ความคิดเห็นที่ 5
ลืมค้นใน google รึป่าวครับ
*********************
บรรษัท เป็นคำที่แผลงมาจาก บริษัท, เป็นการรวมกันเข้าหุ้นส่วนทำการค้าขาย (กฎ) , นิติบุคคลที่มีฐานะเดียวกับบริษัทจำกัดซึ่งมีกฏหมายจัดตั้งขึ้นโดยเฉพาะ (อ.Corporation)
จาก พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 หน้า 462
**********************************
นานาน่ารู้: บรรษัท - บริษัท เอ..ได้ยินบ่อยนะ บรรษัทกับบริษัทเนี่ย จำได้ว่าเคยรู้ความแตกต่างของทั้งสองคำแล้วด้วย แต่ลืมซะแล้ว เลยมารื้อฟื้นความจำกันซะหน่อย
คำสองคำนี้มีความหมายทั้งเหมือนกัน และต่างกันในตัว หมายความว่า ทั้งสองคำจะใช้เรียกการดำเนิน กิจการทางธุรกิจ แต่จะต่างกันตรงขนาดของการดำเนินกิจการ คือ 'บริษัท' จะใช้เรียกกิจการใดกิจการหนึ่ง ที่ดำเนินธุรกิจ จำเพาะด้าน เช่น บรษัทบาจา จำกัด ก็ดำเนินธุรกิจในการทำรองเท้าอย่างเดียว เป็นต้น
ส่วน 'บรรษัท' เป็นการเรียกกิจการที่มีธุรกิจขนาดใหญ่เกินกว่าหนึ่งกิจการ และอาจดำเนินการแบบครบวงจร ในแนวดิ่งหรือแนวตั้ง ซึ่งนิยมใช้กับกิจการธุรกิจต่างประเทศ โดยเฉพาะคำว่า 'บรรษัทข้ามชาติ' ในเมืองไทย จะไม่ใช้ เรียกตรงๆ จะใช้คำว่า 'บริษัท' แทน แต่การดำเนินการบริหารนั้น อยู่ในรูปของ 'บรรษัท' อย่างชัดเจน ซึ่ง 'บรรษัทข้ามชาติ' นี้ มีด้วยกันสองลักษณะ คือ
ลักษณะแรก เป็นแบบบริษัทแม่กับบริษัทลูก (Wholly Subsidiziries) ที่บริษัทแม่เป็นผู้ลงทุน และส่งผู้บริหาร หรือตัวแทนมาดำเนินกิจการ ซึ่งจะต้องทำตามนโยบายของบริษัทแม่ เช่น บริษัทไอบีเอ็มแห่งประเทศไทย จำกัด ต้องรับ นโยบายจากบริษัทไอบีเอ็มในอเมริกา
ลักษณะที่สอง เป็นบริษัทแบบร่วมทุน (Joint Ventures) ที่ต่างชาติเข้ามามาหุ้นลงทุนร่วมกับคนไทย การกำหนดนโบายและอำนาจสั่งการจะขึ้นอยู่กับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และจะทำงานกับบริษัทในเครือ ในลักษณะประสานงาน ร่วมเท่านั้น แต่ในทางปฏิบัติสำหรับประเทศไทยแล้ว ยังต้องพึ่งพาบริษัทแม่อยู่มาก เช่น บริษัทมิตซูบิชิแห่งประเทศไทย เป็นต้น
น่าคิดเป็นอย่างมาก สำหรับท่านที่กำลังจะมีการเปลี่ยนแปลงร่วมกิจการกับใคร ต้องศึกษาในสิ่งไม่รู้ให้ถ่องแท้ เสียก่อน ไม่อย่างนั้นจะหาว่าไม่เตือน! เรื่องหุ้น..สำคัญ
จาก http://www.mthai.com/mag/knowledge/nana028.htm
จากคุณ :
nat1234
- [
11 ต.ค. 48 18:10:59
]
|
|
|