ความคิดเห็นที่ 1
๐ The Force มาจากพลังของตลาด หรือพลังของกลไกของตลาดคือ Market Force นั่นเอง
๐ ความน่าพิศวงของศาสตร์ของพวก EcDi คือการชี้ให้เห็นว่ากลไกของตลาดเป็นเสมือน Invisible Hand ที่ทำให้การตัดสินใจอย่างเห็นแก่ตัวของตัวละครต่างๆ ในระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันกันอย่างเต็มที่ (Perfect Competition) นำไปสู่จุดที่มีการใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพได้ คือนำไปสู่จุดที่เรียกกันว่า Pareto Optimal
๐ เนื่องจากเป็น Invisible Hand คนทั่วไปจะมองไม่เห็น Market Force แต่สำหรับพวก EcDi โดยเฉพาะผู้ที่เป็นถึงระดับขุนนาง ไม่ว่าจะมองระบบเศรษฐกิจตรงไหน จะรู้สึกและเห็น Market Force อยู่ทุกหนทุกแห่ง
๐ EcDi รุ่นใหม่จะถูกสอนอยู่ตลอดเวลาให้ "understand the force" และ "feel the force" ที่อยู่ทุกหนทุกแห่งในระบบเศรษฐกิจ
๐ นอกจากนั้น เนื่องจากความจำกัดของทรัพยากรของจักรวาล พวก EcDi จะพูดกันอยู่เสมอว่า There's No Free Lunch
๐ พวก EcDi นี้ จะสังเกตได้ง่าย เพราะเวลาไปปรากฏในที่ต่างๆ จะพึมพำคำพูดว่า Market Force และ No Free Lunch อยู่ตลอดเวลา
อำนาจของพวก EcDi
๐ แนวคิดของพวก EcDi แพร่กระจายออกไปในวงกว้างอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ ถึงแม้ว่านักนโยบายเหล่านั้นอาจจะไม่ได้คิดว่าตนเองอยู่ภายใต้อำนาจของพวก EcDi แต่อย่างที่ขุนนางที่ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งของพวก EcDi ซึ่งย่อว่า K. ได้เคยเขียนไว้
๐ "The ideas of economists......, both when they are right and when they are wrong, are more powerful than is commonly understood. Indeed the world is ruled by little else. Practical men, who believe themselves to be quite exempt from intellectual influences, are usually the slave of some defunct economist."
มุ้งต่างๆ ของพวก EcDi
๐ พวก EcDi มีมุ้งต่างๆ ที่หลากหลาย ถึงแม้ว่า EcDi ทุกกลุ่มจะเข้าใจถึงพลังของกลไกของตลาด แต่ก็จะเห็นข้อจำกัดของกลไกของตลาดด้วย และมุ้งต่างๆ ก็จะเน้นไปที่ข้อจำกัดที่แตกต่างกัน เช่น
๐ บางมุ้งเน้นไปที่ความไม่สมบูรณ์หรือข้อบกพร่องของตลาดต่างๆ คือเน้นไปที่ Market Failure เช่นการที่ตลาดบางตลาดอาจจะไม่มีการแข่งขันกันเท่าที่ควร มีการทำกำไรเกินควรหรือตลาดบางตลาดไม่สมบูรณ์ ซึ่งอาจจะมาจากความบกพร่องของข้อมูลข่าวสาร หรือการที่ตลาดบางตลาดมีผลกระทบไปสู่ตลาดอื่น ทำให้เกิด Externalities ซึ่ง Market Failure ต่างๆ อาจจะทำให้กลไกของ Invisible Hand ทำงานได้ไม่เต็มที่ และระบบเศรษฐกิจจะไม่ไปอยู่ในจุดที่เป็น Pareto Optimal ถ้ารัฐไม่เข้าไปแทรกแซงกลไกของตลาด มุ้งนี้ก็จะเน้นการแทรกแซงของรัฐเพื่อแก้ไข Market Failure ทางด้านต่างๆ แต่แน่นอน บางทีก็จะใช้ Market Failure เป็นเพียงข้ออ้างสำหรับการแทรกแซงเพื่อวัตถุประสงค์อื่น เช่นเพื่อปกป้องบางกลุ่มธุรกิจ
๐ บางมุ้งเน้นความไม่เป็นธรรมของระบบเศรษฐกิจ จริงอยู่ที่กลไกของตลาดอาจจะนำไปสู่จุดที่เป็น Pareto Optimal แต่จุดๆ นั้นอาจจะมีความเหลื่อมล้ำในสังคมอย่างมาก ดังนั้นก็น่าจะเป็นเหตุผลที่ดีที่รัฐจะต้องเข้าไปแทรกแซงเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในสังคมมากขึ้น ซึ่งจะแทรกแซงแค่ไหนอย่างไรก็เป็นที่ถกเถียงกันได้มาก
จากคุณ :
*John*
- [
29 ต.ค. 48 12:07:49
]
|
|
|