ความคิดเห็นที่ 1
เอาสูตรมาให้ก็แล้วกันนะครับ
หมายเหตุใบสำคัญแสดงสิทธิ
วันหมดอายุ (Expired Date) บอกถึงระยะเวลาที่เหลือในการใช้สิทธิ โดยใบสำคัญแสดงสิทธิที่มีวันหมดอายุเหลืออยู่มาก ก็จะมีมูลค่าสูงกว่าใบสำคัญแสดงสิทธิที่มีอายุเหลืออยู่น้อย เมื่อตัวแปรอื่นมีค่าเหมือนกัน เนื่องจากระยะเวลาที่เหลืออยู่มาก ก็จะเพิ่มโอกาสในการที่จะเข้าแปลงสภาพให้เป็นหุ้นสามัญมีมากขึ้น ราคาใช้สิทธิ (Exercise Price) คือ ราคาที่ผู้แปลงสภาพใบสำคัญแสดงสิทธิจะต้องจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่ง 1 หุ้นสามัญ โดยยกตัวอย่าง ใบสำคัญแสดงสิทธิ X-W1 มีราคาใช้สิทธิที่ 12 บาท โดยมีอัตราส่วนแปลงสภาพ 1 : 2 หมายความว่า ถ้าผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 ใบ ต้องการใช้สิทธิแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ จะต้องจ่ายค่าแปลงสภาพ 12 บาทต่อหุ้นสามัญ นั่นคือต้องใช้เงินทั้งหมด 24 บาท เพื่อแปลงสภาพใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 ใบเป็นหุ้นสามัญ 2 หุ้น โดยถ้าราคาในสำคัญแสดงสิทธิต่ำกว่าราคาหุ้นแม่ เราเรียกว่า In the Money ถ้าราคาใบสำคัญแสดงสิทธิสูงกว่าราคาหุ้นแม่ เราเรียกว่า Out of the Money อัตราส่วน (Conversion Ratio) คือ จำนวนหุ้นสามัญที่จะได้รับหลังจากใช้สิทธิแปลงสภาพ ใบสำคัญแสดงสิทธิ 1 ใบ ตัวอย่าง อัตราส่วน 1 : 1.22 ถ้าแปลง 10 ใบสำคัญแสดงสิทธิจะต้องได้หุ้นสามัญ 12 หุ้น หุ้นแม่ (Underlying Stock) คือ หุ้นที่ใบสำคัญแสดงสิทธิอ้างอิงอยู่ โดยถ้าหุ้นแม่มีราคาสูงขึ้น ก็จะทำให้ราคาใบสำคัญแสดงสิทธิมีค่าสูงตาม โดยหุ้นแม่ที่มีความผันผวนสูง (Volatility) จะเพิ่มมูลค่าให้กับใบสำคัญแสดงสิทธิ เนื่องจากความผันผวนสูงทำให้โอกาสในการที่ใบสำคัญแสดงสิทธิจะอยู่ In the Money และเพิ่มโอกาสในการแปลงสภาพ ใบสำคัญแสดงสิทธิ (Warrant) คือ สิทธิในการแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ โดยผู้ถือใบสำคัญแสดงสิทธิมีสิทธิที่จะเลือกแปลงสภาพ หรือไม่แปลงสภาพ เมื่อถึงกำหนดเวลา โดยผู้ถือสิทธิสามารถขายสิทธิในตลาดซื้อขายใบแสดงสิทธิ พรีเมี่ยม (All in Premium %) แสดงถึงความยากในการใช้สิทธิ เมื่อเปรียบเทียบราคาหุ้นแม่ ราคาแปลงสภาพและราคาใบสำคัญแสดงสิทธิ โดยถ้าค่า % พรีเมี่ยมสูงก็แสดงถึงความยากในการใช้สิทธิ
ราคาตามทฤษฎี แบล็คโชว์โมเดล (Black Schole Model) เป็นสูตรการคำนวณทางทฤษฎีโดยอาศัยตัวแปรสำคัญ 5 อย่าง ได้แก่ ราคาหุ้นแม่ (S), ราคาแปลงสภาพ (X), อัตราดอกเบี้ย (r), ระยะเวลาที่เหลือของสิทธิ (T), ความผันแปรของราคาหุ้นแม่ (d ) โดยใช้ความผันแปรเฉลี่ยที่ 250 วัน
เกียร์ริ่ง (Gearing Ratio) คือ อัตราส่วนของมูลค่าหุ้นแม่กับใบสำคัญแสดงสิทธิ โดยแสดงให้เห็นถึงความแรงของตัวลูกวอร์แรนท์ โดยถ้า Gearing สูงจะแสดงให้เห็นถึงการที่ราคาใบสำคัญแสดงสิทธิจะขึ้นสูง ตามราคาหุ้นแม่
เดลต้า (Delta) คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับหุ้นวอร์แรนท์ เมื่อราคาหุ้นแม่เปลี่ยนแปลง 1% ยกตัวอย่างถ้า เดลต้า 0.49 หมายความว่าถ้าหุ้นแม่มีราคาเพิ่ม 1% ราคาหุ้นวอแรนท์จะเพิ่ม 0.49% ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความแรงของหุ้นวอร์แรนท์ เช่นเดียวกับ Gearing
คำแนะนำ วอร์แรนท์ที่แนะนำ จะคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐานของหุ้นแม่เป็นสำคัญ หลังจากนั้น จะพิจารณา ราคาหุ้นวอร์แรนท์ เปรียบเทียบกับ ราคาตามทฤษฎี ซึ่งเราใช้สูตร Black Schole Model, ค่า All in premium หรือ ความยากในการใช้สิทธิ, ค่า Gearing Ratio โดยวอร์แรนท์ที่น่าสนใจ ควรจะเป็น (1) ค่า Black Schole Model สูงกว่า ราคาตลาดของวอร์แรนท์ (2) ค่า All in premium ต่ำ และ ค่า Gearing Ratio สูง
จากคุณ :
GABLIEL
- [
3 พ.ย. 48 14:41:06
]
|
|
|