ความคิดเห็นที่ 12
ความคิดเห็นที่ 12
ความคิดเห็นที่ 53
ผมดุหลานไปเล็กน้อยครับ หวังดีก็ส่วนหนึ่ง จะปิดคอมฯก็ปิดได้ แต่ไม่ควรมาพิมพ์ในกระทู้ (พอดีเขารู้รหัสผม เนื่องจากเวลาไม่อยู่นานๆฝากเขาให้ช่วยต่ออายุบัตรผ่านให้) ตอนนี้ก็รับปากผมว่าจะไม่ทำอย่างนี้อีก ก็ไม่ติดใจอะไรอีก และอันที่จริงที่ได้โพสต์ในวันนี้ ก็อาศัยเขาเตือนละครับ ไม่งั้นคงมังสาละวนกับการเดินทางอยู่อย่างแน่นอน คืนนี้ใครไปสนามบินอาจได้เห็นผมบ้างก็ได้นะครับ แต่จะรู้ว่าเป็นผมหรือเปล่าอีกเรื่องหนึ่งนะครับ 5555 (ใบ้ให้นิดหนึ่ง มองหาคนผมขาวๆหน่อยครับ) นอกเรื่องไปหน่อย เอาละครับ ขอนำเสนอส่วนที่เหลือของกลยุทธ์ที่ 8 ต่อนะครับ ตัวเลขที่กำหนดไว้เป็นตัวเลขสมมติ แต่สัดส่วนการคิดคำนวนเป็นของจริงนะครับ โดยสมมติง่ายๆว่าหุ้นที่เลือกซื้อเป็นตัวอย่างมีมูลค่า 1 บาทต่อหุ้น
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ ทุกๆท่านที่หวังดีนะครับ หากจะมีใครนำไปรวมเป็นเล่มขาย ผมขอเพียงให้นำรายได้ส่วนหนึ่งไปทำบุญบ้างก็พอครับ อุทิศแด่สรรพชีวิตที่ถือกำเนินมาเป็นเพื่อนร่วมโลก ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณครับ ไม่ต้องนำรายได้มาให้ผมนะครับ 5555
ในอดีตผมเคยแนะนำนักลงทุนบางท่าน แต่เนื่องด้วยเป็นการพูดคุยแบบไม่ได้สรุปเป็นตัวหนังสือแบบนี้ จึงเป็นเหตุให้ท่านเหล่านั้นเข้าใจวิธีการทั้งหมดไม่ชัดเจนนัก ผลจึงส่งให้การลงทุนของเขาเสียหายไปบ้าง ผมจึงค่อนข้างระวังตนในการแนะนำ เพราะเกรงว่าจะเป็นการชี้นำโดยไม่ตั้งใจครับ หวังว่าทุกๆท่านที่เสนอความเห็นมาคงเข้าใจ
พ่อค้าตลาดหุ้น ได้ตั้งกฏเกณฑ์ในการซื้อหุ้นของตนไว้บางประการ เช่น กำหนดจำนวนเงินที่แน่นอนในการเลือกซื้อหุ้นแต่ละตัว แต่ไม่ซื้อในคราวเดียว เช่น เมื่อกำหนดว่าจะซื้อหุ้น A ด้วยจำนวนเงินประมาณ 200,000.- บาท เขาจะกำหนดการซื้อเป็นหลายๆครั้ง ขึ้นอยู่กับหุ้นแต่ละตัว แต่มากที่สุดเขาไม่เคยซื้อเกิน 5 ครั้ง คิดตามดีๆนะครับ การคำนวนเยอะ แต่ผมพยายามจะอธิบายโดยละเอียด หากเย่นเย้อไปบ้าง ก็ขอให้คำนึงถึงคนที่ไม่ค่อยเก่งคำนวนด้วยนะครับ
ครั้งแรกพ่อค้าจะซื้อ 10,000 บาท ถ้าซื้อแล้วหุ้นขึ้นไปทันทีเขาจะปล่อยให้หุ้นขึ้นไปเรื่อยๆ ถ้ามีกำไรเกินกว่าจุด Keep Profit แต่ละจุด ก็จะตั้งจุด Keep Profit เป็นจุดขาย เช่น ถ้าตั้งจุด Keep Profit เป็น 5%, 10%, 15%, 20%, .... ตามลำดับ เมื่อหุ้นมีราคาสูงขึ้นเกินกว่า 5% และยังขึ้นต่อไปถึง 9% แล้วหุ้นตก เขาจะได้กำไรจากการขายที่ 5% เสมอ แต่หากหุ้นขึ้นไปเกิน 14% แล้วเริ่มตกลง เขาจะขายที่ 10% ฯลฯ ในทางกลับกันหากเริ่มซื้อครั้งแรกแล้วราคาตกลงไม่ว่าด้วยการคาดการณ์ผิดด้วยตัวเขาเอง หรือมีเหตุอื่นๆเช่น Panic หรือเหตุเลวร้ายอันใดก็ตาม เขาจะรอจนกว่าขาดทุนตั้งแต่ 10%, 20%, 40% , 60% และ 80% เป็นต้นไป (ขึ้นอยู่กับหุ้นแต่ละตัวด้วยว่าธุรกิจนั้นจะล้มเลยหรือว่าล้มชั่วคราว) แล้วจะซื้อเฉลี่ยด้วยจำนวนเงินที่มากขึ้นจนค่าการติดลบเฉลี่ยลดลงต่ำกว่า 5% สมมุติเหตุการณ์ในการซื้อแล้วติดลบต่อหุ้นตัวหนึ่งเป็นดังนี้นะครับ (การคิด % ติดลบ จะคิดจากมูลค่าหุ้นที่ซื้อครั้งแรกเสมอนะครับ)
ซื้อครั้งที่ 1 ราคาหุ้นละ 1 บาท จำนวน 10,000 หุ้น เป็นเงิน 10,000 บาท ต้นทุนรวมคือ 10000 บาท **********************************************************************************************
?? ติดลบ 10% ราคาต่อหุ้นคงเหลือ = .90 บาท จำนวนหุ้นคงเดิม 10000 หุ้น เงินคงเหลือตามบัญชี 9,000 บาท ขาดทุน 1000 บาท
ซื้อครั้งที่ 2 เพื่อให้มูลค่า % ติดลบเฉลี่ยที่น้อยลงเหลือ Y% จะต้องซื้อตามสูตรนี้ครับ
จำนวนเงินที่ซื้อหุ้นเพิ่ม = (100 * จำนวนเงินที่ขาดทุนโดยรวม / มูลค่า % ติดลบเฉลี่ยที่น้อยลง) - จำนวนเงินลงทุนก่อนซื้อหุ้นเพิ่ม
ดังนั้นถ้าต้องการซื้อเฉลี่ยให้ขาดทุนเหลือ 5% จะต้องแทนค่า มูลค่า % ติดลบเฉลี่ย (Y) ด้วย 5 จึงได้ดังนี้
จำนวนเงินที่ซื้อหุ้นเพิ่ม = (100 * 1000 / 5 ) - 10000 = 10000 บาท
ดังนั้นการซื้อครั้งที่ 2 จะซื้อที่ราคาหุ้น 0.90 บาท ด้วยเงิน 10000 บาท ได้หุ้นประมาณ 10000/0.90 = 11111.11 หุ้น ซึ่งพ่อค้าตลาดหุ้นจะปัดเศษขึ้น (เพื่อลดการขาดทุนเฉลี่ยให้เหลือน้อยกว่า 5%) ดังนั้นจึงซื้อเพิ่ม 11200 หุ้น = 10080 บาท และเมื่อรวมต้นทุนเดิมกับการซื้อครั้งที่ 2 ก็ต้องนำ 10000 + 10080 ก็คือ 20080 บาท จำนวนหุ้นทั้งหมดในมือ = 10000 + 11200 = 21200 หุ้น สรุปคือ
ซื้อครั้งที่ 2 ราคาหุ้นละ 0.90 บาท จำนวน 11200 หุ้น เป็นเงิน 10080 บาท ต้นทุนรวมคือ 20080 บาท ********************************************************************************************** เมื่อคำนวนมูลค่าคงเหลือทางบัญชีใหม่จะได้ 21200 * 0.90 = 16960 ดังนั้นการติดลบเฉลี่ยจึงได้ = 100 / 20080 * 1000 = 4.98 %
?? ติดลบ 20% ราคาต่อหุ้นคงเหลือ = 0.80 บาท จำนวนหุ้นคงเดิม 21200 หุ้น เงินคงเหลือตามบัญชี 21200 * 0.80 = 169,60 บาท ขาดทุน 3120 บาท
การคำนวนว่าขาดทุนทั้งหมดเท่าใดได้จาก ต้นทุนรวม - เงินคงเหลือตามบัญชี ซึ่งก็คือ 20080 - 16960 = 3120 การขาดทุนมูลค่าต่อหุ้นจาก 1 บาทจนเหลือ 0.80 บาท ก็คือขาดทุนไป 20% นั่นเอง แต่ถ้าเทียบต้นทุนทั้งหมดกับการขาดทุนทั้งหมดจะมีการขาดทุนเฉลี่ย = 3120 * 100 / 20080 = 15.5% ซึ่งจะเห็นในช่องคำนวนสรุปของโบรคนั่นเอง
ซื้อครั้งที่ 3 เพื่อให้มูลค่า % ติดลบเฉลี่ยที่น้อยลงเหลือ 5% เมื่อซื้อตามสูตรเดิมจะแทนค่าได้ดังนี้ครับ
จำนวนเงินที่ซื้อหุ้นเพิ่ม = (100 * จำนวนเงินที่ขาดทุนโดยรวม / มูลค่า % ติดลบเฉลี่ยที่น้อยลง) - จำนวนเงินลงทุนก่อนซื้อหุ้นเพิ่ม
จำนวนเงินที่ซื้อหุ้นเพิ่ม = (100 * 3120 / 5 ) - 20080 = 42320 บาท
การซื้อครั้งที่ 3 จะซื้อที่ราคาหุ้น 0.80 บาท ด้วยเงิน 42320 บาท ได้หุ้นประมาณ 42320 / 0.80 = 52900 หุ้น พ่อค้าตลาดหุ้นไม่ต้องปัดเศษขึ้น ดังนั้นจึงซื้อเพิ่ม 52900 หุ้น = 42320 บาท และเมื่อรวมต้นทุนเดิมกับการซื้อครั้งที่ 3 ก็ต้องนำ 20080 + 42320 ก็คือ 62400 บาท จำนวนหุ้นทั้งหมดในมือ = 21200 + 52900 = 74100 หุ้น สรุปคือ
ซื้อครั้งที่ 3 ราคาหุ้นละ 0.80 บาท จำนวน 52900 หุ้น เป็นเงิน 42320 บาท ต้นทุนรวมคือ 62400 บาท ********************************************************************************************** เมื่อคำนวนมูลค่าคงเหลือทางบัญชีใหม่จะได้ 62400 * 0.80 = 49920 ดังนั้นการติดลบเฉลี่ยจึงได้ = 100 / 62400 * 3120 = 5 %
?? ติดลบ 30% ราคาต่อหุ้นคงเหลือ = 0.70 บาท จำนวนหุ้นคงเดิม 74100 หุ้น เงินคงเหลือตามบัญชี 74100 * 0.70 = 51870 บาท ขาดทุน 10530 บาท
ซื้อครั้งที่ 4 เพื่อให้มูลค่า % ติดลบเฉลี่ยที่น้อยลงเหลือ 5% เมื่อซื้อตามสูตรเดิมจะแทนค่าได้ดังนี้ครับ
จำนวนเงินที่ซื้อหุ้นเพิ่ม = (100 * จำนวนเงินที่ขาดทุนโดยรวม / มูลค่า % ติดลบเฉลี่ยที่น้อยลง) - จำนวนเงินลงทุนก่อนซื้อหุ้นเพิ่ม
จำนวนเงินที่ซื้อหุ้นเพิ่ม = (100 * 10530 / 5 ) - 62400 = 148200 บาท
การซื้อครั้งที่ 4 จะซื้อที่ราคาหุ้น 0.70 บาท ด้วยเงิน 148200 บาท ได้หุ้นประมาณ 148200 / 0.70 = 211714 หุ้น พ่อค้าตลาดหุ้นจะปัดเศษขึ้น (เพื่อลดการขาดทุนเฉลี่ยให้เหลือน้อยกว่า 5%) ดังนั้นจึงซื้อเพิ่ม 211800 หุ้น = 148260 บาท และเมื่อรวมต้นทุนเดิมกับการซื้อครั้งที่ 2 ก็ต้องนำ 62400 + 148260 ก็คือ 210660 บาท จำนวนหุ้นทั้งหมดในมือ = 74100 + 211800 = 285900 หุ้น สรุปคือ
ซื้อครั้งที่ 4 ราคาหุ้นละ 0.70 บาท จำนวน 211800 หุ้น เป็นเงิน 148260 บาท ต้นทุนรวมคือ 210660 บาท ********************************************************************************************** เมื่อคำนวนมูลค่าคงเหลือทางบัญชีใหม่จะได้ 210660 * 0.70 = 147462 ดังนั้นการติดลบเฉลี่ยจึงได้ = 100 / 210660 * 10530 = 4.998 %
ปัญหาหนึ่งคือ จะซื้อเฉลี่ยจนเหลือต้นทุนติดลบเฉลี่ยกี่เปอร์เซนต์จึงดีที่สุด อันนี้คงต้องทำการบ้านกันบ้างนะครับ หุ้นแต่ละตัวจะมีอัตราถดถอยแตกต่างกัน และมีช่วงห่างของมูลค่าราคาแตกต่างของราคาสูงสุดและต่ำสุดต่างกัน ดังนั้น พ่อค้าตลาดหุ้นจึงไม่ได้ใช้ค่าเฉลี่ยติดลบที่ 5% กับหุ้นทุกตัว หากหุ้นตัวใดช่วงช่วงราคาต่ำสุดสูงสุดน้อยก็อาจใช้ค่าเฉลี่ยติดลบน้อยลง และในทางกลับกันหากช่วงราคาห่างกันมาก ก็อาจใช้ค่าเฉลี่ยติดลบสูงขึ้นด้วยครับ ทั้งนี้หุ้นที่มีช่วงห่างมากๆก็คือหุ้นที่มีการ Swing ตัวสูงๆเป็นประจำ อันนี้ดูได้จากตารางที่หลายๆโบรคจัดไว้ให้นะครับ (แต่ต้องเก็บสถิตติเองนะครับ)
ปัญหาอีกข้อหนึ่งคือ จะต้องซื้อกี่ครั้งถึงจะพอ อันนี้แหละครับ จะต้องนำวินัยในการลงทุนมาใช้ พ่อค้าตลาดหุ้นได้ตั้งใจลงทุนกับหุ้นนี้ประมาณ 200000 บาท นั่นคือจุดสิ้นสุดครับ จะเห็นว่าต้นทุนรวมหลังจากซื้อครั้งที่ 4 จะเท่ากับ 210660 บาท ซึ่งเกินไป 10660 บาท ถึงตรงนี้ พ่อค้าตลาดหุ้นจะหยุดซื้อหุ้นตัวนี้ทันทีครับ และหากราคาหุ้นยังลดลงต่อเนื่อง เขาจะ Cutloss ที่ 7-10% ทันที หลายๆท่านคงคิดว่า หาก Cutloss ตั้งแต่แรกก็คงไม่ต้องเสียเงินมากขึ้นในการซื้อเฉลี่ย ขอให้คิดถึงจุดนี้ให้ดีนะครับ การ Cutloss เฉลี่ย ไม่ว่าจะกี่เปอร์เซนต์ก็ตาม อาจมีการขาดทุนด้วยจำนวนเงินที่ไม่เท่ากัน บางท่านอาจลงทุนเริ่มต้น 200000 บาททันที ก็อาจเสียเงินที่จุด Cutloss ใกล้เคียงกับ พ่อค้าตลาดหุ้นเช่นกัน แต่จะเข้าใจนิสัยหุ้น(นิสัยคนปั่นคนทุบ)แตกต่างกัน หรือบางท่านอาจลงทุนถึง 1000000 กับหุ้นบางตัว เมื่อ Cutloss ที่เปอร์เซนต์เท่าๆกันก็จะเสียเงินมากกว่า จริงไหมครับ
ประเด็นที่สำคัญประเด็นหนึ่งคือ หากไปจับหุ้นตัวที่ปั่นจะเป็นอย่างไร คำตอบคือ ก็เจ๊งสิครับ 5555 ดังนั้นการศึกษาข้อมูลของหุ้นแต่ละตัวจึงเป็นสิ่งจำเป็น (ไปอ่านกลยุทธ์ที่ 1 ดูนะครับ) และหากท่านคิดถี่ถ้วนด้วยข้อมูลที่ดีและมีความรอบคอบในการซื้อแล้ว หากท่านต้องซื้อเฉลี่ยถึง 4 ครั้ง ท่านควรต้องคิดดูแล้วละครับว่า ท่านมองอะไรผิดแผกแตกต่างจากผู้อื่นหรือไม่ ยกเว้นกรณีที่หุ้นลงทั้งกระดานเนื่องจากเหตุอันไม่คาดฝันนะครับ (แต่ลงแบบนั้น พ่อค้าตลาดหุ้น ชอบมากๆเลยครับ)
ประเด็นหนึ่งที่ขอให้สังเกตกันดูดีๆนะครับ ในการซื้อครั้งที่ 4 พ่อค้าตลาดหุ้นใช้เงินไป 210660 บาท ซึ่งเกินจำนวนเงินที่ตั้งใจไว้ หากหุ้นตัวนั้นมีการปรับตัวขึ้นเกิน 5% ที่มูลค่าหุ้นเคยติดลบอยู่ แม้เกินค่า Commision เพียงเล็กน้อย เขาก็จะขายหุ้นบางส่วนออกไปทันที เพื่อให้เงินลงทุนเหลือประมาณ 200000 บาทเท่านั้น นี่เป็นวินัยการลงทุนที่สำคัญของเขาครับ
อีกประเด็นที่ฝากให้คิดนะครับ หากเปรียบเทียบคนที่ลงทุนครั้งเดียว 200000 บาทและไม่ยอม Cutloss ด้วยหลัก ไม่ขายไม่ขาดทุน สักวันมันต้องขึ้น เมื่อหุ้นเริ่มปรับตัวขึ้น พ่อค้าตลาดหุ้น จะเห็นหุ้นของตนเริ่มเป็นบวกในช่วงเวลาสั้นๆ แต่คนลงทุนครั้งเดียวจะต้องนั่งลุ้นว่าเมื่อใดมันจะกลับไปที่เดิมและทำกำไรได้ ถึงช่วงนั้น พ่อค้าตลาดหุ้นจะกำไรไปแล้วเท่าใด และหากย้อนกลับไปอ่านกลยุทธ์ที่ 7 ดู ท่านคิดว่าเป็นอย่างไรครับ
อีกประเด็นที่หลายๆท่านอาจคิดกันคือ ถ้าซื้อครั้งแรกแล้วหุ้นปรับราคาสูงขึ้นทันที ผู้ที่ซื้อ 200000 ในครั้งแรกจะได้เงินมากกว่ามาก อันนี้เป็นความจริงครับ พ่อค้าตลาดหุ้นรู้ข้อนี้ดี จึงไม่ยึดติดกับตัวหุ้น แต่ยึดติดกับธุรกิจครับ เมื่อใช้กลยุทธ์ที่ 4 จึงมีจำนวนหุ้นมากพอที่ให้เขาเลือกซื้อหาในช่วงเวลาต่างๆกัน ซึ่งโดยปกติ พ่อค้าตลาดหุ้น ก็ไม่นิยมซื้อเฉลี่ยในตอนขาขึ้นด้วยครับ (กลัวเป็นแบบสบู่)
มาถึงตอนนี้ ก็คงต้องขอจบกลยุทธ์ที่ 8 ไว้เพียงเท่านี้ครับ และขอเตือนไว้ด้วยความหวังดีด้วยครับว่า หากมีจิตใจและวินัยในการลงทุนไม่มั่นคงพอ อย่าได้ลองใช้กลยุทธ์นี้เป็นอันขาด ท่านอาจจะได้รับความเสียหาย ซึ่งผมไม่อาจรับผิดชอบได้นะครับ 55555
ปล. ติดตาม กลยุทธ์ที่ 9 "ถอยหนีอย่างเป็นระเบียบ จะได้เปรียบการถอยแบบเดาสุ่ม" ได้หลังจากผมกลับจากต่างประเทศนะครับ น่าจะก่อนปีใหม่ สวัสดีครับ
จากคุณ : ชอบอ่าน - [ 5 ธ.ค. 46 11:08:29 A:202.133.161.26 X: ]
จากคุณ : น้องส้มเด็กดี - [ 9 ม.ค. 47 22:28:36 ]
จากคุณ :
น้องส้มเด็กดี
- [
20 มิ.ย. 48 07:15:17
]
|
|
|