนจะมองในแง่ดี แต่ผมเชื่อว่าเป็นเรื่องยากที่จะทำได้โดยเฉพาะในสภาะที่เกิดเงินเฟ้อ ดบ.ขาขึ้น และ ศก.สหรัฐฯ จะต้องชะลอตัวเพื่อปรับเข้าสมดุลด้วยแล้วถ้าย้อนมาดูที่ประเทศไทย เราจำเป็นต้องรับนโยบายการเงินของ FED มาเต็มๆ ตามสภาพของนโยบายการเงินเสรี จึงไม่น่าแปลกใจที่ อดบ.ที่แท้จริงติดลบ เพราะเป็นนโยบายที่ FED ต้องการจะกระตุ้นศก. ซึ่งน่าจะใช้เฉพาะช่วงที่เกิด ศก.ตกต่ำเท่านั้น การที่กดดบ.ต่ำผิดปกตินานเกินไปก่อให้เกิดการเก็งกำไรอย่างแพร่หลาย เพราะต้นทุนที่แท้จริงติดลบ... ผู้กู้ซื้อบ้านเมื่อ 1-2 ปีที่แล้วน่าจะมีหนี้สินสูงถึงกว่า 1000% ของรายได้ทั้งปี (รวมสินเชื่อไฟแนนซ์รถ บัตรเครดิต สินเชื่อเฟอร์นิเจอร์ และ เครื่องไฟฟ้าด้วย) เนื่องจากนโยบายที่ผ่อนปรนและแข่งขันกันมากของแบงก์บวกด้วยเงินดาวน์ 0% และสารพัดจะแถมอีกเพียบ ขณะที่เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นไม่ได้เลย แม้ในช่วงก่อนวิกฤติต้มยำกุ้ง เหตุผลที่สำคัญคือ ดบ.ที่ต่ำผิดปกติ ทำให้คนเงินเดือน 2 หมื่นสามารถซื้อบ้าน 2 ล้านบาทได้ ขณะที่ซื้อบ้านได้เพียง 1 ล้านเท่านั้นในช่วงก่อนวิกฤติ โดยที่อัตราการผ่อนต่อเดือนเท่าเดิม ตัวเลข 200% ก็นับว่าอันตรายแล้ว ดังนั้นตัวเลขที่สูงถึง 1000% ต้องนับได้ว่าสุดยอดแห่งความเสี่ยง โดยเฉพาะในยามดบ.ขาขึ้น ขึ้น 1% ก็ลดกำลังซื้อบ้านไปราวๆ 8% ใครจะรู้บ้างว่าอีก 5 ปีข้างหน้า MLR จะไปยืนเท่าไหร่นอกจาก FED แล้ว ประชาชนยังได้รับแรงส่งจากนโยบายภาครัฐให้กู้กันได้อย่างสบายๆ ทำให้หนี้สินบัตรเครดิต สินเชื่อ SME โป่งพองขึ้นมาอย่างมาก ยิ่งถ้าฟองสบู่ในอเมริกาและจีนต้องแตกลงไปจริงๆ การส่งออกและการลงทุนของเราจะต้องมีปัญหาอย่างหนักแน่ นี่จึงเป็นเรื่องที่ควรจะระวังไม่น้อย โบรกเกอร์มองกัน 750-800 จุดปลายปี บางที่มองไป 900 โน่น แต่ผมคิดว่าน่าจะลงทุนด้วยความระมัดระวังดีกว่าผมเองก็มีหุ้นถืออยู่นะครับ ไม่ใช่ว่าขายหมดพอร์ตว่าง แล้วมาเชียร์หุ้นลง... เพียงแต่ผมรู้สึกถึงอันตรายของ "เศรษฐกิจฟองแชมพู" ซึ่งไม่ได้มาด้วยเหตุผลเดิมๆ แบบต้มยำกุ้งที่ดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน และ นำ BIBF มาใช้แบบผิดพลาด แต่เป็นด้วย นโยบายการเงินที่ผิดพลาดของ FED ต่างหาก ที่ไม่ได้ขึ้น ดบ.ให้ "เร็ว" และ "แรง" พอ เพื่อสกัดฟองสบู่แต่ต้นลม ซึ่ง FED ก็ผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำอีก และเป็นผู้สร้างฟองสบู่ในอเมริกาเรื่อยมาตั้งแต่ปี 1998 แล้ว ตั้งแต่ฟองสบู่ NASDAQ แล้วก็ ฟองสบู่ Bond แล้วก็ฟองสบู่อสังหาฯ ตอนนี้ฟองสบู่ทั้งหมดกำลังจะแตกลงอีกครั้งและยิ่งกังวลหนักเมื่อเห็น รองฯ สมคิด ดร.โกร่ง และ หม่อมอุ๋ย แสดงความเห็นที่ไม่ได้กังวลอะไรเท่าไหร่เลย ยิ่ง ธปท.และภาครัฐไม่กังวลต่อมหันตภัยข้างหน้า ผมยิ่งกังวลครับ ขอบอกตรงๆ
จากคุณ : เฟยหง - [ 27 ก.ค. 47 06:49:10 ]
แก้ไขเมื่อ 28 ก.ค. 47 08:56:02