ความคิดเห็นที่ 7
สวัสดีค่ะน้องสุมาเต๊กโช
ก่อนอื่นต้องขอบคุณเนื้อหาดีๆที่น้องสุมาเต๊กโชได้มอบให้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง option หรือเรื่องแปล Babylon หรือความเห็นต่างๆที่ได้รับความรู้จากน้องอยู่ตลอด
สำหรับเรื่องที่กล่าวถึงนี้ ... จริงๆลืมไปแล้วค่ะว่า เคยเขียนอะไรไว้ ... (จึงย้อนกลับไปอ่านอีกรอบก่อนมาตอบเพิ่มเติม)
ขออนุญาต quote ข้อความของคุณเด่นศรี ที่เตือนสติว่า น่าจะเป็นเพราะเพื่อน ๆ ยังมีใจกังวลเกี่ยวกับเรื่องกำไร ( อาจจะรู้ตัว หรือ อาจจะไม่รู้ตัว) เพราะถ้าเข้าใจในหลักความจริงและยอมรับว่า เงินมีแต่จะน้อยค่าลงทุกวัน น่าจะทำให้เพื่อน ๆ สบายใจได้มากขึ้นครับ ซึ่งคุณ Coyote ช่วยเตือนพวกเราด้วยเช่นกัน
สำหรับประเด็นที่เรากล่าวไว้แล้วว่าเราเห็นว่า เงินมีค่าน้อยลง มาจาก 2 ประเด็นใหญ่ ซึ่งไม่ขอกล่าวซ้ำ
******
แต่ที่จะกล่าวถึงในครั้งนี้คือเรื่อง อัตราเงินเฟ้อที่ส่งผลต่อค่าครองชีพของเราค่ะ
ต้องขอออกตัวก่อนว่า มุมมองที่ต่างออกไปนี้ (เฉพาะที่จะเขียนนี้ .... โปรดใช้วิจารณญาณอย่างยิ่งประกอบการอ่านของท่าน) เรามองจากศาสตร์หลายๆด้าน ....
ทั้งๆที่เราเองก็ทำงานวิจัยที่ใช้แบบจำลองเกี่ยวกับอัตราเงินเฟ้อทางเศรษฐศาสตร์ เกี่ยวกับ Methodology ที่ใช้ Econometric & Model สำหรับพวก Monetary Conditions Index ทั้งหลายเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาแนวนโยบายตั้งเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของธนาคารแห่งประเทศไทย ..... มุมมองนี้จึงไม่ได้เป็นการคัดค้านนะคะ .... แต่เพราะเป็นมุมมองที่ต่างระดับ จึงแตกต่างกัน และนำไปใช้ในลักษณะที่แตกต่างกัน
ที่จะกล่าวถึง จึงขอย้ำอีกครั้งว่า ...... เป็นอีกมุมมองหนึ่ง ซึ่งเรามองในระดับ micro และเป็นมุมมองส่วนตัวจริงๆ
ย้ำเยอะๆไว้ก่อนค่ะ .... เพราะข้อเขียนที่ออกสู่สาธารณะ เกรงว่าจะมีปัญหาที่ไม่คาดคิดตามมา
******
ดัชนีราคาผู้บริโภค (ที่นำมาคำนวณอัตราเงินเฟ้อแต่ละปีที่ประกาศออกมา) บอกความเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการตามรายการที่กำหนดไว้แล้ว (เน้นว่า ... เป็นรายการที่กำหนดไว้แล้ว)
โดยเปรียบเทียบกับราคาของรายการเหล่านั้นในปีที่ใช้เป็นฐานอ้างอิง ... โดยปรับน้ำหนักราคาทั้งหมดตามแนวโน้มการจับจ่ายใช้สอย
แต่สิ่งที่เราพบ (มันน่าแปลกมากๆ) ... จาก brochure หรือ leaflet โฆษณาสินค้า หรือ ในสมุดบันทึก (เป็นคนชอบจดบันทึก diary) .... 5-10 ปีย้อนหลังขึ้นไป (พอดีตอนนั้น ... เราต้องย้ายที่อยู่อาศัย ....จึงจัดระเบียบของหลายอย่าง)
สิ่งที่พบคือ ... เช่น
เครื่องพิมพ์ดีดที่เคยซื้อเมื่อ 15 ปีที่แล้ว มันแพงมากๆ .... ของใหม่ที่มีอยู่ (ในคอมฯ) ราคาถูกกว่า ประสิทธิภาพดีกว่า ทำงานหลากหลายมากขึ้น แก้ไขง่ายขึ้น รวดเร็วขึ้น
เครื่องคิดเลข .... ราคาถูกกว่าเดิมมากๆ ... ฟังก์ชั่นเยอะขึ้น
กระเป๋า, รองเท้า, เสื้อผ้า .... สำหรับเราแล้ว ... ทุกวันนี้หาได้ในราคาประหยัด, คุณภาพคุ้มค่าเมื่อเทียบราคา หรือถ้าราคาแพงขึ้น อายุการใช้งานก็ยาวนานขึ้น
ค่าดูหนังเมื่อก่อน รวมค่าตั๋วหนัง+ขนมขบเคี้ยว+น้ำ+ค่าเดินทาง .... ปัจจุบัน ดูอยู่ที่บ้าน, ระบบเสียงดีไม่แพ้กัน, ดูซ้ำได้, เป็นโรงหนังส่วนตัว ในราคาประหยัดกว่า
ค่าใช้จ่ายในการโทรศัพท์ ... ทั้งโทรทางไกล, ทั้งต่างประเทศ .... ราคาลดลงมาเยอะ ขณะเดียวกันคุณภาพก็ดีขึ้น, สัญญาณดีขึ้น (อยู่ในตึก, ที่จอดรถ ก็มีสัญญาณ ฯลฯ), ติดต่อสะดวกรวดเร็วขึ้น ....
ยิ่งตัวโทรศัพท์ยิ่งเห็นได้ชัด ปัจจุบันราคาถูก ... ถ้าราคาเดียวกับเมื่อหลายปีก่อน ก็มีฟังก์ชั่นมากมาย (จนใช้ไม่หมด) ถ่ายรูปได้, อัดเสียงได้ ฯลฯ บรรยายไม่หมดค่ะ เรื่องฟังก์ชั่น เยอะจริงๆ
เครื่องซักผ้า ราคาสูงขึ้นก็จริง (กว่าเครื่องเก่าที่ซื้อเมื่อหลายปีมาแล้ว) .... แต่เทคโนโลยีเยี่ยมยอด, ประหยัดไฟกว่าเดิม, ตั้งเวลาได้, ตั้ง menu สำหรับผ้าที่แตกต่างกัน customized มากๆ , ที่สำคัญมีระบบไฟอย่างดี ป้องกันไฟรั่ว (ไฟกับน้ำ เป็นสิ่งที่อันตรายสำหรับบ้านที่มีเด็กเล็กๆ) ฯลฯ ... คุ้มค่ากว่าเดิมมากๆ
ตู้เย็น ... สารพัดประโยชน์, สะดวกมากขึ้น, ประหยัดไฟฟ้า
อาหาร... (ถ้าเลือกสรรแล้ว) ... กลับได้คุณค่าทางโภชนการที่เพิ่มขึ้น, หรือแม้แต่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของเราเมื่อเวลาผ่านไป ... คุ้มค่ามากขึ้น (เน้นความสะอาด, ปลอดภัย ฯลฯ)
เครื่องเล่นเทป / เครื่องเล่นวิดีโอ ... ไม่ต้องพูดถึง .... ต่อให้เอาเครื่องรุ่นเมื่อ 10-15 ปีที่แล้วมาให้ฟรีๆ, ยังคิดดูก่อนเลย เพราะไม่รู้จะเก็บรักษาอย่างไร, ปลั๊กจะเข้ากับเครื่องเล่นที่มีอยู่ได้มั้ย ก็ไม่ได้, กลายเป็นภาระไปซะแล้ว .... ทั้งๆที่ดัชนีราคาสินค้าเหล่านี้ ก็เพิ่มขึ้นมาก 15 ปีที่แล้ว เพิ่มมาหลายเปอร์เซ็นต์เลยค่ะ
โทรทัศน์... ราคาแพงขึ้นก็จริง ... แต่ก็ตอบสนองความต้องการของเราได้มากขึ้น, ประหยัดไฟมากขึ้น, อำนวยความสะดวกมากขึ้น ฯลฯ
******* ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ... เพราะเราเป็นคนชอบจดบันทึก ... ทำบัญชีส่วนตัว และบัญชีของครอบครัว .... จึงเห็นตัวเลขทุกอย่าง ตามความเป็นจริง (แกะรอย ...รายรับรายจ่ายตัวเอง)
กลับมาที่เรื่องดัชนีราคา .... ชักเริ่ม งง มั้ยคะ .... ว่าจะทำไปทำไม
อย่างที่บอกว่า ดัชนีราคา สำหรับนโยบายระดับประเทศยังจำเป็นต้องทำ เพราะมองระดับประเทศ ระดับภูมิภาค
เพียงแต่ว่า ดัชนีราคานี้มีพื้นฐานว่า ... ผู้ซื้อจะซื้อสิ่งของ (สินค้าและบริการ) ชนิดเดียวกันอยู่เสมอ ...
ระดับประเทศ ... จึงเห็นว่า ประชาชน ซื้อเครื่องซักผ้า ทุกๆเดือน, ทุกๆสัปดาห์, หรือ ทุกๆวัน (ขึ้นกับความต้องการมวลรวม)
ระดับบุคคล ... เราไม่ได้ซื้อเครื่องซักผ้าทุกเดือนนะคะ ... ไม่ได้ซื้อทุกปีด้วยค่ะ (ยกเว้นว่าเราไม่ได้อุปโภคบริโภคคนเดียว ... อาจทำธุรกิจ หรือขยายครอบครัว ... นั่นอีกประเด็นหนึ่ง)
ดัชนีดังกล่าว ..... ไม่ได้รวมถึงปัจจัยทางเทคโนโลยี ... ที่พัฒนาสินค้าให้ดีขึ้น, ประสิทธิภาพสูงขึ้น, ประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น (อรรถประโยชน์ส่วนเพิ่ม), อายุการใช้งานยาวนานขึ้น, ประหยัดไฟมากขึ้น ฯลฯ
ขณะเดียวกัน ที่ราคาสินค้าต่างๆ ขึ้นๆลงๆ ตลอดเวลา ..... ดัชนีก็ไม่ได้นำการทดแทนเข้าไปคำนวณด้วย
เช่น เมื่อไก่ราคาแพงขึ้น (ช่วงไข้หวัดนก) ... เราก็ปรับพฤติกรรมการบริโภคสินค้าทดแทนอื่นๆ เช่น เนื้อหมู, เนื้อปลา, กุ้ง ฯลฯ
รถยนต์ที่เราใช้ ... เทคโนโลยีพัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดด, ระบบอำนวยความสะดวก, ระบบความปลอดภัย .... แล้วเราจะเทียบราคากันอย่างไร จริงมั้ยคะ ... ถ้าจะมองที่ ราคา อย่างเดียว ... ไม่น่าจะถูกต้องทั้งหมด
****** เพ้อมาไกลแล้วค่ะ ..... ยังมีรายละเอียดอีกเยอะ
สรุปว่า .... เราจึงมองว่า อัตราเงินเฟ้อ ไม่ได้บ่งบอก ค่าครองชีพ ของตัวเราค่ะ
ท่านใดเคยจดบันทึก รายรับรายจ่าย (สม่ำเสมอและเป็นระยะเวลาต่อเนื่องหลายปี)... จะเห็นสิ่งนี้ชัดมากๆค่ะ
******
จริงๆแล้ว ... ระดับ macro ก็มีประเด็นอื่นๆอีกเยอะค่ะ เรื่องอัตราเงินเฟ้อ ...
แล้วเราก็ยังมีความเห็น (แบบแผลงๆ) อีกหลายเรื่อง เช่น ...
ถ้าทุกคนประหยัดมัธยัสถ์ แล้วเศรษฐกิจจะโต (แบบว่า ... ค้าน นโยบายบริโภคนิยม เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตน่ะค่ะ ... )
ยังมีอีกหลายเรื่องค่ะ .... เป็นคนชอบคิดและจินตนาการค่ะ .... แต่ก็ต้องมีสติและนำมาใช้ในทางบวกนะคะ ...
******
ขอคำแนะนำด้วยค่ะ .....
จากคุณ :
คนชื่อนินจา
- [
10 พ.ย. 47 13:10:41
]
|
|
|