ความคิดเห็นที่ 9
สมมติว่าไม่มีแรงกดดันจากประเทศมหาอำนาจนะครับ ถ้าจีนไม่ปรับอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อปรับเศรษฐกิจของตนให้ได้ดุลยภาพ(อัตราเงินเฟ้อไม่สูงเกินไป ,ปัจจัยการผลิตได้มีโอกาสปรับฐานราคาไม่ให้สูงโต่งเกินไป,การกู้ยืม-ลงทุนให้พอดีสมฐานะประเทศฯลฯ) ประเทศจีนจะพบกับวิกฤติเศรษฐกิจในประเทศนะครับ เห็นได้ว่าประเทศจีนเองพยายามใช้อัตราดอกเบี้ยเป็นตัวปรับแล้ว แต่ไม่ได้ผล เหตุเพราะตลาดทุนโลกรักจีนมากเกินไป(สำนวนครุกแมน)เหมือนกับที่เคยรักไทยในช่วงปลายศตวรรษที่แล้ว(สหัษวรรษที่แล้ว) แต่ไทยเปิดเสรีการเงินผลเสียเลยไวกว่าจีน แต่ในกรณีของจีนไม่เปิดเสีรีทางการเงิน ผลเสียเลยไปโป่งพองเอาที่ภาคธุรกิจด้านตะวันออกของจีน ราคาสินทรัพย์ ที่ดิน อสังหาฯ จีนราคาขึ้นสูงลิบลิ่ว คนทางตะวันตกอพยพเข้ามาขายแรงงานด้านตะวันออกก็พบกับภาวะเงินเฟ้อที่ราคาสินค้าสูงขึ้นไปเรื่อยๆและการส่งผ่านราคาเงินเฟ้อในประเทศจีนจากตะวันออกสู่ตะวันตกจะค่อยเพิ่มระดับขึ้น ซึ่งไม่มีใครทราบหรอกครับว่าประเทศที่มีประชากรกว่า1,300ล้านคน มีกี่เปอร์เซ็นต์ที่เดือดร้อน สมมติว่าการส่งผ่านเงินเฟ้อจากตะวันออกไปตะวันตกทำให้คนทางตะวันตก4%เดือดร้อนมากประมาณ 52ล้านเชียวนะครับ เกิดจลาจลได้ง่ายๆนะ เพราะฉะนั้นจำประโยคนี้ผมไว้เลยนะครับ ประเทศใหญ่ที่มีประชากรเยอะจะต้องระวังเรื่องอัตราเงินเฟ้อไว้
ทางจีนเองเตรียมพร้อมเรื่องปรับอัตราแลกเปลี่ยนมาพอสมควรแต่ผลเสียของการปรับอัตราแลกเปลี่ยนคือทำให้ระบบการธนาคารพังโดยเฉพาะภาคการธนาคารที่อ่อนแอ เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นการได้อย่างต้องเสียอย่าง
สำหรับผม จะรอดูว่าถ้าปรับอัตราแลกเปลี่ยนของจีนแล้ว อัตราเงินเฟ้อโลกเป็นเช่นไร เพราะที่ผ่านมาจีนมีคำครหาว่าส่งออกเงินฝืด(สินค้าราคาถูก)ไปทั่วโลก ฉุดเงินเฟ้อโลกโดยเฉพาะสหรัฐฯให้ต่ำ ถ้าราคาสินค้าจีนแพงขึ้นตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ปรับตัวลดลง(เงินหยวนเพิ่มค้าขึ้นappreciate) ดูสิว่า ที่มาของเงินเฟ้อ-เงินฝืดโลกจริงๆมันมาจากอะไรกันแน่ ราคาน้ำมัน หรือ จีน
สุดท้ายนี้ บทความนี้ของคุณวริษฐ์เขียนได้ดีครับ ในฐานะที่คุ้นเคยกับคุณวริษฐ์ถือโอกาสประชาสัมพันธ์ว่า คุณวริษฐ์ เป็นนักเรียนไทยน้อยคนที่ไปเรียนปักกิ่งโดยมีจุดหมายสำคัญคือศึกษาประเด็นอื่นๆของประเทศจีนที่ไม่ใช่ภาษาจีนแต่เพียงอย่างเดียว หลายปีก่อน คุณวริษฐ์บอกผมว่านักเรียนไทยที่ปักกิ่งโดยมากหรือแทบทั้งหมดมุ่งเน้นเรียนภาษาจีนเพื่อความคล่องตัวในการค้าขาย แต่คุณวริษฐ์ศึกษาประเทศจีนผ่านภาษาจีน ประวัติศาสตร์จีนระบบการบริหารการจัดการของประเทศจีน ศิลปะวัฒนธรรมจีนและความเป็นจีนสมัยใหม่ เป็นการศึกษาจีนอย่างบูรณาการ
ผู้สนใจสามารถอ่านบทความคุณวริษฐ์ได้ http://www.manager.co.th/Columnist/ViewBrowse.aspx?BrowseNewsID=1405
http://www.gotomanager.com/columnists/default.aspx?menu=columnists,varit&page=1
จากคุณ :
ปริเยศ (Pariyed)
- [
วันวิสาขบูชา 18:34:58
]
|
|
|