ความคิดเห็นที่ 2
ปัจจุบัน บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี โฮลดิ้งมีบริษัทย่อยแห่งเดียว คือ บริษัทผลิต ไฟฟ้าราชบุรี (RATCHGEN) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2543 ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 10 ล้านบาท และได้จดทะเบียนเพิ่ม ทุนเป็น 100 ล้านบาทเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2543 ต่อจากนั้น เมื่อเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมาได้เพิ่มทุนเป็น 16,000 ล้านบาท
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 เห็นชอบให้ กฟผ. ขายโรง ไฟฟ้าพลังความร้อน โรงไฟฟ้าพลังความร้อน ร่วม ทรัพย์สิน ที่ใช้ร่วมกัน และ ที่ดินให้กับบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี
ส่งผลให้บริษัทต้องดำเนินการจัดหาเงินทุนจำนวนประมาณ 60,700 ล้านบาท โดยบริษัทแม่จะให้การสนับสนุนเงินทุนประมาณ 18,200 ล้านบาท ซึ่งได้มาจากการ ระดมทุนจากภาคเอกชน และ กฟผ. คิดเป็น สัดส่วน 30% ของเงินทุนทั้งหมด ที่บริษัทต้องการ
ส่วนเงินจำนวน ที่เหลืออีกประมาณ 42,500 ล้านบาท บริษัทได้จัดหาแหล่งเงิน เอง โดยเดือนตุลาคม ที่ผ่านมาได้ลงนามสัญญากู้เงินมูลค่า 44,000 ล้านบาท กับธนาคารในประเทศ 8 แห่ง และสถาบันการเงิน ที่ปล่อยกู้ร่วม (Syndicate) อีก 11 แห่ง
"เราเป็นบริษัทไทยรายแรก ที่กู้เป็นสกุลเงินบาททั้งหมด ที่ใหญ่ที่สุดหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ" บุญชูกล่าวอย่างภาคภูมิใจ
แผนการระดมทุนของบริษัทประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ หนี้ และเงินทุน ที่จะออกระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์
หนี้ คือ เงิน ที่จะนำมาซื้อทรัพย์สินจาก กฟผ. โดยทาง บริษัทได้ออกแบบการกู้แบบ project finance และกำหนดสัดส่วนไว้ ที่ 70% ของเงินทุนทั้งหมด
"เรามองว่า เพื่อให้มีการแข่งขัน และเรามีโอกาสเลือกได้ ก็พิจารณากันว่าจะกู้เป็นเงินบาทประมาณ 75% และสกุลเงินต่างประเทศอีก 25% จากนั้น เราก็ส่งหนังสือเชิญไปยังสถาบันการเงินทั้งใน และต่างประเทศ"
สถาบันการเงินในต่างประเทศ บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี กำหนดเงื่อนไขว่าให้เสนอเข้ามาเป็นกลุ่ม ซึ่งในขณะนั้น ต้อง การเงินสกุลต่างประเทศประมาณ 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สำหรับสถาบันการเงินในประเทศบริษัทให้แต่ละธนาคารเสนอเข้ามาเป็นรายๆ "เพราะหากเสนอเข้ามาเป็นกลุ่ม เรามองว่าจะไม่เป็นการแข่งขัน และไม่สามารถจะไปเปรียบเทียบได้เพราะธนาคารในประเทศมีไม่กี่แห่ง" บุญชูอธิบาย
หลังจากได้ข้อเสนอจากทุกสถาบันการเงินปรากฏว่าจำนวน ที่บริษัทต้องการเกินความต้องการประมาณ 10,000 ล้านบาท ในที่สุดบริษัทจึงตัดสินใจไม่กู้เงินสกุลต่างประเทศ
เมื่อได้รับอนุมัติเงินกู้จำนวน 44,000 ล้านบาทแล้ว บริษัทได้แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ จำนวน 42,500 ล้านบาท สำหรับ การรับโอนทรัพย์สิน และ ที่เหลืออีก 1,500 ล้านบาทสำหรับใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนภายในกิจการ
บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีได้ทำการเบิกถอนเงินกู้ก้อนแรกจำนวน 30,472 ล้านบาทเมื่อปลายเดือนตุลาคม ที่ผ่านมา เพื่อซื้อโรงไฟฟ้าพลังความร้อนเครื่อง ที่ 1-2 และทรัพย์สิน ที่เกี่ยวข้องระบบสาธารณูปโภคอื่นๆ
เงินกู้ก้อน ที่สองจะมีการเบิกถอนในเดือนกรกฎาคมปีหน้า เพื่อซื้อโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมชุด ที่ 1-2 ส่วนเงินกู้ก้อนสุดท้ายจะเบิกถอนในเดือนเมษายน ปี 2545 เพื่อนำมาซื้อโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมชุด ที่ 3
เงินกู้ทั้งหมด 44,000 ล้านบาท มีกำหนดระยะเวลา 14 ปี และมีระยะเวลาปลอดการชำระหนี้ 1 ปี ซึ่งระยะเวลา 14 ปีนี้ ทางเจ้าหนี้มองว่าเหมาะสม แล้ว "เขาไม่อยากปล่อยกู้ให้ยาวไปมากกว่านี้ และถ้าสั้นเกินไปจะทำให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น" บุญชูกล่าว
เงินกู้ เพื่อใช้ในการลงทุนดังกล่าวเป็นสกุลเงินบาททั้งหมด ดังนั้น บริษัทจึงสามารถลดความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนตลอดระยะเวลาการกู้ หากกู้เป็นเงินสกุลต่างประเทศ ถ้ามีผลกระทบเรื่องค่าเงินบาท เช่น ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงบริษัทจะมีภาระหนี้มากขึ้น ซึ่งความจริงสัญญานี้จะอยู่ในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า นั่นหมายถึงว่าภาระได้ผลักไปยังค่าไฟฟ้า
"ถ้ามองในแง่บริษัท เราได้โยนความเสี่ยงตรงนี้ไปให้กฟผ. ได้ แต่ กฟผ.ก็จะผลักภาระนี้ไปให้ประชาชน นั่นคือ ขึ้นค่าไฟฟ้า" บุญชูบอก
อย่างไรก็ตาม บริษัทก็ยังอาจจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ผ่านค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงจากอะไหล่อุปกรณ์ ที่นำเข้าเป็นเงินตราต่างประเทศ
สำหรับอัตราดอกเบี้ยบริษัทได้อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำลูกค้าชั้นดีเฉลี่ย (MLR) แบบลอยตัว ซึ่งกำหนดด้วยอัตราดอกเบี้ย เงินกู้ชั้นดีเฉลี่ยของธนาคาร 4 แห่ง ได้แก่กรุงไทย, ไทยพาณิชย์, กรุงเทพ และกรุงศรีอยุธยา
อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกของการเจรจาบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีได้เสนอในรูปแบบอัตราดอกเบี้ยคง ที่ แต่ทาง กฟผ. และสถาบันการเงินไม่รับเงื่อนไข เพราะต่างรู้ว่าปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำ
"เมื่อเป็นเช่นนี้ กฟผ.บอกว่าจะรับอัตราดอกเบี้ย MLR แบบลอยตัว โดยถ้าหากว่าดอกเบี้ยผันผวน ก็จะไปปรับราคาค่าไฟฟ้า เพราะเราเชื่อกันว่าหากเสนออัตราดอกเบี้ยคง ที่สถาบันการเงินจะเสนอไม่ต่ำกว่าระดับ 10% แน่นอน" บุญชูอธิบาย
นอกจากนี้ภาวะทางการเงินในประเทศไม่เหมาะสม ที่จะปล่อยกู้อัตราดอกเบี้ยคง ที่ ดังนั้น กฟผ.จึงรับความเสี่ยงดังกล่าวไป "แต่จะไปชดเชยกับเรื่องค่าเงินบาท ซึ่งหนักกว่าอัตราดอกเบี้ย และถ้าดอกเบี้ยผันผวนมาก กฟผ.คงจะขึ้นค่าไฟฟ้ากับประชาชน"
จากคุณ :
โฆษิต
- [
10 ต.ค. 48 10:04:17
]
|
|
|